รูปแบบการทอดกฐินสำหรับชาวพุทธไทย
คำสำคัญ:
รูปแบบการทอดกฐิน, ชาวพุทธไทยบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการทอดกฐินในพระพุทธศาสนาเถรวาท 2) ศึกษาประเพณีการทอดกฐินในสังคมไทย และ 3) เสนอรูปแบบการทอดกฐินสำหรับชาวพุทธไทย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาเชิงเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) จากผู้ทรงคุณวุฒิด้านพระพุทธศาสนา มีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสัมภาษณ์ ผลการวิจัย พบว่า การทอดกฐินในพระพุทธศาสนาเถรวาท เป็นการทำบุญในพระพุทธศาสนา ที่มีรากฐานมาจากพระวินัยบัญญัติในเรื่องกฐิน เป็นพุทธานุญาตที่มอบให้แก่ภิกษุผู้อยู่จำพรรษาครบถ้วนไตรมาสแล้วในวัดเดียวกันไม่น้อยกว่า 5 รูปขึ้นไป ให้กรานกฐินได้หลังออกพรรษา มีกำหนดภายใน 1 เดือน เป็นทานพิเศษที่พระพุทธเจ้าทรงประทานให้เองโดยไม่ต้องขอ ด้วยพุทธประสงค์ให้การอนุเคราะห์ในเรื่องผ้าจีวรนุ่งห่ม ได้สร้างความสามัคคีในหมู่สงฆ์ ทำให้ได้รับอานิสงส์กฐิน และเป็นการสนับสนุนพระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ต่อมามีผู้ศรัทธานำผ้ากฐินไปถวายแก่พระสงฆ์หลังวันออกพรรษา ชาวพุทธไทยจึงเรียกพิธีกรรมนี้ว่า ประเพณีการทอดกฐิน มาจนถึงปัจจุบัน ประเพณีการทอดกฐินในสังคมไทย มีพัฒนาการมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยเรื่อยมา และถูกจัดไว้เป็นศาสนพิธีโดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) มีรูปแบบการทอดกฐินแตกต่างกันไปตามประเภทและลักษณะของกฐิน พระกฐินหลวงมีแนวปฏิบัติตามสำนักพระราชวังและกรมการศาสนา ส่วนกฐินราษฎร์ นับว่าเจ้าภาพและคนในชุมชนมีบทบาทต่อการกำหนดกิจกรรมกฐิน ภาพลักษณ์ของประเพณีการทอดกฐินจะมีความน่าเชื่อถือได้ ชาวพุทธต้องเรียนรู้และปฏิบัติเกี่ยวกับการทอดกฐินที่ถูกต้องและเหมาะสมตามหลักการพระพุทธศาสนา และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างพระสงฆ์และคนในชุมชน ยึดหลักคำสอนในทางพระพุทธศาสนาเป็นแนวทางปฏิบัติ อาศัยความสามัคคีทุกฝ่าย ทำให้งานบุญกฐินสำเร็จเป็นบุญ รูปแบบการทอดกฐินในสังคมไทยปัจจุบัน นับว่ายังมีส่วนน้อยที่รักษารูปแบบเชิงจารีต หรือจุลกฐิน ซึ่งมีกระบวนการทำจีวร เป็นกิจเบื้องต้นแห่งการกรานกฐินตามพระวินัย จึงต้องรักษาไม่ให้คลาดเคลื่อนไปในอนาคต ดังนั้น เพื่อเป็นการรักษาและส่งเสริมประเพณีการทอดกฐินอันดีงามของไทยให้อยู่คู่กับสังคมไทยสืบไป ชาวพุทธไทยควรมีรูปแบบการทอดกฐินพึงประสงค์ ประกอบด้วย รักษาพระวินัย ยึดรูปแบบศาสนพิธี ส่งเสริมความพอเพียง ประสานความสามัคคี และมีปัญญา
References
การศาสนา.
คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2555). คู่มือนักธรรมและธรรมศึกษาชั้นเอก วิชา
วินัยมุข (เล่ม ๓) และกรรมบถ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ-
ราชวิทยาลัย.
พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2536). กระแสธรรม เพื่อชีวิตและสังคม. นนทบุรี: กองทุนวุฒิธรรม.
พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2540). พระพุทธศาสนาในเอเชีย. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2541). กฐินสู่ธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: บริษัท สหธรรมิก จำกัด.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2558). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 23. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ผลิธัมม์.
พระมหาชัยทัตขันธสิกรรม. (2557). ความสัมพันธ์ของหลักภิกขุอปริหานิยธรรม 7 กับการบริหารวัดในเขต
บางพลัด กรุงเทพมหานคร. วารสารเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการและงานวิจัย. 21 (1): 55.
พระสิริวุฒิเมธี (จำปี พงไทยสง). (2550). การศึกษาเชิงวิเคราะห์เรื่องกฐินในพระพุทธศาสนา. วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถระ). (2555). ธรรมบทเทศนา เล่ม ๑, ๒. กรุงเทพมหานคร: ธนาเพรส.
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส. (2538). วินัยมุข เล่ม 3. พิมพ์ครั้งที่ 25. กรุงเทพมหานคร: มหามกุฏราชวิทยาลัย.
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2560). ความรู้เรื่องกฐิน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
พระราชสิทธิมุนี. (2560, 21 กุมภาพันธ์). สัมภาษณ์. ผู้อำนวยการสถาบันวิปัสสนาธุระ มหาวิทยาลัยมหาจุฬา-ลงกรณราชวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร.
พระราชปริยัติกวี. (2560, 23 กุมภาพันธ์). สัมภาษณ์. รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ-
ราชวิทยาลัย.
พระราชปริยัติมุนี. (2560, 29 มีนาคม). สัมภาษณ์. คณบดีพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร.
พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช). (2560, 27 กุมภาพันธ์). สัมภาษณ์. เจ้าอาวาสวัดราชโอรสาราม กรุงเทพมหานคร.
หลวงวิจิตรวาทการ. (2523). ศาสนาสากล (เล่ม ๔). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ ลูกส. ธรรมภักดี.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีและบุคลากรท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว