การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการใช้โปรแกรม PHIS ในส่วนของงานเก็บข้อมูลผู้ถูกทำร้ายทางเพศ ของโรงพยาบาลตำรวจ
คำสำคัญ:
ความพึงพอใจ, โปรแกรม PHIS, ผู้ถูกทำร้ายทางเพศบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาระดับความพึงพอใจในการใช้โปรแกรมระบบสารสนเทศโรงพยาบาลตำรวจ (Police Hospital Information System : PHIS) ในส่วนของงานเก็บข้อมูลผู้ถูกทำร้ายทางเพศ ของโรงพยาบาลตำรวจ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจการใช้โปรแกรมระบบสารสนเทศโรงพยาบาลตำรวจ (PHIS) ในส่วนของงานเก็บข้อมูลผู้ถูกทำร้ายทางเพศ ของโรงพยาบาลตำรวจ ซึ่งการวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ ผลการวิจัยพบว่า 1) ศึกษาระดับความพึงพอใจในการใช้โปรแกรมระบบสารสนเทศโรงพยาบาลตำรวจ (PHIS) ในส่วนของงานเก็บข้อมูลผู้ถูกทำร้ายทางเพศ ของโรงพยาบาลตำรวจ ความพึงพอใจในการใช้โปรแกรมระบบสารสนเทศของโรงพยาบาลตำรวจ (PHIS) ในการเก็บรวบรวมผู้ถูกทำร้ายทางเพศ พบว่า โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก และหากพิจารณาเป็นรายข้อ ลำดับแรก มีการกำหนดรหัสผู้ใช้และรหัสผ่านในการตรวจสอบผู้เข้าใช้โปรแกรมอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือการออกแบบหน้าจอง่ายต่อการใช้งานอยู่ในระดับมากโปรแกรมทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น และภาษาที่ใช้ในโปรแกรมง่ายต่อความเข้าใจของผู้ใช้อยู่ในระดับเท่ากัน เรียงตามลำดับ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจการใช้โปรแกรมระบบสารสนเทศโรงพยาบาลตำรวจ (PHIS) ในส่วนของงานเก็บข้อมูลผู้ถูกทำร้ายทางเพศ ของโรงพยาบาลตำรวจพบว่าผู้ใช้งานโปรแกรมระบบสารสนเทศของโรงพยาบาลตำรวจ (PHIS) ที่มีประสบการณ์ทำงาน และระยะเวลาในการใช้งานโปรแกรม (ต่อครั้ง) กับความพึงพอใจในการใช้โปรแกรมระบบสารสนเทศ ของโรงพยาบาลตำรวจ (PHIS) ในการเก็บรวบรวมผู้ถูกทำร้ายทางเพศ มีความสัมพันธ์กัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
References
คฑาวุธ พรหมายน. (2545). ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการตํารวจกองตรวจคนเข้าเมือง: ศึกษาเฉพาะกรณีข้าราชการตำรวจฝ่าย 1 ฝ่าย 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
สาขารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคําแหง.
นพพร สพันธุ์พงษ์. (2550). ความพึงพอใจของบุคลากรที่มีต่อระบบอินเตอร์เน็ตภายในโรงเรียนนายร้อย พระจุลจอมเกล้า. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีธัญบุรี.
นฤมล มีชัย. (2538). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูสังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัด พระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา
มหาวิทยาลัยบูรพา.
นัสนันท์ กิตติณรงค์กุล. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของอาจารย์ในการใช้งานระบบบันทึก
ผลการเรียน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
ราชมงคลธัญบุรี.
พรพรรณ รัตนตรัยวงศ์. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้ใช้ อินเตอร์เน็ตในเขตจังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
สาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ยศวดี งามสะอาด. (2551). ปัจจัยที่มีผลตอความพึงพอใจในการใช้งานระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ของ บุคลากรในกระทรวงสาธารณสุขกรณีศึกษา. กรุงเทพมหานคร : สํานักงานปลัดกระทรวง สาธารณสุข.
โรงพยาบาลตำรวจ ห้องฉุกเฉินและอุบัติเหตุ (2558-2559): แฟ้มข้อมูลสถิติผู้ถูกกระทำชำเรา
วิภา แสงศิริ. (2552) . ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการใช้งานระบบจองห้องประชุมอิเล็กทรอนิกส์: กรณีศึกษา สํานักงานใหญ่บริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน). การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
วีระพันธ์ เขมะนุเชษฐ์ . (2558). ความหมายของประสิทธิภาพและประสิทธิผล. ค้นเมื่อ 14 เมษายน 2560, จาก http://bankusayei.blogspot.com/2015/01/blog-post.html
สถาพร นพรัตน์ . (2548). เรื่องความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา:ศึกษากรณีโทษและข้อบกพร่องของ ความผิดอันยอมความได้. ภาคนิพนธ์นิติศาสตรบัณฑิต สาขานิติศาสตร์ หาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์.
สถิต คําลาเลี้ยง. (2544). ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของช่างอากาศยาน : ศึกษาเฉพาะกรณี กองการ บินทหารเรือ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคําแหง.
Foster, G. M. A. (1973). Tradition Societies and Technological Change. New York: Harper & Row.
Oliver, R. L. (1997). Satisfaction: A Behavioral Perspective on the Consumer, Erwin. New York: McGraw- Hill.
Maslow, A. M. (1954). Motivation and Personality. New York: Harper and Brothers.
Shelley, M. W. (1975). Responding to Social Change. Pennsylvania : Dowden, Hutchison.
Simon, H. A. (1960). Administrative Behavior. New York: The McMillen Company.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีและบุคลากรท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว