รูปแบบการปฏิบัติต่อเวทนาในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน
คำสำคัญ:
เวทนา, รูปแบบการปฏิบัติต่อเวทนา, การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาเวทนาในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาวิธีการปฏิบัติต่อเวทนาของสำนักวิปัสสนากรรมฐาน และ 3) เพื่อศึกษารูปแบบการปฏิบัติต่อเวทนาในการปฏิบัติกรรมฐาน และการประยุกต์ใช้หลักการปฏิบัติต่อเวทนาในชีวิตประจำวันของคนทั่วไป ผลการวิจัยพบว่า พระพุทธเจ้าทรงสอนให้เจริญสติกำหนดรู้เวทนาที่เกิดขึ้นตลอดเวลาตามความเป็นจริง หลักธรรมที่ใช้ปฏิบัติต่อเวทนาทรงเน้นเรื่องสติ สัมปชัญญะ วิริยะ ขันติ สมาธิ และการระลึกถึงธรรมได้แก่ โพชฌงค์ ไตรลักษณ์ โยนิโสมนสิการ อนุสสติ 10 และสัญญา 10 ประการ วิธีการปฏิบัติต่อเวทนาในสำนักปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ทั้ง 5 สำนักต่างเน้นการกำหนดรู้เวทนาตามความเป็นจริง มีข้อปลีกย่อยที่ต่างกัน คือ สำนักนานาชาติเน้นให้อดทนดูเวทนาโดยพยายามไม่เปลี่ยนอิริยาบถมากที่สุดเพื่อเห็นธรรมชาติของเวทนาได้เร็วขึ้น สำนักโกเอ็นก้าให้อดทนดูเวทนาโดยไม่เปลี่ยนอิริยาบถเฉพาะชั่วโมงอธิษฐาน สำนักอาจารย์แนบเน้นกำหนดรู้ว่าจำต้องเปลี่ยนอิริยาบถเพราะเกิดทุกข์เพื่อให้รู้ว่ารูปเป็นทุกข์จะได้เกิดปัญญา สำนักสวนโมกข์และสำนักหลวงพ่อเทียนอนุญาตให้เปลี่ยนอิริยาบถได้เมื่อทนไม่ไหวโดยทำความรู้สึกตัวเสมอ รูปแบบการปฏิบัติต่อเวทนาในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ได้แก่ 1) มีศรัทธา 2) รู้ให้ทัน 3) หมั่นบำเพ็ญ 4) เห็นไตรลักษณ์ 5) จักวางได้ ส่วนการประยุกต์ใช้หลักการปฏิบัติต่อเวทนาในชีวิตประจำวัน ได้แนวทางการปฏิบัติต่อเวทนาเพื่อเสริมสร้างความสุขในชีวิตประจำวัน ได้แก่ 1) คบกัลยาณมิตร 2) จิตเมตตา 3) ปรารถนาน้อย 4) คอยระวังจิต 5) คิดด้านบวก และแนวทางการปฏิบัติต่อเวทนาเพื่อบำบัดทุกข์ในชีวิตประจำวันได้แก่ 1) เตรียมใจรับ 2) รู้ทันแท้ 3) เพียรแก้ไข 4) ใช้ปัญญา 5) กล้าปล่อยวาง ซึ่งทั้งรูปแบบและแนวทางทั้งสิ้นนับว่าสอดคล้องกับหลักการปฏิบัติต่อเวทนาในคัมภีร์พระพุทธศาสนา ซึ่งรวมอยู่ในความไม่ประมาท
References
จุฑาภัค หริรักษ์ธำรง และ พระมหากฤษณะ ตรุโณ. (2560). การศึกษาวิเคราะห์สุญญตาในพระไตรปิฎก. ค้นเมื่อ 17 มกราคม 2561, จาก https: //research.dru.ac.th/e-journal/index.php?url =journal_all.php
นาคะประทีป (นามแฝง). (2515). บาลีสยามอภิธาน. กรุงเทพมหานคร: หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมการฝึกหัดครู.
พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2553). คำวัด. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (มปป.) ทุกข์สำหรับเห็น แต่สุขสำหรับเป็น (แก่นแท้ของพระพุทธศาสนา).
พิมพ์ครั้งที่ 9 .(มปท.).
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต).(2558). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 23. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ผลิธัมม์.
________. (2557). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. พิมพ์ครั้งที่ 40. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ผลิธัมม์. คณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร. (2553). ปทานุกรมบาลี ไทย อังกฤษ สันสกฤตฉบับพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ. พิมพ์ครั้งที่ 5 นครปฐม: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.
โพสต์ทูเดย์. (2560). ไทยมีสถิติฆ่าตัวตายสูงขึ้น ปัญหาความรัก-ซึมเศร้า สาเหตุหลัก. ค้นเมื่อ 1 กันยายน 2560 จาก http: //www.posttoday.com/social/health/491709
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2553). อรรถกถาแปล ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีและบุคลากรท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว