กระถางปลูกต้นไม้จากฟางข้าวและเศษใบไม้แห้ง
คำสำคัญ:
กระถางปลูกต้นไม้, ฟางข้าว, เศษใบไม้แห้งบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาอัตราส่วนที่เหมาะสมของฟางข้าวและเศษใบไม้แห้ง สำหรับ การขึ้นรูปกระถางปลูกต้นไม้ โดยพิจารณาจากคุณสมบัติทางกายภาพของกระถางที่ขึ้นรูปได้ และการเจริญเติบโตของต้นดาวเรืองที่ปลูกในกระถางที่ขึ้นรูปได้ วิธีการวิจัยคือ ศึกษาอัตราส่วนโดยน้ำหนักของ ฟางข้าวและเศษใบไม้แห้งที่ใช้ในการขึ้นรูปกระถางปลูกต้นไม้จำนวน 3 อัตราส่วน แล้วทำการทดสอบคุณสมบัติทางกายภาพของกระถางที่ขึ้นรูปได้ และทดลองปลูกต้นดาวเรือง ผลการวิจัยพบว่า อัตราส่วน ที่เหมาะสมที่สุดในการขึ้นรูปกระถางและมีคุณสมบัติทางกายภาพดีที่สุดคือ อัตราส่วนที่ 3 (ฟางข้าว 25 กรัมและเศษใบไม้แห้ง 75 กรัม) กล่าวคือ กระถางที่ขึ้นรูปได้จะมีลักษณะผิวเรียบ มีการยึดเกาะของวัสดุดี และ ต้นดาวเรืองเจริญเติบโตได้ดีที่สุด โดยมีค่าความสูงเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 14.0 เซนติเมตร และมีจำนวนใบเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 6.7 ใบ
References
กิตติชัย โสพันนา, วิชชุดา ภาโสม, กนกวรรณ วรดง และอนันตสิทธิ์ ไชยวังราช. (2558). การประดิษฐ์และสมบัติของกระถางชีวภาพ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 7 (2), หน้า 1-7.
ชวลิต ฮงประยูร. (2561). วิทยาการเกษตร เรื่องการทำปุ๋ยหมัก: ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการย่อยสลายและการแปรสภาพของเศษพืช. นครปฐม: ศูนย์ส่งเสริมและฝึกอบรมการเกษตรแห่งชาติ. ค้นเมื่อ 28 กันยายน 2561, จาก https://www.baanjomyut.com/library_5/agricultural_knowledge/ agricultural_science/12_3.html
ไชยพจน์ สมภาร, พิภพ ทรายคำ และสุวิชาดา คำบุญเรือง. (2555). โครงงานเรื่องการเปรียบเทียบประสิทธิภาพการอุ้มน้ำและลักษณะการเปลี่ยนแปลงรูปทรงของกระถางที่ใช้วัสดุในการผลิตที่ต่างกัน. พะเยา: ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเชียงม่วน สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดพะเยา.
เตือนใจ ปิยัง, วรรณวิภา ไชยชาญ และกิตตินาฏ สกุลสวัสดิพันธ์. (2561). การผลิตกระถางต้นไม้ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจากตะกอนน้ำมันปาล์มและวัสดุเหลือทิ้งจากการเพาะเห็ด. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย. 10 (3), หน้า 497-511.
พาดีละห์ อูมา, คอลีเยาะ ลาเตะ, ต่วนนูรไฮลาร์ ปาแซ และดารากร แซ่เง้า. (2556). กระถางจากฟางข้าว. ค้นเมื่อ 28 กันยายน 2561, จาก http://www.thaiinvention.net/detail.php?p=cHJvam VjdF9pZD03NTM1JmNmZ19pZD0xNSZjb21wZXRfaWQ9Mg==&cond=
มูลนิธิเกษตรรักษ์สิ่งแวดล้อม ประเทศไทย. (2561). การผลิตข้าวในประเทศไทย. ค้นเมื่อ 24 กันยายน 2561, จาก http://www.aecth.org/upload/13823/Yg2qaxo Qyg.pdf
สำนักประชาสัมพันธ์เขต 1 ขอนแก่น. (2558). การบริหารจัดการขยะและสิ่งแวดล้อม: วัตถุดิบอะไรบ้าง สำหรับทำปุ๋ยหมัก. ค้นเมื่อ 17 เมษายน 2562, จากhttps://region1.prd.go.th/ewt_news.php?nid=29185
สุจิน สุนีย์ และธีรเวท ฐิติกุล. (2553). เครื่องอัดขึ้นรูปกระถางจากขุยและใยมะพร้าว.ปทุมธานี:
คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
Agronomic Library. (2018). Plant nutrients in municipal leaves. Retrieved September 28, 2018, from https://www.spectrumanalytic.com/support/library/ ff/Plant_Nutrients_ in_Municipal_Leaves.htm
Rice Knowledge Bank. (2018). Rice straw. Retrieved September 28, 2018, from http://www.knowledgebank.irri.org/step-by-step-production/ postharvest/rice-by-products/rice-straw
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีและบุคลากรท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว