การบริหารจัดการสถานศึกษาด้านการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนหลายสัญชาติกับ ชุมชนของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร

ผู้แต่ง

  • อริญา พึ่งป่า คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
  • สุนันทา แก้วสุข คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการสถานศึกษา, การสร้างความสัมพันธ์, โรงเรียนหลายสัญชาติ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับการบริหารจัดการสถานศึกษาด้านการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนหลายสัญชาติของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร 2. เปรียบเทียบการบริหารจัดการสถานศึกษาด้านการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนหลายสัญชาติของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร จำแนกตามสถานภาพหน้าที่ของผู้ให้ข้อมูล กลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ บุคลากรในโรงเรียนคือ ผู้บริหารโรงเรียนและครูรวม 137 คน และบุคลากรนอกโรงเรียนคือ ผู้ปกครองหรือบุคคลในชุมชนที่เกี่ยวข้องรวม 288 คน วิธีการวิจัยเป็นแบบผสมโดยเก็บข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ แบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า มีค่าความเชื่อมั่น .95 ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และข้อมูล เชิงคุณภาพทำการวิเคราะห์แบบอุปนัย ผลการวิจัยจากการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ พบว่า 1. ระดับการบริหารจัดการสถานศึกษาด้านการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนหลายสัญชาติของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาครในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อยคือการจัดกิจกรรมเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน การติดต่อสื่อสาร การเปิดโอกาสให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ตามลำดับ 2. การเปรียบเทียบการบริหารจัดการสถานศึกษาด้านการ สร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนหลายสัญชาติของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร ในภาพรวมพบว่า บุคลากรภายในโรงเรียนมีความคิดเห็นแตกต่างจากบุคลากร นอกโรงเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 บุคลากรนอกโรงเรียนมีความคิดเห็นต่อการสร้างความสัมพันธ์สูงกว่าบุคลากรในโรงเรียนและจากการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพพบว่าค่าเฉลี่ยเรียงจากมากไปหาน้อย ได้แก่ 1. การจัดกิจกรรมเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนเป็นโอกาสที่บุคลากรภายนอกโรงเรียนได้ซักถามและทราบถึงปัญหาและพฤติกรรมของนักเรียน 2. การติดต่อสื่อสารบุคลากรภายนอกโรงเรียนได้ใช้การสื่อสารทางวาจาและใช้ภาษาประจำชาติของตนเอง จึงต้องมีผู้แปลจึงจะเข้าใจความหมายและ 3. การเปิดโอกาสให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้เนื่องจากบุคลากรภายนอกได้มีโอกาสมาเป็นวิทยากรพิเศษในบางครั้ง เช่น การสอนภาษามอญ ตามลำดับ

References

พนิจดา วีระชาติ. (2542). การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน. กรุงเทพมหานคร:

โอเดียนสโตร์.

พระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2551. (2551, 13 กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเบกษา.เล่มที่ 125 ตอนที่ 37 ก: 25.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่2) พ.ศ.2545 (ฉบับที่3) พ.ศ.2553. (2552, 14 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 116: 45.

ไพรัช อรรถกามานนท์. (2545). การส่งเสริมชุมชนและท้องถิ่นในการปฏิรูปการศึกษา.กรุงเทพมหานคร: สำนักงานปฏิรูปการศึกษา.

วิจิตร อาวะกุล. (2525). เทคนิคมนุษยสัมพันธ์. กรุงเทพมหานคร: พิฆเณศ.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2555-2559. ค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2559, จาก http://www.nesdb. go.th/ Default.axpx?tabid395.

สำนักงานจัดหางานจังหวัดสมุทรสาคร. (2559). ชุมชนของแรงงานต่างด้าวในจังหวัดสมุทรสาคร. ค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2559, จาก http://samutsakhon.mol.go.th/sites /samutsakhon.mol.go.th/ files/cchamnwnchumchnkhntaangdaaw_73chumchn.pdf.

สำนักงานแรงงานจังหวัดสมุทรสาคร. (2559). แผนที่จังหวัดสมุทรสาคร. ค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2559,

จาก http://samutsakhon.mol.go.th/node/69.

สุชีลา ศักดิ์เทวิน. (2560). วัฒนธรรมองค์การและความผูกพันกับองค์การของบุคลากรสายสนับสนุนสังกัด มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. วารสารวิจัยราชภัฏธนบุรีรับใช้สังคม. 3 (2): 169-171.

เสรีรัตน์ การะเกตุ. (2559). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับการ จัดการความรู้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

สุราษฎร์ธานีเขต2. วารสารวิจัยราชภัฏธนบุรีรับใช้สังคม. 2 (2): 50-53.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. 5 thed New York: Harper & Row.

Krejcie, R. V. Morgan, D. W. (1970). Determinining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement. 30: 607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-28