การจัดการความรู้ภูมิปัญญาสู่การปฏิบัติเพื่อส่งเสริมศักยภาพของผู้สูงอายุ

ผู้แต่ง

  • ศักดิ์สิทธิ์ โรจนวิเชียร หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
  • วิไล ตั้งจิตสมคิด มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
  • สุรชัย ตั้งจิตสมคิด ข้าราชการบำนาญ

คำสำคัญ:

การจัดการความรู้ภูมิปัญญาสู่การปฏิบัติ, ส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การวิจัยการจัดการความรู้ภูมิปัญญาสู่การปฏิบัติเพื่อส่งเสริมศักยภาพของผู้สูงอายุครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.ศึกษาสภาพทั่วไป ข้อมูลพื้นฐานและภูมิปัญญาผู้สูงอายุ 2.ศึกษาการจัดการความรู้ภูมิปัญญาด้านการส่งเสริมสุขภาพอาชีพและวัฒนธรรมของผู้สูงอายุ 3. ส่งเสริมศักยภาพและเผยแพร่องค์ความรู้จากภูมิปัญญาด้านการส่งเสริมสุขภาพ อาชีพ และวัฒนธรรมพื้นบ้านของผู้สูงอายุในชุมชนวัดสวนใหญ่ ตำบลวัดชลอ อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี เป็นการวิจัยแบบผสมผสานโดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 108 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ภูมิปัญญาผู้สูงอายุในชุมชนวัดส่วนใหญ่และภูมิปัญญาที่สมควรอนุรักษ์และถ่ายทอดให้กับบุคคลที่สนใจ ด้านการส่งเสริมสุขภาพ ได้แก่ การเต้นไม้พลอง การทำยาสมุนไพร (สีผึ้งสมานบาท) การนวดแผนโบราณ การทำน้ำหมักชีวภาพ ด้านอาชีพ ได้แก่ การห่อเหรียญ การตีทองปิดพระ การขยายพันธุ์พืช ด้านวัฒนธรรมพื้นบ้าน ได้แก่ การทำขนมหวาน การทำข้าวตังเสวย การทำห่อหมกปลาช่อน การทำขนมเบื้องญวน และแกงบอน การจัดการความรู้ภูมิปัญญาผู้สูงอายุดำเนินการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการผลการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการพบว่า ผู้เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจมากที่สุดในทุกเรื่อง การส่งเสริมศักยภาพและเผยแพร่องค์ความรู้จากภูมิปัญญาผู้สูงอายุ ได้นำวิธีการและขั้นตอนในการถ่ายทอดความรู้การห่อเหรียญ การทำสีผึ้งสมานบาท และการทำขนมหวาน มาจัดทำเป็นหนังสือชื่อ “ภูมิปัญญาผู้สูงอายุในชุมชนวัดสวนใหญ่” เพื่อเผยแพร่ให้บุคคลที่สนใจโดยทั่วไปสามารถที่จะศึกษาและนำไปปฏิบัติได้ด้วยตนเอง

References

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2550). พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

ชานนท์ วิสุทธิชานนท์. (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาชาวบ้านใน
ตำบลคลองแดน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา. ค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2558, จาก http://graduate.hu.ac.th/thesis/2558.

ทัศนีย์ ลักขณิชนธัช. (2545). การสังคมสงเคราะห์ชุมชน: มรรควิธีสู่ชุมชนเข้มแข็ง. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ทัศนีย์ ลักขณิชนธัช. (2548). การบริหารสังคมกับโครงสร้างสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร: มิสเตอร์ก๊อปปี้.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2543). วิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

มนัสวีร์ สุวรรณรัตน์. (2546). การบริการสาธารณะ. กรุงเทพมหานคร: ฟอร์แมทพริ้นติ้ง.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2557). การจัดการความรู้ภูมิปัญญาผู้สูงอายุไทย. ค้นเมื่อ 6 ธันวาคม 2557, จาก https://www.stou.ac.th/study/km/poompunya/#.

รัตติกาล เจนจัด. (2548). ของเล่นพื้นบ้านในฐานะสื่อ เพื่อการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นและสร้าง ความสัมพันธ์ระหว่างผู้สูงอายุกับเด็กและเยาวชน ตำบลป่าแดด อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์พัฒนาการ ภาควิชาการประชาสัมพันธ์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-30