การพัฒนาตำรับขนมข้าวตูเสริมงาขี้ม้อน

ผู้แต่ง

  • วิชชุมา เตชะสิริวิชัย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาผู้ประกอบการอาหาร มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

ขนมข้าวตู, งาขี้ม้อน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตำรับขนมข้าวตูเสริมงาขี้ม้อน โดยจากการศึกษาตำรับพื้นฐาน 3 ตำรับ นำมาประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัสด้านสี กลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัส และความชอบโดยรวม จากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 10 คน ด้วยวิธีการให้คะแนนความชอบ 9 ระดับ พบว่า ข้าวตูที่ได้รับการคัดเลือกได้คะแนนความชอบเฉลี่ยในทุกคุณลักษณะทางประสาทสัมผัส เท่ากับ 7.80, 7.10, 6.60, 7.10 และ 6.90 ตามลำดับ จากนั้นนำมาศึกษาหาปริมาณงาขี้ม้อนที่เหมาะสม 3 ระดับ คือ ร้อยละ 5, 10 และ 15 ของปริมาณน้ำหนักส่วนผสมทั้งหมด แล้วนำมาประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัสด้านสี กลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัส และความชอบโดยรวม จากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 10 คน ด้วยวิธีการให้คะแนนความชอบ 9 ระดับ พบว่า ข้าวตูที่เสริมงาขี้ม้อนร้อยละ 5 ได้รับคะแนนความชอบเฉลี่ยในทุกคุณลักษณะทางประสาทสัมผัส โดยได้รับคะแนนความชอบเฉลี่ยเท่ากับ 6.90, 6.50, 7.80, 6.80 และ 7.20 ตามลำดับ และจากการศึกษาการยอมรับของผู้บริโภค จำนวน 100 คน ด้วยวิธีการให้คะแนนความชอบ 5 ระดับ พบว่าคะแนนความชอบโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ชอบมากที่ค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.24 ผู้บริโภคกลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย มีอายุ 21-30 ปี มากที่สุด เท่ากับร้อยละ 52 ส่วนใหญ่ให้การยอมรับผลิตภัณฑ์ข้าวตู เท่ากับร้อยละ 94 และหากมีผลิตภัณฑ์ข้าวตูเสริมงาขี้ม้อนวางจำหน่ายจะซื้อเท่ากับร้อยละ 81 ผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาได้มีปริมาณผลการวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีต่อ 100 กรัม พบว่า มีปริมาณความชื้นเท่ากับ 24.10 กรัม ปริมาณเถ้าเท่ากับ 1.33 กรัม ปริมาณไขมันเท่ากับ 15.57 กรัม ปริมาณโปรตีนเท่ากับ 5.01 กรัม ปริมาณคาร์โบไฮเดรตเท่ากับ 53.99 กรัม ปริมาณ omega-3 เท่ากับ 2554.15 มิลลิกรัม ปริมาณ omega-6 เท่ากับ 988.63 มิลลิกรัม และปริมาณ omega-9 เท่ากับ 1118.65 มิลลิกรัม ตามลำดับ

References

งาม้อนพืชอัจฉริยะแห่งล้านนาไทย อุดมด้วยกรดไขมันโอเมก้า-3. (2560). ภูกามยาวนิวส์. 13 (10-11),
หน้า 4.

ทิพาวรรณ เฟื่องเรือง. (2548). อาหาร-ขนม. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ เอช ที พี เพรส.

พรรณผกา รัตนโกศล. (2553). งาขี้ม้อน โอเมก้า 3 แห่งขุนเขา. วารสาร น.ส.พ. กสิกร. 83 (6), หน้า 15-17.

สมจิตร ศรีจันทร์. (2550). ผักอะไรใบละตั้งสองบาท. วารสารเคหะการเกษตร. 31 (4), หน้า 197-200.

สุนันทา คะเนนอก. (2561). การพัฒนาผลิตภัณฑ์โยเกิร์ตฟักข้าว. วารสารวิจัยราชภัฏธนบุรีรับใช้สังคม. 4 (1), หน้า 92-100.

เสาวภรณ์ วังวรรธนะ. (2537). ขนมไทย ของหวาน-ของว่าง 108 ชนิดทำกินได้ ทำขายรวย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ ส่งเสริมอาชีพ OTOP.

Sirilun, S. et al., (2016). Impact of different pre-treatment strategies on the quality of fatty acid composition, tocols content and metabolic syndrome related activities of frutescens seed oil. · Journal of Applied Pharmaceutical Science. 6 (2), p. 1.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-28