ส่วนประสมทางการตลาดบริการ การรับรู้คุณค่าตราสินค้า และพฤติกรรมการซื้อของลูกค้าผ่านแอพพลิเคชั่นช้อปปี้ (Shopee)

ผู้แต่ง

  • กรองกาญจน์ พึ่งแก้ว สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • อรุณรุ่ง วงศ์กังวาน สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ณัฐพงษ์ เตชะรัตนเสฏฐ์ สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ปราณี ตรีทศกุล สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

ส่วนประสมทางการตลาดบริการ, การรับรู้คุณค่าตราสินค้า, พฤติกรรมการซื้อ

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเรื่องส่วนประสมทางการตลาดบริการ การรับรู้คุณค่าตราสินค้า และพฤติกรรมการซื้อของลูกค้าผ่านแอพพลิเคชั่นช้อปปี้ (Shopee) มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษาส่วนประสมทางการตลาดบริการ การรับรู้คุณค่าตราสินค้าที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านแอพพลิเคชั่นช้อปปี้ (Shopee) ของลูกค้า เก็บรวบรวมข้อมูลกับลูกค้าที่ซื้อสินค้าผ่านแอพพลิเคชั่นด้วยแบบสอบถามออนไลน์ จำนวน 400 ราย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยการถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Regression) ผลการศึกษาพบว่าลูกค้าที่ซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านแอพพลิเคชั่นช้อปปี้ (Shopee) ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 15-24 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรี มีอาชีพเป็นนักเรียน/นิสิต/นักศึกษา มีรายได้ไม่เกินเดือนละ 10,000 บาทซื้อสินค้าด้านสุขภาพและความงาม และใช้งานแอพพลิเคชั่นช้อปปี้ (Shopee) มาเป็นระยะเวลาน้อยกว่า 3 เดือน ซื้อสินค้าเนื่องจากมีสินค้าให้เลือกหลากหลาย โดยตัดสินใจด้วยตนเอง และมักซื้อในเวลา 18.01 น. – 00.00 น. เฉลี่ย 4.29 ครั้งต่อเดือน มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 444.12 บาทต่อครั้ง ส่วนประสมทางการตลาดบริการของลูกค้าที่ซื้อสินค้าผ่านแอพพลิเคชั่นช้อปปี้ (Shopee) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีความเห็นด้วยในด้านสถานที่มากที่สุด รองลงมาคือ กระบวนการบนแอพพลิเคชั่น การส่งเสริมการตลาด ผลิตภัณฑ์ และราคา ตามลำดับ ส่วนการรับรู้ พบว่า การรับรู้คุณค่าตราสินค้าของลูกค้าที่ซื้อสินค้าผ่านแอพพลิเคชั่นช้อปปี้ (Shopee) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดโดยเห็นด้วยกับด้านความสัมพันธ์เกี่ยวกับตราสินค้า มากที่สุด รองลงมาคือ ความคุ้มค่า ความภักดี คุณภาพ และการรู้จักตราสินค้า ตามลำดับ ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการด้านความถี่ในการซื้อ คือปัจจัยด้านราคาส่วนปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์และราคา มีผลต่อค่าใช้จ่ายในการซื้อ ปัจจัยการรับรู้สินค้าด้านความภัคดี มีผลต่อความถี่ในการซื้อ ส่วนปัจจัยด้านคุณภาพตราสินค้าและความภัคดี มีผลต่อค่าใช้จ่ายในการซื้อ

References

กิตติ สิริพัลลภ และศุภวรณ จิระอร. (2541). เอกสารการบรรยายเรื่องกลยุทธ์การตลาด. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

จิราภรณ์ เลิศจีระจรัส. (2548). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าและบริการทางพาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในจังหวัดเชียงใหม่. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ฉันท์ชนก เรืองภักดี. (2557). คุณค่าตราสินค้า คุณภาพการบริการ และความไว้วางใจที่มีอิทธิพลต่อ
การตัดสินใจซื้อ Power Bank ของผู้บริโภคที่ใช้ Smartphone และ Tablet ใน กรุงเทพมหานคร. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ทัณฑิมา เชื้อเขียว. (2550). พฤติกรรมในการซื้อสินค้าและบริการ ผ่านเว็บไซต์พานิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของ ผู้บริโภคในจังหวัดเชียงใหม่. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Shopee Thailand App ตลาดออนไลน์ ซื้อขายผ่านมือถือ (2561). ค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2561, จาก http://m.thaiware.com/app/8076-Shopee-Thailand- App.html

ธนพร แตงขาว. (2541). พฤติกรรมการบริโภคสินค้าของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร.กรุงเทพมหานคร: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ปัทมวรรณ ยาพัด. (2556). ประวัติและบริการบนอินเทอร์เน็ต. ค้นเมื่อ 9 มีนาคม 2561, จาก
https://pattamavan1951.wordpress.com/

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร : สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ระพินทร์ โพธิ์ศรี. (2549). การสร้างและวิเคราะห์คุณภาพเครื่องมือรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัย.
อุตรดิตถ์: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์.

สํานักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2558). รายงานผลสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเตอร์เน็ต
ในประเทศไทยปี 2558. ค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2561, จาก https://www.etda.or.th/publishing- detail/thailand-internet-user-profile-2015.html

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-28