การยกระดับรายได้ของผู้ประกอบอาชีพสามล้อถีบ ในจังหวัดสมุทรปราการ

ผู้แต่ง

  • ธัชกร ภัทรพันปี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
  • ณัฐสุภา จิวศิวานนท์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

คำสำคัญ:

การยกระดับรายได้, ผู้ประกอบอาชีพสามล้อถีบ, จังหวัดสมุทรปราการ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานภาพของผู้ประกอบอาชีพสามล้อถีบในจังหวัดสมุทรปราการ 2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคของผู้ประกอบอาชีพสามล้อถีบ และ 3) ศึกษาความต้องการต่อการยกระดับรายได้ของผู้ประกอบอาชีพสามล้อถีบ ในจังหวัดสมุทรปราการ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ประกอบอาชีพสามล้อถีบในจังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 120 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ซึ่งมีคุณภาพเครื่องมือวัดค่าความเชื่อมั่น .828 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 25-59 ปี การศึกษาประถมศึกษา ระยะเวลาในการประกอบอาชีพ 16 ปี ขึ้นไป ถือกรรมสิทธิ์ในรถสามล้อถีบเป็นรถเช่า อัตราเรียกเก็บจากผู้ใช้บริการ/ครั้ง ระหว่าง 16-20 บาท มีรายได้เฉลี่ยต่อวัน ระหว่าง 101-200 บาท สภาพปัญหาและอุปสรรคส่วนใหญ่ พบว่า เส้นทางการขับขี่เกิดจากจราจรติดขัด การเกิดอุบัติเหตุในการขับขี่เกิดการเฉี่ยวชน จำนวนอุบัติเหตุจากการขับขี่สามล้อถีบปี 2559 ระหว่าง 0-1 ครั้ง อายุการใช้งานของรถสามล้อถีบ (ปี 2559) มีการใช้งานตั้งแต่ 16 ปี ขึ้นไป ระดับความต้องการต่อการยกระดับรายได้ของผู้ประกอบอาชีพสามล้อถีบ โดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง ( =2.99) เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยเรียงจากมากไปหาน้อยเป็นรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับปานกลาง คือ ด้านความช่วยเหลือและสนับสนุน ( =3.32) เช่น การกำหนดเส้นทางของสามล้อถีบ ที่เหมาะสมกับสภาพจราจร การให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมอาชีพสามล้อถีบ เป็นต้น ด้านสวัสดิการและความมั่นคงในชีวิต ( =3.26) เช่น การตรวจสุขภาพประจำปีโดยไม่เสียค่าบริการ การมีสวัสดิการการศึกษาและการรักษาพยาบาลของบุตร เป็นต้น ด้านการเพิ่มรายได้ของอาชีพสามล้อถีบ ( =3.09) เช่น การบริการเสริมอาชีพ เช่น การให้บริการนักท่องเที่ยว การรณรงค์ต่าง ๆ การสร้างมาตรฐานอาชีพ ได้แก่ คุณภาพและบุคลิกภาพในการบริการ เป็นต้น และอยู่ในระดับน้อยคือ ด้านการลดต้นทุนในการประกอบอาชีพถีบ ( =2.32) เช่น การดูแลสภาพการใช้งานของรถสามล้อถีบอย่างสม่ำเสมอ การมีรถสามล้อถีบของตนเอง เป็นต้น ตามลำดับ

References

ณัฐนันท์ อ่ำบุญธรรม. (2549). ปัญหาความยากจนของกลุ่มอาชีพสามล้อถีบในจังหวัดสมุทรปราการ. ปริญญารัฐศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทั่วไป มหาวิทยาลัยบูรพา.

ธัชกร ภัทรพันปี. (2561). แนวทางการยกระดับรายได้อย่างยั่งยืนของผู้ประกอบอาชีพสามล้อถีบในจังหวัด สมุทรปราการ. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

บำเพ็ญจิต แสงชาติ. (2547). การพึ่งตนเองของผู้มีอาชีพถีบจักรยานสามล้อในเขตเทศบาลนครขอนแก่น. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พลาชิต สุจิตโกศล. (2558, 16 ธันวาคม ). สัมภาษณ์. นายกสมาคมอาสาสมัครประชาสงเคราะห์
จังหวัดสมุทรปราการ.

ภคพนธ์ ศาลาทอง. (2555). กลไกสนับสนุนการคุณภาพชีวิตของแรงงานนอกระบบภาคบริการ กรณีศึกษา กลุ่มคนขับรถแทกซี่เขตกรุงเทพมหานคร. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
พระนคร.

เยาวลักษณ์ อัมพรสิทธิกูล. (2544). การดำเนินชีวิตของผู้ประกอบอาชีพถีบสามล้อในจังหวัดสมุทรปราการ. สารนิพนธ์แรงงานและสวัสดิการมหาบัณฑิต สาขาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุรชัย สุตันตั้งใจ. (2559, 29 มีนาคม ). สัมภาษณ์. ผู้จัดการอู่สามล้อถีบสิงโตทอง.

อ้อยใจ นามวงศ์. (2544). การรวมกลุ่มอาชีพสามล้อถีบเพื่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Best W. John. (1997). Research in Education. New Jersey: Prentice-Hell.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-28