ความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต/นายจ้างและนักศึกษาต่อการจัดการศึกษาหลักสูตรนานาชาติ โครงการจัดตั้งวิทยาลัยนานาชาติมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
คำสำคัญ:
ความพึงพอใจ, นายจ้าง, บัณฑิต, นักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาภาวะการมีงานทำของบัณฑิตหลังจากสำเร็จการศึกษาภายใน 1 ปี 2. ศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต/นายจ้าง ที่สำเร็จการศึกษาหลักสูตรนานาชาติและ 3.ศึกษาความพึงพอใจของบัณฑิตและนักศึกษาปัจจุบันเกี่ยวกับการเรียนการสอนหลักสูตรนานาชาติของโครงการจัดตั้งวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามความคิดเห็นมาตราส่วนประเมินค่า (rating scale) ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นผู้ใช้บัณฑิต/นายจ้าง 6 คน นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาแล้ว 7 คน (จาก 8 คน) และนักศึกษาที่ยังศึกษาอยู่ 4 คน รวมทั้งสิ้น 11 คน ผลการศึกษาพบว่า 1. นักศึกษารุ่นแรกที่จบการศึกษาแล้วจำนวน 7 คน มีงานทำ 6 คน และอีก 1 คนศึกษาต่อในดับปริญญาโท 2. ความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต/นายจ้างที่มีต่อบัณฑิตพบว่าโดยภาพรวมมีความพึงพอใจในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.31 คิดเป็นร้อยละ 85.81 ด้านคุณธรรม จริยธรรมเป็นด้านที่ผู้ใช้บัณฑิต/นายจ้างพอใจมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.49 ร้อยละ 89.88 และ 3. ความพึงพอใจของบัณฑิตและนักศึกษาปัจจุบันต่อการจัดการศึกษาหลักสูตรนานาชาติพบว่า มีความพึงพอใจมาก ค่าเฉลี่ยทั้ง 8 ด้านอยู่ที่ 4.09 คิดเป็นร้อยละ 81.81 ด้านที่มีความพึงพอใจมากที่สุดคือ การให้คำปรึกษา (ค่าเฉลี่ย 4.25 ร้อยละ 85.09) รองลงมา ด้านการเรียนรู้ตลอดหลักสูตรได้พัฒนาคุณลักษณะของนักศึกษา (ค่าเฉลี่ย 4.09 ร้อยละ 81.81) ด้านการเรียน การสอน (ค่าเฉลี่ย 3.96 ร้อยละ 79.44) ด้านหลักสูตร (ค่าเฉลี่ย 3.91 ร้อยละ78.31) ด้านอาจารย์ผู้สอน (ค่าเฉลี่ย 3.88 ร้อยละ 77.57) ด้านกระบวนการคัดเลือกนักศึกษา (ค่าเฉลี่ย 3.82 ร้อยละ 76.36) ด้านสิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน (ค่าเฉลี่ย 3.79 ร้อยละ 75.84) และด้านที่มีความพึงพอใจน้อยที่สุด คือด้านวัดผลและประเมินผล (ค่าเฉลี่ย 3.67 ร้อยละ 73.33) ข้อมูลที่ได้จากการวิจัยในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการนำไปปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนและพัฒนาหลักสูตรต่อไป
References
ไทย. ค้นเมื่อ 6 มีนาคม 2561, จาก https://journal.payap.ac.th/pdf/23/2/0857- 4677/International_Programs.pdf
ม.ราชภัฏเกรดเฟ้อ แจกเกียรตินิยมพรึ่บ! ทปอ.มรภ.สั่งสอบด่วน. (2558, 30 มกราคม). ไทยรัฐออนไลน์.
ค้นเมื่อ 6 เมษายน 2562, จาก https://www.thairath.co.th/content/477914
มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี. (2555). หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ หลักสูตรภาษาอังกฤษ (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2555). กรุงเทพมหานคร: โครงการจัดตั้งวิทยาลัย นานาชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี.
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี สถาบันวิจัยและพัฒนา. (2555). การติดตามผลการปฏิบัติงานของผู้สำเร็จ การศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี ปีการศึกษา 2552 – 2553. ค้นเมื่อ 3 มกราคม 2561,
จาก http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/697
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา สำนักงานอธิการบดี กองประกันคุณภาพการศึกษา. (2560). การประเมิน ความพึงพอใจผู้ใช้บัณฑิต ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษาแห่งชาติของมหาวิทยาลัย
ราชภัฏนครราชสีมา ปีการศึกษา 2558. ค้นเมื่อ 6 เมษายน 2562, จาก http://www.old.nrru.ac.th/qa/UserFiles/File/TQF/Report-TQF.pdf
มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. (2556). แบบสอบถามภาวะการมีงานทำของบัณฑิต. ค้นเมื่อ
3 มกราคม 2561, จาก http://qa.psru.ac.th/file_plan6/plan6134.doc
มหาวิทยาลัยศิลปากร กองแผนงาน งานวิจัยสถาบันและสารสนเทศ. (2559). รายงานความพึงพอใจของ นายจ้างต่อบัณฑิตมหาวิทยาลัยศิลปากร ประจำปีการศึกษา 2557. ค้นเมื่อ 3 มกราคม 2561,
จาก http://www.plan.su.ac.th/news-doc/B-Stu-P-58.pdf
สรคม ดิสสะมาน. (2551). ความพึงพอใจของนายจ้างที่มีต่อบัณฑิต สาขาวิชาสารนิเทศศึกษา จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย. วารสารบรรณารักษศาสตร ์. 28 (2), หน้า 31-48.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2555). อธิการบดีราชภัฏธนบุรีเป็นปลื้มกับผลระดับความพึง
พอใจของผู้ใช้บัณฑิตอยู่ในระดับ “ดีมาก”. ค้นเมื่อ 6 เมษายน 2562, จาก http://www1.opdcacademy.com/index.php/resources2018/cat1022018/1753-14-2662
สำนักพัฒนาและส่งเสริมธุรกิจบริการ. (2560). ธุรกิจบริการการศึกษานานาชาติ.ค้นเมื่อ 6 มีนาคม 2561, จากhttps://ditp.go.th/contents_attach/210415/210415.pdf
หลักสูตรนานาชาติ ทางเลือกที่ดีของการศึกษาไทย. (2562). CAMPUS. ค้นเมื่อ 7 เมษายน 2562, จาก https://campus.campus-star.com/education/108197.html
หลักสูตรอินเตอร์ ทางเลือกอนาคตของเด็กไทย. (2560, 18 กันยายน). โพสต์ทูเดย์. ค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2561, จาก https://www.posttoday.com/life/life/515401https://www.posttoday.com/life/ life/515401
Best, J. W. (1977). Research in Education. New Jersey: Prentice – Hall.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีและบุคลากรท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว