การเพิ่มการรับรู้ด้านมิติสัมพันธ์ และความใส่ใจของนักเรียนปฐมวัย โดยใช้กิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกาย

ผู้แต่ง

  • เยาวรัตน์ รัตนธรรม วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา
  • กนก พานทอง วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

การรับรู้ด้านมิติสัมพันธ์, ความใส่ใจ, กิจกรรมโอเรียนเทียริง, กิจกรรมการเต้น, กิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกาย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. พัฒนาแบบทดสอบการรับรู้ด้านมิติสัมพันธ์ 2. พัฒนาโปรแกรมแบบทดสอบความใส่ใจสำหรับนักเรียนปฐมวัย 3. เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนการรับรู้ด้านมิติสัมพันธ์และคะแนนความใส่ใจก่อนกับหลังใช้กิจกรรมกิจกรรมโอเรียนเทียริง 4. เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนการรับรู้ด้านมิติสัมพันธ์และคะแนนความใส่ใจก่อนกับหลังใช้กิจกรรมเต้น และ 5. เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนการรับรู้ด้านมิติสัมพันธ์และคะแนนความใส่ใจหลังใช้กิจกรรมโอเรียนเทียริง กิจกรรมเต้น และกิจกรรมตามปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนปฐมวัย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 90 คน โรงเรียนบ้านเขาตะกรุบพัฒนา อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว เครื่องมือวิจัย คือ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ กิจกรรมโอเรียนเทียริง (Orienteering) และกิจกรรมเต้น (Dance) 2) เครื่องมือที่ใช้วัดตัวแปรตาม ได้แก่ แบบทดสอบการรับรู้ด้านมิติสัมพันธ์ และโปรแกรมแบบทดสอบความใส่ใจสำหรับนักเรียนปฐมวัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ t-test และ MANOVA ผลการวิจัยปรากฏว่า 1. แบบทดสอบการรับรู้ด้านมิติสัมพันธ์ของนักเรียนปฐมวัยมีความเหมาะสมนำไปทดสอบการรับรู้ด้านมิติสัมพันธ์ของนักเรียนปฐมวัยได้ 2. โปรแกรมทดสอบความใส่ใจของนักเรียนปฐมวัยมีความเหมาะสมสำหรับนำไปทดสอบความใส่ใจของนักเรียนปฐมวัยในระดับมากที่สุด 3. ค่าเฉลี่ยคะแนนการรับรู้ด้านมิติสัมพันธ์และความใส่ใจของนักเรียนปฐมวัย หลังใช้กิจกรรมโอเรียนเทียริงสูงกว่าก่อนใช้กิจกรรม (p<.05) 4. ค่าเฉลี่ยคะแนนการรับรู้ด้านมิติสัมพันธ์และความใส่ใจของนักเรียนปฐมวัย หลังใช้กิจกรรมเต้นสูงกว่าก่อนใช้กิจกรรม (p<.05) 5. ค่าเฉลี่ยคะแนนการรับรู้ด้านมิติสัมพันธ์ และความใส่ใจของนักเรียนปฐมวัยหลังใช้กิจกรรมโอเรียนเทียริง กิจกรรมเต้น และกิจกรรมตามปกติ แตกต่างกัน (p<.05) พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนการรับรู้ด้านมิติสัมพันธ์ และความใส่ใจหลังใช้กิจกรรมโอเรียนเทียริงของนักเรียนปฐมวัยสูงกว่ากิจกรรมอื่น ๆ สรุปได้ว่า การใช้ กิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกายด้วยกิจกรรมโอเรียนเทียริงสามารถเพิ่มการรับรู้มิติสัมพันธ์ และความใส่ใจของนักเรียนปฐมวัยได้มากที่สุด

References

ณัฐพร พวงเกตุ. (2560). ผลการชมภาพยนต์สั้นไทยที่มีผลต่อความใส่ใจของวัยรุ่นตอนปลาย: การศึกษา คลื่นไฟฟ้าสมอง. วารสารวิจัยราชภัฏธนบุรี รับใช้สังคม. 3 (2), หน้า 124-144.

บุพผา เรืองรอง. (2560). กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ (Motor and Rhythmic Activities).
ค้นเมื่อ 10 มกราคม 2560, จาก http://taamkru.com/th

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2560). แนวทางการจัดการเรียนรู้ ตามหลักสูตรการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

Atkinson, J., & Braddick, O. (2012). Visual attention in the first years: Typical development and developmental disorders. Developmental Medicine & Child Neurology.
54 (7), pp. 589-595.

Burns N., Grove S. (1997). The Practice of Nursing Research: Conduct, Critique and Utilization. 3rd edn. Philadelphia : WB Saunders.

Coventry, K. R., Griffiths, D., & Hamilton, C. J. (2014). Spatial demonstratives and perceptual
space: describing and remembering object location. Cognitive Psychology. 69, pp. 46-70.

Ding, Y. H., Li, J., Zhou, Y., Rafols, J. A., Clark, J. C., & Ding, Y. (2006). Cerebral angiogenesis and
expression of angiogenic factors in aging rats after exercise. Current neurovascular
research. 3 (1), pp. 15-23.

Edmonds, W. A., & T. D. Kennedy (2017). An Applied Reference Guide to Research Designs: Quantitative, Qualitative, and Mixed Methods. : Thousand Oaks, SAGE Publications.

Enghauser, R. (2007). Developing listening bodies in the dance technique class. Journal of Physical Education, Recreation & Dance. 78 (6), pp. 33-38.

Hommel, B., Gehrke, J., & Knuf, L. (2000). Hierarchical coding in the perception and
memory of spatial layouts. Psychological Research. 64 (1), pp. 1-10.

Memmert, D. (2006). Developing creative thinking in a gifted sport enrichment program and the crucial role of attention processes. High Ability Studies. 17 (1), pp. 101-115.

Metz, C. E. (1986). ROC methodology in radiologic imaging. Investigative Radiology. 21 (9), pp. 720-733.

Newton, P. (2009). Spatial Ability. Psychometric Success-Spatial Ability. Retrieved February, 16 2018, from www.psychometric-success.com

Poehlman, E. T., & Danforth Jr, E. (1991). Endurance training increases metabolic rate and
norepinephrine appearance rate in older individuals. American Journal of
Physiology-Endocrinology and Metabolism. 261 (2), pp. 233-239.

Polit, D. F., & Beck, C. T. (2006). The content validity index: Are you sure you know what’s being reported? Critique and recommendations. Research in Nursing & Health. 29, pp. 489-497.

Sanocki, T. (2003). Representation and perception of scenic layout. Cognitive Psychology.
47 (1), pp 43-86.

Tomporowski, P. D. (2003). Effects of acute bouts of exercise on cognition. Acta Psychologica. 112 (3), pp. 297-324.

Zach, S., Inglis, V., Fox, O., Berger, I., & Stahl, A. (2015). The effect of physical activity on spatial perception and attention in early childhood. Cognitive Development. 36, pp. 31-39.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-28