การสร้างมูลค่าศิลปะข้างถนนสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

ผู้แต่ง

  • ไชยสิทธิ์ ชาญอาวุธ ประจำคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

คำสำคัญ:

ศิลปะข้างถนน, อัตลักษณ์, ความคิดสร้างสรรค์, เศรษฐกิจสร้างสรรค์

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสร้างมูลค่าศิลปะข้างถนนสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ และส่งเสริมศักยภาพด้านการแข่งขันในธุรกิจอุตสาหกรรมแฟชั่นสตรีทแวร์ เพื่อให้เป็นแบบอย่างในการนำศิลปะข้างถนนมาต่อยอดสู่การสร้างต้นแบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้นได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยการใช้วิธีการวิจัยและพัฒนา นำประเภทของศิลปะข้างถนนมาร่วมกันพัฒนาด้านกลยุทธ์ผลิตภัณฑ์ จนนำไปสู่การสร้างแบรนด์สินค้าจริง 3 แบรนด์ เพื่อปรับและพัฒนาสินค้าก่อนการผลิตและขายสินค้าจริงในตลาด ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ คือแนวทางในการสร้างมูลค่าศิลปะข้างถนนสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดย 1) การนำความคิดสร้างสรรค์ของศิลปะข้างถนนไปต่อยอดด้านการสร้างแบรนด์ สินค้าและผลิตภัณฑ์ พบว่ารูปแบบตัวละคร หรือตัวการ์ตูน (Character) รูปแบบตัวอักษร (Font) และแท๊ก (Tag) รูปแบบที่มีความเหมาะสมที่สุดคือ Casual Modern Gorgeous และรูปแบบอารมณ์ความรู้สึก คือ Dynamic Dreamy (น่าอัศจรรย์ จับใจ) Rebellious (ขบถ ท้าทาย) Appealing (ดึงดูดความสนใจ) และ 2) ต้นแบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในการสร้างธุรกิจด้านแฟชั่นเสื้อผ้าสตรีทแวร์ (Street Ware Business Model) มี 6 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนแรกการกำหนดโจทย์ของธุรกิจและสำรวจตลาด ขั้นตอนที่สองการสร้างระบบอัตลักษณ์และตราสัญลักษณ์ ขั้นตอนที่สามการสร้างกลยุทธ์ของแบรนด์ ขั้นตอนที่สี่การทดสอบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ขั้นตอนที่ห้าการประชาสัมพันธ์และช่องทางการขาย และขั้นสุดท้ายการประเมินผล

References

กอบชัย ศักดาวงศ์ศิวิมล. (2552). การสื่อสารเพื่อการสร้างพื้นที่สาธารณะของวัฒนธรรมย่อย Cos’Play. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เกษม เพ็ญภินันท์. (2552). ความโกลาหลของวัฒนธรรมศึกษา ยกเครื่องเรื่องวัฒนธรรมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์กรมหาชน).

ไชยสิทธิ์ ชาญอาวุธ และพัชราภา เอื้ออมรวนิช. (2558). การศึกษาคุณค่าด้านอัตลักษณ์ของศิลปะ
ข้างถนนเพื่อการสร้างมูลค่าสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

ทองเจือ เขียดทอง. (2542). การออกแบบสัญลักษณ์. กรุงเทพมหานคร: สิปประภา.

ปิยะชาติ อิศรภักดี. (2559). จากการตลาด 3.0 สู่การสร้างแบรนด์4.0. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์ฮาวทู อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

สุมิตรา ศรีวิบูลย์. (2547). การออกแบบอัตลักษณ์. กรุงเทพมหานคร: Core Function.

Kotler, P. (2003). Marketing Management. 11 th ed. Upper Saddle River, NJ: Prentice-Hall.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determination sample size for research activities. Education and Psychology Measurement. 30 (3). 607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-06-29