การประเมินความเสี่ยงของสวนสาธารณะในอำเภอเมืองเชียงใหม่ต่อปัญหาน้ำท่วมในอนาคต

ผู้แต่ง

  • อนุพงศ์ เป็งคำ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • ณัชวิชญ์ ติกุล คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • พันธุ์ระวี กองบุญเทียม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้

คำสำคัญ:

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ, น้ำท่วม, สวนสาธารณะ, พรรณไม้

บทคัดย่อ

สวนสาธารณะเป็นสถานที่ที่มีความเปราะบางต่อปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก ผลกระทบที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่จะเกิดกับพรรณไม้ในสวนสาธารณะ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเสี่ยงน้ำท่วมในอนาคตต่อการอยู่รอดของพรรณไม้ โดยใช้สวนสาธารณะในอำเภอเมืองเชียงใหม่ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมซ้ำซากจำนวน 3 แห่ง เป็นกรณีศึกษา ได้แก่ สวนสาธารณะอนุสาวรีย์ค่ายกาวิละ สวนสุขภาพบ้านเด่นและสวนสาธารณะบนที่ดินของการรถไฟ การศึกษานี้ได้แบ่งขั้นตอนการดำเนินการวิจัยเป็น 3 ส่วน ได้แก่ การสำรวจพรรณไม้ที่มีอยู่เดิมในแต่ละพื้นที่ศึกษา การคาดการณ์น้ำท่วมในอนาคตในแต่ละพื้นที่และการวิเคราะห์ความทนทานของพรรณไม้ที่มีอยู่ โดยใช้ตัวแปรในการพิจารณาได้แก่ ระยะเวลาของน้ำท่วม ระดับความสูงของน้ำท่วมและการแบ่งกลุ่มประเภทของพรรณไม้ จากการประเมินความเสี่ยงน้ำท่วมในอนาคตต่อการอยู่รอดของพรรณไม้ พบว่าสวนสาธารณะทั้งสามแห่งมีโอกาสที่พรรณไม้เดิมสามารถอยู่รอดได้ หากอำเภอเมืองเชียงใหม่เกิดน้ำท่วมที่ระดับความสูงไม่เกิน 95 เซนติเมตร แต่จากการวิเคราะห์พบว่าในอนาคตอำเภอเมืองเชียงใหม่มีโอกาสที่จะเกิดน้ำท่วมที่ระดับความสูง ถึง 272 เซนติเมตร และระยะเวลาน้ำท่วมนาน 5 วัน ซึ่งส่งผลให้พรรณไม้เดิมในสวนสาธารณะทั้งสามแห่งไม่สามารถอยู่รอดได้ แต่โอกาสที่จะเกิดน้ำท่วมที่ระดับสูงสุดอาจจะเกิดเพียงแค่ครั้งเดียวในรอบ 30 ปีข้างหน้า

References

กระทรวงอุตสาหกรรม. (2555). กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หลักการและแนวทางการบริหารความเสี่ยง. ค้นเมื่อ 11 มกราคม 2561, จาก http://rmsctrang.go.th/knowledge/ attachment/89/

ณัชวิชญ์ ติกุล. (2560). เว็บไซต์โปรแกรมแผนที่คาดการณ์สภาพอากาศและน้ำท่วมเพื่อการออกแบบสถาปัตยกรรม. ค้นเมื่อ 8 มกราคม 2561, จาก http://www.ptad.mju.ac.th/
พรชัย เอกศิริพงษ์ และสุเพชร จิรขจรกุล. (2557). การประยุกต์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วมในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่. Thai Journal of Science and Technology. 3 (3) , หน้า 148-159.

รัตนสุดา ชลธาตุ. (2558). การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและแนวทางการแก้ไขปัญหา. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 18, หน้า 416-429.

ววิกานดา วรรณวิเศษ. (2558). การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ : ผลกระทบต่อประเทศไทย (Climate Change : Effects to Thailand). ค้นเมื่อ 7 มกราคม 2561, จาก http://library.senate.go.th/ document/Ext10567/10567795_0002.PDF

วิชาญ เอียดทอง. (2555). ผลกระทบของน้ำท่วมขังจากเหตุการณ์อุทกภัยปี พ.ศ. 2554 ต่อความหลากชนิดไม้ต้นในพื้นที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน. tropical plants research, 5, หน้า 20-63.

วัฒนชัย ชูมาก. (2559). การศึกษาและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติและผลกระทบที่เกิดจากสภาวะโลกร้อนโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน. วารสารวิจัยราชภัฏธนบุรี รับใช้สังคม. 2 (2), หน้า 94-108.

ศศิยา ศิริพานิช. (2558). ภูมิทัศน์พื้นฐาน. พิมพ์ครั้งที่2. นครปฐม: คณะเกษตร กำแพงแสนและภาควิชาพืชสวน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน.

ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2554). โครงการศึกษาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศในอนาคตและการปรับตัวของภาคส่วนที่สำคัญ. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม ศูนย์ประสานงานและพัฒนางานวิจัยด้านโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ. (2559). รายงานสังเคราะห์และประมวลสถานภาพองค์ความรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของไทย. กรุงเทพมหานคร: ริงโก.

สมชัย เบญจชย. (2548). น้ำท่วมเมืองเชียงใหม่ครั้งใหญ่ เมื่อปี 2548. ค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2561, จาก http://www.dnp.go.th/fca16/file/6u81tinwt3n503z.doc

สวัสดิ์ จิรวัฒน์. (2549). ผลการดำเนินการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระ รัฐประศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

หน่วยวิจัยภัยพิบัติทางธรรมชาติ. (2555). ระบบการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือภัยน้ำท่วมในพื้นที่ชุมชนเมืองจังหวัดเชียงใหม่. ค้นเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2561, จาก http://cendru.eng.cmu.ac.th/ cmflood/ modules_map/map=a02.html

Anguluri, R. & Narayanan, P. (2017). Role of green space in urban planning: Outlook towards smart cities. Urban Forestry Urban Greening. 25, pp. 58-65.

Asgarzadeh, M., Vahdati, K., Lotf, M., Arab, M., Babaei, A., Naderi, F., & Rouhani, G. (2014). Plant selection method for urban landscapes of semi-arid cities (a case study of Tehran). Urban Forestry & Urban Greening. 13, pp. 450-458.

Brown, R.D., Vanos, J., Kenny, N., & Lenzholzer, S. (2015). Designing urban parks that ameliorate the effects of climate change. Landscape and Urban Planning. 138, pp. 118-131.

Derkzen, M.L., Teeffelen, A.J.A., & Verburg, P.H. (2017). Green infrastructure for urban climate adaptation: How do residents’ views on climate impacts and green infrastructure shape adaptation preferences?. Landscape and Urban Planning. 157, pp. 106-130.

Farrugia, S., Hudson, M.D., & McCulloch, L. (2013). An evaluation of flood control and urban cooling ecosystem services delivered by urban green infrastructure. International Journal of Biodiversity Science, Ecosystem Services & Management. 9 (2) , pp. 136-145.

Gillner, S., Brauning, A., & Roloff, A. (2014). Dendrochronological analysis of urban trees: Climatic response and impact of drought on frequently used tree species. Trees - Structure and Function. 28 (4) , pp. 1079-1093.

Glenz, C., Schlaepfer, R., Iorgulescu, I., & Kienast, F. (2006). Flooding tolerance of Central European tree and shrub species. Forest Ecology and Management. 235, pp. 1-13.

Hardin, P.J., & Jensen, R.R. (2007). The effect of urban leaf area on summertime urban surface kinetic temperatures: a Terre Haute case study. Urban Forest Urban Green. 6 (2) , pp. 63–72.

May, P.B., Livesley, S.j., & Shears, I. (2013). Managing and monitoring tree health and soil water status during extreme drought in Melbourne, Victoria. Arboriculture & Urban Forestry. 39 (3) , pp. 136-145.

Moore, G.M. (2013). Adaptations of Australian tree species relevant to water scarcity in the urban forest. Arboriculture & Urban Forestry. 39 (3) , pp. 109-115.

Nitshke, C.R., Nichols, S., Allen, K., Dobbs, C., Livesley, S.J., Baker, P.J., & Lynch, Y. (2017). The influence of climate and drought on urban tree growth in southeast Australia and the implications for future growth under climate change. Landscape and Urban Planning. 167, pp. 275-287.

Roloff, A., Korn, S., & Gillner, S. (2009). The Climate-Species-Matrix to select tree species for urban habitats considering climate change. Urban Forestry & Urban Greenin. 8, pp. 295-308.

Schneider, R., Franceschini, T., Fortin, M., & Saucier, J.-P. (2017). Climate-induced changes in the stem form of 5 North American tree species. Forest Ecology and Management. 427, pp. 446-455.

Tonneijik, F., & Hoffman, M., (2010). Urban green relief for the city with focus on Chiang Mai, Thailand. Retrieved January 24, 2018, from http://chm-thai.onep.go.th/chm/city/ document/

Yuen, B., & Kong, L. (2009). Climate Change and Urban Planning in Southeast Asia. CITIES AND CLIMATE CHANGE, 2, pp. 541-560.

Zhang, B., Xie, G., Zhang, C., & Zhang, J. (2012). The economic benefits of rainwater-runoff reduction by urban green spaces: A case study in Beijing, China. Journal of Environmental Management. 100, pp. 65-71.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-30