มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมมลพิษ: ศึกษากรณีโรงงานผลิตเอทานอล ตำบลนาดี อำเภอนาเยีย จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • ประพาฬรัตน์ สุขดิษฐ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

มาตรการ, กฎหมาย, ควบคุมมลพิษ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษามาตรการทางกฎหมายในการควบคุมมลพิษของประเทศไทยและต่างประเทศ 2) เสนอแนะแนวทางการแก้ไขกฎหมายที่จะทำให้การบังคับใช้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากมลพิษโรงงานผลิต เอทานอล ได้แก่ ผู้นำชุมชน ชาวบ้าน จำนวน 19 ราย และกลุ่มที่ 2 นักกฎหมายและผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม จำนวน 5 ราย รวมทั้งสิ้น 24 ราย เป็นการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และนำมาวิเคราะห์ผล อภิปรายผล สรุปและข้อเสนอแนะ ผลการศึกษา พบว่า 1. มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมมลพิษของประเทศไทยมีการบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมมลพิษอยู่หลายฉบับ ซึ่งกฎหมายบางฉบับยังมีข้อจำกัดในการนำมาควบคุมปัญหามลพิษ การพิจารณาคดีสิ่งแวดล้อมเกิดความล่าช้า ทำให้ไม่ทันต่อการเยียวยาและแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมได้ 2. สำหรับข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขกฎหมาย คือ ประเทศไทยควรจัดทำพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีสิ่งแวดล้อม และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลสิ่งแวดล้อม ซึ่งรวมถึงการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางสิ่งแวดล้อมด้วย ควรปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 โดยกำหนดผู้รับผิดให้ครอบคลุมถึงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่บริหารจัดการแหล่งกำเนิดมลพิษ ควรแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ในเรื่องการชดเชยและเยียวยาโดยให้ชุมชน องค์กรเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมเข้าร่วมประเมินค่าความเสียหาย ทางสิ่งแวดล้อม ควรแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในเรื่องอายุความ โดยขยายอายุความในการฟ้องคดีเพื่อเรียกร้องค่าเสียหายทางสิ่งแวดล้อมออกไปอีก 10 ปี นับแต่วันที่รู้ความเสียหายและผู้ก่อให้ เกิดมลพิษ ควรกำหนดหลักเกณฑ์การประเมินค่าความเสียหายทางสิ่งแวดล้อม สำหรับข้อเสนอแนะอื่น ๆ คือ ควรให้เจ้าหน้าที่ของรัฐบรรยายหรืออบรมให้ความรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมแก่ชุมชนมากขึ้น เน้นการประชาสัมพันธ์เรื่องสิ่งแวดล้อม ภาครัฐควรปลูกฝังจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมให้แก่เด็กและเยาวชน โดยกำหนดเป็นหลักสูตรการเรียนการสอนหรือกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งในและนอกโรงเรียน

References

คนอุบลฯ ยื่นฟ้อง คพ. 200 ล้าน! ละเลยไม่แก้ลำโดมใหญ่เน่า. (2559). ค้นเมื่อ 24 มิถุนายน 2561, จาก https://www.thairath.co.th/content/593652.

คมวัชร เอี้ยงอ่อง. (2553). การนำวิธีระงับข้อพิพาททางเลือก (ADR) มาใช้ในคดีสิ่งแวดล้อมใน สหรัฐอเมริกา. ใน นนธนวนันพ์ ตั้งตรงจิตต์ (บ.ก.). การจัดการความขัดแย้งทางสิ่งแวดล้อม. (124). กรุงเทพมหานคร: ธนาเพรส.

ณัฐวรรธน์ สุนทรวริทธิโชติ และกาญจณา สุขาบูรณ์. (2556). รายงานการวิจัย การศึกษาสภาพ ปัญหาสิ่งแวดล้อมในเขตตำบลสามบัณฑิต: กรณีศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนา ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประชาชน. พระนครศรีอยุธยา: คณะมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

น้ำแท้ มีบุญสล้าง. (2550). การดำเนินคดีแบบกลุ่ม (Class Action) และการนำรูปแบบการดำเนินคดีแบบ กลุ่มมาใช้ในคดีสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: นิติธรรม.

พวงผกา บุญโสภาคย์, ประสาน บุญโสภาคย์ และ ณปภัช นธกิจไพศาล. (2561). มาตรการทาง กฎหมายใน การป้องกันและควบคุมมลพิษทางอากาศที่เกิดขึ้นจากโรงงานอุตสาหกรรม. วารสารเกษมบัณฑิต. 19 (พิเศษ): 118.

วีระเชษฐ์ จรรยากูล. (2560). ปล่อยน้ำเน่า เข้าบ่อปลา. ค้นเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2561, จาก https://www.alro.go.th =/alro_info/ewt_dl_link.php?nid=1767.

ศาลปกครอง. (2559). ศาลปกครองอุบลราชธานี นัดไต่สวนผู้ฟ้องคดีในชั้นพิจารณาคำฟ้อง ขอให้ศาลมี
คำพิพากษาเพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานเนื่องจากปล่อยน้ำเสียลงสู่ลำโดมใหญ่.
ค้นเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2561, จาก http://admincourt.go.th/admincourt/site/08news_ detail .php?ids=15614.

สุนีย์ มัลลิกะมาลย์. (2555). วิทยาการวิจัยทางนิติศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์
แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุภาพร ง้าวสุวรรณ์. (2554). มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมมลพิษจากการกำจัดมูลฝอยด้วย วิธีการเผา. นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขากฎหมายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อุดมศักดิ์ สินธิพงษ์. (2556). กฎหมายว่าด้วยความเสียหายทางสิ่งแวดล้อม ความรับผิดทางแพ่ง
การชดเชยเยียวยา และการระงับข้อพิพาท. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-28