ความรู้และพฤติกรรมการใช้สารเคมีในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร ในตำบลบ้านเสี้ยว อำเภอฟากท่า จังหวัดอุตรดิตถ์

ผู้แต่ง

  • สุภาวดี แหยมคง สูตรสัตวศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • พัทนันท์ โกธรรม หลักสูตรสัตวศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • ประภาศิริ ใจผ่อง หลักสูตรสัตวศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • ปิยวดี น้อยน้ำใส สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • คอลิค บุญมาลีรัตน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • ศิริกานดา แหยมคง คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
  • ธุวพล คงน้อย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
  • พิชยาพัชร์ เวชสิทธิ์ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเสี้ยว

คำสำคัญ:

ความรู้, พฤติกรรม, การใช้สารเคมี, เกษตรกร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาความรู้และพฤติกรรมการใช้สารเคมีในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ เกษตรกร ในตำบลบ้านเสี้ยว อำเภอฟากท่า จังหวัดอุตรดิตถ์ ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ จำนวน 257 ราย นำข้อมูลจากแบบสอบถาม มาทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมานผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (ร้อยละ 58.82) มีอายุเฉลี่ย 55.04 ± 10.82 ปี และสำเร็จการศึกษาในระดับประถมศึกษา (ร้อยละ 63.49) เกษตรกรมีการทำนามากที่สุด (ร้อยละ 46.44) ส่วนใหญ่มีแหล่งเงินทุนจากการกู้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ร้อยละ 86.13) และแหล่งความรู้ที่ได้รับเกี่ยวกับการใช้สารเคมีส่วนใหญ่มาจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ (ร้อยละ 26.58) สำหรับค่าคะแนนความรู้ในภาพรวมของการใช้สารเคมีในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชอยู่ในระดับความรู้สูง (ร้อยละ 84.33) ส่วนใหญ่มีความรู้ก่อนการใช้สารเคมีในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชมากที่สุด (ร้อยละ 89.71) และพฤติกรรมการใช้สารเคมี ในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช มีค่าเฉลี่ยในภาพรวมของการปฏิบัติอยู่ในระดับเหมาะสมมาก (3.58 ± 0.36) โดยเกษตรกรมีพฤติกรรมก่อนการใช้สารเคมีในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด (4.38 ± 0.35) อย่างไรก็ตามความสัมพันธ์ระหว่างความรู้กับพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร พบว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.66, P<0.01) ดังนั้นทุกหน่วยงานควรให้ความร่วมมือส่งเสริม สนับสนุน และฝึกอบรมการให้ความรู้และปรับพฤติกรรมของเกษตรกรให้มีการปฏิบัติที่ถูกต้องและเหมาะสมในการใช้สารเคมีต่อไป

References

กมลศักดิ์ วงศ์ศรีแก้ว และอารยา เกียรติก้อง. (2552). กระบวนการเรียนรู้ในการรวมกลุ่มและสร้างศักยภาพ ในการแก้ปัญหาชุมชนที่ประสบความสำเร็จ กรณีศึกษาหมู่บ้านดอนม่วง อ.วังทอง จ.พิษณุโลก และ หมู่บ้านคลองยายหลี อ.พระสมุทรเจดีย์ จ. สมุทรปราการ. วารสารวิจัยราชภัฏธนบุรี รับใช้สังคม. 16 (1): 97-102.

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2554). เทคนิคการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภา ลาดพร้าว.

คณิสร ศรีทองอินทร์, เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ และสินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม. (2560). การใช้สารเคมีป้องกัน กำจัดศัตรูกล้วยไม้ตัดดอกของเกษตรกร อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร. แก่นเกษตร. 45 (ฉบับพิเศษ 1): 1550-1554.

จารุวรรณ ไตรทิพย์สมบัติ, เพลินพิศ จับกลาง, สุวิมล บุญเกิด และอัญชลี อาบสุวรรณ์. (2557). การศึกษา ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรบ้านห้วยสามขา ตำบลทัพรั้ง อำเภอพระทองคำ จังหวัดนครราชสีมา. ศรีนครินทร์เวชสาร. 29 (5): 429-434.

ชนิกานต์ คุ้มนก และสุดารัตน์ พิมเสน. (2557). พฤติกรรมการใช้สารกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร ตำบล จอมทอง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. ราชภัฏเพชรบูรณ์สาร. 16 (1): 56-67.

ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์ และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: สถาบัน
ราชภัฏอุบลราชธานี.

นัฐวุฒิ ไผ่ผาด. (2557). การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมทางสิ่งแวดล้อมศึกษาที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้สารเคมี กำจัดพืชของเกษตรกรเพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม. ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาสิ่งแวดล้อมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์.

นันทา นันทนีย์. (2554). การมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีต่อการอนุรักษ์ป่าชุมชนในเขตพื้นที่ป่าชุมชน
อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี. วารสารวิจัยราชภัฏธนบุรี รับใช้สังคม. 18 (1): 15-20.

เบญจมาศ ธนะสมบัติ. (2549). ผลกระทบจากการใช้สารเคมีในการกำจัดศัตรูพืชทางการเกษตร
ในสวนส้มโอ: กรณีศึกษา หมู่บ้านม่วงยาย ตำบลม่วงยาย อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ปราณี มีนา และสุพัตรา อ่ำเมือง. (2554). กระบวนการสนทนากลุ่มเรื่อง พฤติกรรมและปัญหาการใช้ สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกหอมแดง อำเภอฟากท่า จังหวัดอุตรดิตถ์. อุตรดิตถ์. สำนักงานสาธารณสุข: จังหวัดอุตรดิตถ์.

พิมพ์ลดา ภิรมย์จิตร และสุชาดา ภัยหลีกลี้. (2557). ความรู้และพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของ เกษตรกรบ้านนาเหล่า อำเภอนาวัง จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน. 2 (3): 299-309.

พิมพร ทองเมือง และยุทธนา สุดเจริญ. (2559). พฤติกรรมการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชของ เกษตรกรจังหวัดสมุทรสงคราม. ใน ประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและ นานาชาติ ครั้งที่ 6 ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี: (371-381).

มงคล รัชชะ, สุรเดช สำราญจิตต์, จุฑามาศ แสนท้าว และศรราม สุขตะกั่ว. (2560). พฤติกรรมการป้องกัน อันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกรบ้านทุ่งนางคราญ ตำบลชะแล อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา. 18 (2): 84-94.

วงศ์พัฒนา ศรีประเสริฐ. (2552). กระบวนการพัฒนาท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วมของกลุ่มหัตถกรรมเครื่องหวาย เพื่อส่งเสริมอาชีพ และเศรษฐกิจของชุมชน: ศึกษากรณีกลุ่มหัตถกรรมเครื่องจักสานบ้านท่าค้อ ตำบล ลาดพัฒนา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิจัยราชภัฏธนบุรี รับใช้สังคม. 16 (1): 105- 122.

วรเชษฐ์ ขอบใจ, อารักษ์ ดำรงสัตย์, พิทักษ์พงศ์ ปันต๊ะ และเดช ดอกพวง. (2553). พฤติกรรมการใช้สารเคมี ป้องกันกำจัดศัตรูพืชและระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดของกลุ่มเกษตรกรต้นน้ำ: กรณีศึกษา ชาวเขาเผ่าม้ง จังหวัดพะเยา. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 4 (2): 36-46.

สำนักงานเกษตรจังหวัดอุตรดิตถ์. (2556). ข้อมูลการเกษตรจังหวัดอุตรดิตถ์. ค้นเมื่อ 6 ธันวาคม 2560, จาก http://www.uttaradit.doae.go.th/home/

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุตรดิตถ์. (2554). รายงานผลการตรวจคัดกรองความเสี่ยงจากการทำงาน
ของเกษตรกรจากการใช้และสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช. อุตรดิตถ์: งานอาชีวอนามัยสิ่งแวดล้อม สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุตรดิตถ์.

องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเสี้ยว. (2560). ข้อมูลประชากร. อุตรดิตถ์: องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเสี้ยว.
อำพร สมสิงห์คำ. (2553). พฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสของ เกษตรกร ตำบลทุ่งปี๊ อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่. ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

Norkaew, S., N., Taneepanichskul, W., Siriwong, S., Siripattanakul & Robson G. M. (2012). Household pesticide use in agricultural community, Northeastern Thailand. Journal of Medicine and Medical Sciences. 3 (10): 631-637.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-28