ความสำเร็จของกลยุทธ์การตลาดบริการของสถานบริการที่พักผู้สูงอายุ

ผู้แต่ง

  • ปกรณ์เกียรติ จันทรกุล คณะการจัดการ มหาวิทยาลัยชินวัตร
  • ชาญชัย บัญชาพัฒนศักดา คณะการจัดการ มหาวิทยาลัยชินวัตร
  • บัญชา ลิมปะพันธุ์ คณะการจัดการ มหาวิทยาลัยชินวัตร
  • อุษณีษ์ เสวกวัชรี คณะการจัดการ มหาวิทยาลัยชินวัตร

คำสำคัญ:

กลยุทธ์, การตลาด, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การดำเนินธุรกิจของการให้บริการบ้านพักผู้สูงวัย ในประเทศไทย และศึกษาความต้องการที่แท้จริงของผู้สูงวัยที่มีต่อกลยุทธ์การตลาดของผู้ประกอบการบ้านพักสำหรับ ผู้สูงวัยเป็นวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้สูงวัยที่มีอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป ที่เป็นผู้ที่ใช้บริการบ้านพักผู้สูงวัยอยู่ในปัจจุบันจำนวน 400 คน ใช้สถิติเชิงพรรณาในการวิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลและความเห็นต่าง ๆ และใช้การวิเคราะห์หาค่าความแปรปรวนทางเดียวที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลจากการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุอยู่ระหว่าง 55 – 60 ปี มีรายได้ต่อเดือนระหว่าง 30,001 - 40,000 บาท ราคาค่าบริการเดือนละ 15,001 – 20,000 บาท ต่อเดือนและเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายด้วยตนเอง ส่วนปัจจัยที่ทำให้เลือกบ้านพักคือความสะดวกในการเดินทาง ค่าบริการเมื่อเปรียบเทียบกับคุณภาพห้องพักที่ได้รับ บ้านพักมีช่องทางการจัดจำหน่ายหลายช่องทาง มีโครงการให้รางวัลหากท่านสามารถแนะนำลูกค้าใหม่ มีบริการร้านขายของ, ศูนย์อาหาร, ร้านซักรีด, และ อินเตอร์เน็ต นอกจากนี้ผู้สูงวัยยังให้ความสำคัญกับบุคลากรที่ทำงานในบ้านพัก การจัดให้มีอุปกรณ์สำหรับช่วยในการเดิน ในการนี้ผู้สูงวัย มีความประทับใจในบริการที่ได้รับด้านสถานที่ตั้งและห้องพัก และยืนยันที่จะใช้บริการที่พักอาศัยในปัจจุบันอีกต่อไป สำหรับผลการทดสอบสมมุติฐาน พบว่า สถานการณ์ทั่วไปทางด้านการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคมและวัฒนธรรมสภาพความเป็นอยู่ และด้านเศรษฐกิจที่มีการแข่งขันกันสูงมีความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจบริการที่พักผู้สูงอายุ กลยุทธ์การตลาดบริการของสถานบริการที่พักผู้สูงวัยมีความสัมพันธ์กับความสำเร็จของการตลาดบริการของการประกอบกิจการ และพบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์หรือบริการกับความภักดี โดยหากมีโอกาสจะแนะนำบุคคลที่รู้จักมาใช้บริการพักอาศัยผู้สูงวัยที่ใช้บริการอยู่ในปัจจุบัน

References

กนกพร ศิริโรจน์. (2545). กระบวนการตัดสินใจเลือกสถานที่พักของนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ. วิทยานิพนธ์ ระดับบัณฑิตวิทยาลัย สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

จามรี ชูศรีโฉม. (2554). ปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจเลือกเข้าพักโรงแรมและรีสอร์ท เกาะลันตาใหญ่ จ.กระบี่
ของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ. Veridian E-journal. 4 (2): 125-148.

จักรพันธ์ ศิริจัทรพงค์. (2550). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อบ้านของผู้บริโภคในโครงการบ้านจัดสรรในจังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ระดับบัณฑิตวิทยาลัย สาขาบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ฐิตารีย์ นะวาระ. (2555). การศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้สถานบริการ ดูแลผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร.การประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยกรุงเทพ. 1 (29): 72-84.

นาฎธิชา จ้อยปาน. (2558). โครงการจัดตั้งธุรกิจคอนโดมิเนียมสาหรับผู้สูงวัย.การค้นคว้าอิสระ วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารธุรกิจบันเทิงและการผลิตมหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ประมวญ พิรัชพันธ์. (2543). การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในสังคมไทยด้านที่ อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อม. กรุงเทพมหานคร: สำนักงบประมาณ.

เพ็ญพร ประไพพิณ. (2557). ความต้องการใช้บริการสถานบริการผู้สูงอายุของประชากรกลุ่มเบบี้บูมเมอร์.วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

รัตนาภรณ์ ศิริเครือวัลย์. (2554). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกหอพักเอกชนของนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ เศรษฐศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วิรัชนี เขียวอ่อน. (2553). กระบวนการตัดสินใจเลือกหอพักเอกชนของนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์. การค้นคว้าอิสระ ระดับบัณฑิตวิทยาลัย สาขาการจัดการภาครัฐและเอกชน มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2541) การวิจัยธุรกิจ.กรุงเทพมหานคร: เพชรจรัสแสงแห่งโลกธุรกิจ.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์.(2541) การบริหารการตลาดยุคใหม่ กรุงเทพมหานคร: ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2550) การจัดการและพฤติกรรมองค์การ (Management and Organization Behavior).กรุงเทพมหานคร: ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.

ศราวุธ มะอาจเลิศ. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเช่าที่พักอาศัยในเขตการค้าแนวชายแดนไทย กัมพูชา อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว. การค้นคว้าอิสระ สาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

ศุภกร บัวนิ่ม. (2541). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อบ้านเพื่ออยู่อาศัย. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

Kotler, P. (1997). Marketing Management: Analysis, Planning Implementation and Control. 9 th ed. New Jersey: Asimmon & Schuster.

Yamane, T.(1973).Statisties: An Introductory Analysis. 3nd ed. New York: Harper and Row Publication.

เผยแพร่แล้ว

2018-06-29