การพัฒนาฟีเจอร์บนตลาดกลางออนไลน์เพื่อส่งเสริมสินค้าชุมชนจังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • ชวัลรัตน์ ศรีนวลปาน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • วลัยภรณ์ ศรเกลี้ยง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • รัตยากร ไทยพันธ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • มโนรส บริรักษ์อราวินท์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • จีรวัฒน์ นาคสุวรรณ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • อภิสรา คงไทย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

คำสำคัญ:

ฟีเจอร์, ตลาดกลางออนไลน์, การประมูลออนไลน์, การตลาดออนไลน์, สินค้าชุมชน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาปัจจัยส่วนผสมทางการตลาดออนไลน์ที่ส่งผลให้ลูกค้าซื้อสินค้าชุมชน จังหวัดนครศรีธรรมราชและพัฒนาฟีเจอร์บนตลาดกลางออนไลน์ที่ตอบสนองความเป็นอัตลักษณ์เฉพาะ ของร้าน งานวิจัยฉบับนี้เป็นงานวิจัยประยุกต์ในลักษณะการวิจัยและพัฒนา โดยมีกลุ่มตัวอย่างในเชิงปริมาณจำนวน 385 คน เพื่อหาระดับความสำคัญของปัจจัยส่วนผสมทางการตลาดออนไลน์ โดยใช้แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือในการวิจัย สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ส่วนผสมทางการตลาดออนไลน์ประกอบด้วย ด้านสินค้าและบริการ ด้านราคา ด้านสถานที่ ด้านการส่งเสริมการขาย ด้านความเป็นส่วนตัว และด้านความปลอดภัย มีระดับความสำคัญในระดับมาก และกลุ่มประชากรในการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นผู้เชี่ยวชาญจำนวน 10 คน เพื่อประเมินระบบตลาดกลางออนไลน์ที่พัฒนาขึ้นซึ่งพบว่าระบบมีความเหมาะสมทั้งการนำเสนอข้อมูลสินค้าที่มีความกระชับ ชัดเจน ครบถ้วนตามหลักการตลาด รวมทั้งระบบประมูลสินค้าและความอิสระในการออกแบบหน้าร้านของแต่ละร้านค้าซึ่งเป็นฟีเจอร์ใหม่ที่แตกต่างจากตลาดกลางออนไลน์ทั่วไป

References

กิตติ สิริพัลลภ. (2543). การตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Marketing). วารสารบริหารธุรกิจ. 23 (87):
43-56.

จิตติมา จารุวรรณ์ และอรกัญญา โฆษิตานนท์. (2557). พฤติกรรมและปัจจัยสำคัญจากการสื่อสารการตลาดที่ มีต่อการซื้อผลิตภัณฑ์ของผู้บริโภคจากการสื่อสาร การตลาดในรูปแบบสื่อสังคมออนไลน์. วารสารปัญญาภิวัฒน์. 3 (2): 38-49.

ฐวุฒิ ราชวงค์ และปรเมษฐ์ ภักดีราช. (2555). ระบบตลาดกลางออนไลน์ (e-Marketplace). วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ดวงกมล ลาภกาญจนพงศ์. (2553). ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความตั้งใจในการซื้อสินค้าหรือบริการออนไลน์ ในมิติของการรับรู้ถึงความเสี่ยงและความเชื่อมั่นไว้วางใจของผู้บริโภค. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร
มหาบัณฑิต สาขาการบริหารการตลาด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ดวงใจ ธรรมนิภานนท์. (2557). กลยุทธ์การตลาดผลิตภัณฑ์ความงามผ่านช่องทางการค้าแบบดิจิทัล. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเนชั่น.

ธัญญ์ธีรา อภิกุลวราศิษฐ์. (2556). สารพัดวิธี Online Marketing. กรุงเทพมหานคร: วิตตี้กรุ๊ปผู้จัดการ

ออนไลน์. (2559). พาณิชย์ชี้เทรนด์สินค้า OTOP 2016 แนวสุขภาพมาแรง. ค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2559,จาก http://www.manager.co.th/smes/ViewNews.aspx?NewsID =9590000057063

พิริณฎา หลวงเทพ และ ประสพชัย พสุนนท์. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าและบริการ ผ่านธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศ เพชรบุรี. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal. ปีที่ 7 (2): 621-638.

ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ. (2551). เปิดการค้าสู่คนนับล้านผ่าน E-Marketplace. ค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2559, จาก http://www.pawoot.com/node/111

ภิเษก ชัยนิรันทร์. (2556). E-Commerce และ Online Marketing. กรุงเทพมหานคร: โปรวิชั่น.
มาเก็ตติ้งอุ๊ป. (2558). สี..มีผลต่อการซื้ออย่างไร. ค้นเมื่อ 22 มีนาคม 2559, จาก http://www.marketing oops.com/reports/research/color-purchase-effect

เรดดี้แพลนเน็ต. (2556). เรียนรู้องค์ประกอบของเว็บไซต์ที่ดี (Part2). ค้นเมื่อ 18 เมษายน 2559, จาก http://www.readyplanet.com/online-marketing/know-website-elements-2.html

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน). (2560). ETDA เผยผลสำรวจพฤติกรรมใช้ อินเทอร์เน็ตและมูลค่าอีคอมเมิร์ซ โชว์ความพร้อมไทยก้าวขึ้นเป็นเจ้าอีคอมเมิร์ซอาเซียน. ค้นเมื่อ 2 กรกฎาคม 2560, จาก https://www.etda.or.th/content/thailand-internet-user- profile-2017-and-value-of-e-commerce-survey-in-thailand-2017l-press- conference.html

สุพัตรา กาญจโนภาส. (2554). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการนำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไปใช้เพื่อ สร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันในธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

อณัฐพล ขังเขตต์. (2553). ส่วนผสมทางการตลาด E-Commerce 6P. ค้นเมื่อ 22 มีนาคม 2558, จาก http://drsuntzu.weebly.com/it/-e-commerce-6p

อาริยา ลีลารัศมี. (2558). องค์ประกอบของเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และความไว้ใจในการซื้อสินค้า
ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าแบรนด์เนมผ่านเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภคในเขต กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. (2556). พาณิชอิเล็กทรอนิกส์ (มุมมองด้านการบริหาร): e-Commerce (A Management Perspective). กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

Nanehkaran, Y. A. (2013). An Introduction to electronic commerce. International Journal of Scientific & Technology Research. 2(4): 2277-8616.

Osmonbekov, T., Daniel, C. B., & David, I. G. (2002). Adoption of electronic commerce tools in business procurement: Enhanced buying center structure and processes. Journal of Business & Industrial Marketing. 17 (2/3): 151-166.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-28