การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ใช้การประเมินเพื่อเสริมพลังอำนาจ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
คำสำคัญ:
รูปแบบการจัดการเรียนรู้, การประเมินเพื่อเสริมพลังอำนาจบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ใช้การประเมินเพื่อเสริมพลังอำนาจ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี และ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง งานวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน และ คุณภาพงานวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี ระหว่างกลุ่มที่ใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ใช้การประเมินเพื่อเสริมพลังอำนาจ และกลุ่มที่ไม่ใช้การประเมินเพื่อเสริมพลังอำนาจ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ จำนวน 2 ห้องเรียน ๆ ละ 30 คน รวม 60 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายโดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือวิจัย ได้แก่ รูปแบบการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้ แผนจัดการเรียนรู้ แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ แบบประเมินคุณภาพงานวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า (t) บบสองกลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ใช้การประเมินเพื่อเสริมพลังอำนาจที่พัฒนาขึ้นมา ประกอบด้วย 9 ขั้นตอน คือ 1) การกระตุ้นให้เห็นความสำคัญของงาน 2) การชี้แจงให้ความรู้เพื่อปฏิบัติงาน 3) การกำหนดเป้าหมายงานและมอบหมายงาน 4) การให้ความรู้ในการประเมินงาน 5) การประเมินผลงาน 6) การกำหนดจุดดีจุดด้อยและลำดับความสำคัญของงาน 7) การกำหนดเป้าหมายความสมบูรณ์ของงาน 8) การพัฒนาเติมเต็มความรู้เพื่อพัฒนางาน และ 9) การพัฒนาปรับปรุงงาน โดยรูปแบบการจัดเรียนรู้นี้มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดและ 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและคุณภาพงานวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของนักศึกษากลุ่มที่ใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ใช้การประเมินเพื่อสร้างเสริมพลังอำนาจ สูงกว่า กลุ่มที่ไม่ใช้การประเมินเพื่อสร้างเสริมพลังอำนาจ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
แบบเสริมพลังอำนาจที่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวัดผลและประเมินผล คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
ธัญญรัศม์ จอกสถิต. (2553). โมเดลการปฏิบัติงานของครู: การประยุกต์ใช้แนวคิดการประเมินครูที่เน้นการ ปฏิบัติงานเป็นฐานและการประเมินแบบเสริมพลังอำนาจ. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวัดผลและประเมินผล คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นฤมล ปภัสสรานนท์ และ สุเทพ อ่วมเจริญ. (2561). การพัฒนารูปแบบ DRU เพื่อส่งเสริม Meta Cognition สำหรับนักศึกษาประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
12 (1): 92-109.
พัชรี ปิยะภัณฑ์ และ ปรีชา ธนะวิบูลย์. (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัย ราชภัฏธนบุรี วารสารวิจัยราชภัฏธนบุรี รับใช้สังคม. 3 (1): 44-61
มณีรัตนา โนนหัวรอ. (2557). การพัฒนารูปแบบการประเมินเสริมพลังอำนาจเพื่อเพิ่มสมรรถนะด้านการ วัดผลและประเมินผลการศึกษาของครูประจำการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาปราจีนบุรีเขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาทดสอบและวัดผล การศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สมพงษ์ ปั้นหุ่น. (2548). การพัฒนาแบบตรวจสอบรายการประเมินแบบเสริมพลังอำนาจเพื่อพัฒนาทักษะ การประเมินของครูและนักเรียน. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวัดผลและ ประเมินผล คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สาธิตตา สกุลรัตนกุลชัย. (2553). การพัฒนารูปแบบการประเมินการเรียนการสอนแบบสตูดิโอทาง สถาปัตยภรรมโดยใช้การประเมินแบบเสริมพลังอำนาจ. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2552). การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Best, J. W.,& Jemes, V. K. (1986). Research in education 5 th ed. New Jersey: Prentice Hall.
Chinman, M., Imm, P,& Wanderman, A. (2004). Getting to outcome: Promoting accountability through method and tools of planning, implementation, and evaluation, Retrived for March, 15, 2014 From http://www.rand.org/ pubs/technical_report/TR101/
Fetterman, D. M. (1994). empowerment Evaluation. Evaluation Practice. 15 (1): 1-15.
Fetterman, D, M., Kaftarian, S. J., & Wandersman, A. (1996). Empowerment Evaluation: Knowledge and Tools for Self-Assessment & Accountability. California.: Sage.
Fetterman, D, M., Kaftarian, S. J., & Wandersman, A. (2015). Empowerment Evaluation. 2 nd ed. L.A.: Sage.
Iriarte, W. K. (2009). Participation of People with Intellectual Disabilities in Empowerment Evaluation: Process and Impact. Chicago: University of Illinois.
John, D., Lutteman, A., Hier, D.(2006). Empowerment evaluation in reddesigning a public health unit nutrition program. Canadian Journal of Dietetic Practice and Research. 67 (1): 36-40.
Kemmis, S. (1988). Action research. In Keeves, J. P. (Ed.), Educational research, Methodology, and measurement: An international handbook. (42-49).Oxford: Pergamon Press.
Madison Metropolitant School District. (2001). Classroom action research. Retrieved March 30, 2014, from, http://www.madison.K12.wi.us/sod/car/carhomepage.html
Smith, R. R. (2008). Lesson Study: Professional Development for Teachers and Improving Classroom Practice. U.S.A., MI: ProQuest LLC.
Wandersman, A., Imm, P., Chinman, M., & Kaftarian, S. (2000). Getting to Outcome: A results- based approach to accountability. Evaluation and Program Planning, 23 (3): 389- 395.
Wandersmand, A., Smell-Johns, Lentz, B. E., Ferrerman, D. M., Keener, D. C., Liver, M, et al. (2005). The principles of empower evaluation, In. Fetterman D, M & Wandersman A, (Eds,) Empowerment evaluation principles in practice. New York: Guilford Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีและบุคลากรท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว