การพัฒนาระบบอาษาแอสเซทแมเนจเมนบนแพลทฟอร์มอาษาเฟรมเวิร์ค (AAM)
คำสำคัญ:
อาษาเฟรมเวิร์ค, อาษาแอสเซทแมเนจเมน, ซารอสเอ็กแบทเทิล มิวบทคัดย่อ
การวิจัยการพัฒนาระบบอาษาแอสเซทแมเนจเมนบนแพลทฟอร์มอาษาเฟรมเวิร์คหรือ AAM ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบ AAM บนแพลทฟอร์มอาษาเฟรมเวิร์คและหาประสิทธิภาพของระบบ AAM ด้านความเร็วและความถูกต้องในการโหลดข้อมูลเข้าสู่เกม พบว่า ระบบ AAM สามารถจัดการไฟล์ได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งจาก Secondary Storage หรือ Cloud และการหาประสิทธิภาพด้านความเร็วของระบบ AAM ได้ทำการทดลองโหลดตัวละครชื่อ Mu จากเกม Zaros X Battle โดยมี Textures ทั้งหมด 307 ไฟล์, Audios ทั้งหมด 24 ไฟล์และText ไฟล์อื่นๆ 28 ไฟล์ พบว่า ประเภทไฟล์ที่มีประสิทธิภาพโหลดเร็วที่สุดคือ Pak+Zip+Pw มีค่าเฉลี่ยบนทุกอุปกรณ์ในการโหลดไฟล์แบบ actx (xml) ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 2.27 วินาที และ แบบ act (text) ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.31 วินาที ส่วนการหาประสิทธิภาพด้านความถูกต้องของระบบ AAM ไฟล์ที่ถูกโหลดมาจาก Secondary Storage และCloud ยังคงทำงานได้ถูกต้อง ส่วนความเร็วในการโหลดไฟล์จาก Cloud จะช้าหรือเร็วนั้นปัจจัยที่มีผลกระทบน่าจะมาจากอัตราการรับและส่งข้อมูลของทั้งฝั่ง Server และClient เป็นสาเหตุหลัก
References
Z. Ali and M. Usman (2016). "A framework for game engine selection for gamification and serious games". Future Technologies Conference (FTC,2016): 1199-1207.
J. Munro, C. Boldyreff and A. Capiluppi, (2009). "Architectural studies of games engines: The Quake series". International IEEE Consumer Electronics Society's Games Innovations Conference (2009): 246-255.
S. H. M. Hashim and N. Mat Diah (2015). "Game engine framework for Non- Programming background," IEEE Conference on Open Systems (ICOS, 2015): 18-21.
S. Nykl, C. Mourning, M. Leitch, D. Chelberg, T. Franklin and Chang Liu (2008). "An overview of the STEAMiE Educational game Engine". 38th Annual Frontiers in Education Conference 2008: F3B-21- F3B-25.
Z. Pan Z G, He G Q and Yang B, (2008). "Advance in research on mobile graphics technologies" Journal Of Computer-aided Design & Computer Graphics. 120 (3): 273–280
Zaros X Battle. (2007). Manager Online. Retrieved May 31, 2007, from:
http: //www.manager.co.th/Game/ViewNews.aspx?NewsID= 9500000062739
M. P. Neto and J. R. F. Brega (2015). "A Survey of Solutions for Game Engines in the Development of Immersive Applications for Multi- projection Systems as Base for a Generic Solution Design". XVII Symposium on Virtual and Augmented Reality 2015:
61-70.
Jingming Xie (2011). "The research on mobile game engine". International Conference on Image Analysis and Signal Processing 2011: 635- 639
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีและบุคลากรท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว