การพัฒนาดอกไม้ประดิษฐ์จากใบจาก
คำสำคัญ:
ดอกไม้ประดิษฐ์, ใบจากบทคัดย่อ
การพัฒนาดอกไม้ประดิษฐ์จากใบจากมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์คุณสมบัติทางกายภาพของ ใบจาก ศึกษาภูมิปัญญา ความต้องการ และแนวทางการพัฒนาดอกไม้ประดิษฐ์และถ่ายทอดการพัฒนาดอกไม้ประดิษฐ์กับกลุ่มสมาชิกวิสาหกิจชุมชน อำเภอพระสมุทรเจดีย จังหวัดสมุทรปราการ ผลิตภัณฑ์ดอกไม้ประดิษฐ์จากใบจากที่ถูกพัฒนาขึ้น ได้แก่ ดอกแคสตัส ดอกบันไดสวรรค์ ดอกโพรเทีย ดอกไฮเดรนเยีย ดอกบ๊วย และใบไม้ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้นำชาวบ้าน ปราชญ์เกษตรดีเด่นบ้านคลองยายหลี เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรชุมชน และสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ผลการวิเคราะห์สมบัติทางกายภาพของใบจากพบว่าใบจากสามารถรับแรงดึงสูงสุดเฉลี่ย 88.864 นิวตัน และมีระยะยืดสูงสุดเฉลี่ย 2.334 มิลลิเมตรซึ่งความแข็งแรงของใบจากเพียงพอที่จะดัดใบ โค้งใบ งอใบ ยืดใบได้โดยปราศจากการฉีกขาด การศึกษาความต้องการและแนวทางการพัฒนาดอกไม้ประดิษฐ์พบว่า กลุ่มวิสาหกิจชุมชนมีความสนใจการพัฒนาดอกไม้ประดิษฐ์จากใบจาก ซึ่งมีอยู่ในท้องถิ่น การศึกษาความเหมาะสมของการออกแบบผลิตภัณฑ์ดอกไม้ประดิษฐ์จากใบจากผู้เชี่ยวชาญพบว่า ผู้เชี่ยวชาญให้ระดับความคิดเห็นของผลิตภัณฑ์ต้นแบบดอกไม้ประดิษฐ์จากใบจากในภาพรวมอยู่ในระดับมาก การศึกษาความพึงพอใจของผู้เข้าอบรมต่อการดำเนินการถ่ายทอดความรู้การพัฒนาดอกไม้ประดิษฐ์พบว่า ผู้เข้าอบรมมีความพึงพอใจโดยรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
References
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม. (2560). หมู่บ้านอุตสาหกรรมดีเด่น. กรุงเทพมหานคร: กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม.
กระทรวงมหาดไทย. (2559). ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจชุมชนเพื่อการพึ่งตนเอง. ค้นเมื่อ 16 เมษายน 2559, จาก http://kukr.lib.ku.ac.th /db/BKN/ search_ detail/result/264895.
จรูญ ไกรเนตรปราชญ์. (2559, 18 มกราคม). สัมภาษณ์. ปราชญ์เกษตรดีเด่น บ้านคลองยายหลี อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ.
จุรีรัตน์ บัวแก้ว. (2550). การถ่ายทอดเทคนิคการทอผ้าจวนตานี. สงขลา: สํานักงานคณะกรรมการ อุดมศึกษา.
รัตนลักษณ์ ปัญจวุฒิพัฒน์. (2551). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ดอกไม้ประดิษฐ์จากเศษผ้าไหม. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ.
วันปิติ ธรรมศร. (2561). บทบาทขององค์กรท้องถิ่นในการส่งเสริมผลิตภัณฑ์หมูหัน ของตำบลท่าข้าม อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม และแนวทางในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก เพื่อการขับเคลื่อน เศรษฐกิจของชุมชน. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. 12 (2), หน้า 151-167.
วิโรจน์ เรือนแป้น. (2560). เศรษฐศาสตร์สำหรับเกษตรกร ยุคไทยแลนด์ 4.0. วารสารมหาวิทยาลัย
ราชภัฏธนบุรี. 11 (1), หน้า 132-145.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีและบุคลากรท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว