การติดตามการใช้หลักสูตรสถานศึกษา รายวิชาประวัติศาสตร์ โรงเรียนวัดประสาทนิกร อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร

ผู้แต่ง

  • สุพิชญา อินทจร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • พรทิพย์ ไชยโส คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ฉัตรศิริ ปิยะพิมลสิทธิ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

การติดตามการใช้หลักสูตร, หลักสูตรสถานศึกษา, วิชาประวัติศาสตร์, การประเมินเชิงระบบ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามการใช้หลักสูตรสถานศึกษา รายวิชาประวัติศาสตร์ โรงเรียนวัดประสาทนิกร อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร โดยวิธีการประเมินเชิงระบบเกี่ยวกับความเหมาะสมของโครงสร้างหลักสูตร ความเหมาะสมและความเพียงพอของปัจจัยนำเข้า ความเหมาะสมของกระบวนการ และผลการดำเนินการใช้หลักสูตร กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้บริหารโรงเรียน 3 คน ครูสอนประวัติศาสตร์ 10 คน นักเรียน 734 คน และผู้ปกครอง 582 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม แบบสังเกต และแบบตรวจสอบเอกสาร ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา นำผลการวิเคราะห์มาเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในแต่ละด้าน เพื่อพิจารณาถึงความเหมาะสมของการดำเนินการใช้หลักสูตร ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านโครงสร้างหลักสูตรสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานและหลักสูตรท้องถิ่น 2) ด้านปัจจัยนำเข้าในการใช้หลักสูตร เนื่องจากโรงเรียนมีครูผู้สอนวิชาประวัติศาสตร์ที่ไม่จบสาขาประวัติศาสตร์ จึงควรส่งเสริมให้ครูผู้สอนเพิ่มเติมประสบการณ์การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ และควรให้ครูผู้สอนทุกคนได้รับการนิเทศการสอน 3) ด้านการจัดการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ ครูมีการวางแผนการสอน แต่การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครูผู้สอนยังเน้นการสอนแบบบรรยาย ทำให้นักเรียนเกิดความรู้สึกไม่สนุกสนานในการเรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์ ดังนั้นครูผู้สอนควรปรับปรุงการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้นักเรียนเกิดความสนุกในการเรียนรู้ 4) ผลการดำเนินการใช้หลักสูตร นักเรียนร้อยละ 100 ผ่านเกณฑ์การประเมินผลการเรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์ ความรู้สึกของนักเรียนที่มีต่อการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ในด้านความตระหนักและเจตคติต่อการเรียนวิชาประวัติศาสตร์อยู่ในระดับมากขึ้นไป ร้อยละ 56.83 ครูและผู้ปกครองมีความพึงพอใจต่อผลการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ของนักเรียนอยู่ในระดับมาก (3.64)

Author Biography

ฉัตรศิริ ปิยะพิมลสิทธิ์, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

The objective of this research was to follow-up the study of school-based curriculum implementation in history subject at Watprasatnigon School, Lang Suan district, Chumphon province using the systematic approach on 4 aspects; structure, input, process and output. The target population consisted of 3 school administrators, 10 history teachers, 734 students and 582 students’ parents. The research instruments of this study were the interview, the observation form, and the questionnaires, respectively. Then the data was separately analyzed as the quantitative data using calculating frequencies, percentages, mean, and standard deviation and as the qualitative data using content analysis method. The results were compared with the specified criteria in each aspect in order to examine the appropriateness of the curriculum. The research results were found in four aspects: 1) in aspect of the structure, the objectives of curriculum were relevant to the national and local curriculum, 2) in aspect of the Input factors in curriculum implementation, due to the shortage of history teachers who graduated in history, the teachers should be encouraged to acquire more experience in teaching and learning activities in history class. Also, they should be supervised in teaching, 3) in aspect of teaching and learning process, even though the history teachers had planning and preparation for teaching, the teaching and learning activities were emphasized on lecturing, and that makes the students uncomfortable in the history teaching and learning. The history teachers then need to improve teaching and learning activities to get the students engaged in the history teaching and learning, 4) in aspect of the output, 100% of the students passed history based on the assessment criterion. They also had highly positive awareness and attitude towards history learning at 56.83%, and the satisfactions of the students’ parents and the teachers over the students’ record in history subject were at a high level (3.64).

References

กระทรวงศึกษาธิการ กรมวิชาการ (2543). แนวทางการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร:
โรงพิมพ์ คุรุสภาลาดพร้าว.

กระทรวงศึกษาธิการ กรมวิชาการ. (2552). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ใจทิพย์ เชื้อรัตนพงษ์. (2539). การพัฒนาหลักสูตร: หลักการและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์
อลีน เพรส.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สุวีริยาสาส์น.
ราชกิจจานุเบกษา. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542. ค้นเมื่อ 20 มกราคม 2561,
จาก http://www.moe.go.th/moe/nipa/ed_law/p.r.g.edu1.pdf

รุจิร์ ภู่สาระ. (2551). การพัฒนาหลักสูตร: ตามแนวปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: บุด พอยท์.

ลักษไชย มลอุ่นและราตรี สมบัติ. (2559, 25 กรกฎาคม). สัมภาษณ์. ผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการและ หัวหน้าฝ่ายวิชาการ. โรงเรียนวัดประสาทนิกร.

วารีรัตน์ แก้วอุไร. (2554). การวางแผนการสอน. ค้นเมื่อ 20 มกราคม 2561, จาก https://www.gotoknow.org/user/wareerark/posts

วิภาดา พินลา. (2560). เทคนิคการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์สำหรับครูสังคมศึกษาในยุคคริสต์ศตวรรษที่
21. วารสารปาริชาต. 30 (2) , หน้า 1-19.

วิมลพรรณ อาภาเวท. (2553). หลักการโฆษณาและประชาสัมพันธ์. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.

วิโรจน์ มังคละมณี. (2539). ยุทธศาสตร์การบริหารการใช้หลักสูตรในโรงเรียน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ประสานมิตร.

สงัด อุทรานันท์. (2532). พื้นฐานและหลักการพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มิตรสยาม.

สุทธนู ศรีไสย์. (2545). หลักการนิเทศการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุนีย์ ภู่พันธ์. (2546). แนวคิดพื้นฐานการสร้างและการพัฒนาหลักสูตรยุคปฏิรูปการศึกษาไทย. เชียงใหม่: The Knowledge Center.

Ajzen, I. & M. Fishbein. (1975). Beliefs, Attitude, Intention and Behavior: An Introduction to Theory and Research. M.A.: Addison Wesley: Addison-Wesley.

Bloom, B. S, Hasting, T. J, & Madus G. F. (1971). Handbook on Formative and Summative Evaluation of Students. New York: Mc. Graw-Hill.

Krathwohl, D. R., Bloom, B. S., & Masia, B. B. (1964). Taxonomy of Educational Objectives, the classification of educational goals–Handbook II: Affective Domain. New York

McKay. Stufflebeam, D. L. et al (2001). Evaluation model. San Francisco: Jossey-Bass.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-30