ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออก ของชาวบ้านในชุมชนพื้นที่ตำบลนครสวรรค์ตก อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์

ผู้แต่ง

  • ประสิทธิ์ นิมสุวรรณ์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าทอง ตำบลนครสวรรค์ตก อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์
  • ขวัญเรียม นิมสุวรรณ์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าทอง ตำบลนครสวรรค์ตก อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์
  • ธวัชชัย ศรีพรงาม นวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
  • อัมพลป ชูสนุก คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

คำสำคัญ:

พฤติกรรมป้องกันโรคไข้เลือดออก, ชุมชนพื้นที่ตำบลนครสวรรค์ตก

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่องนี้ เป็นการศึกษาความสัมพันธ์เปรียบเทียบ ซึ่งมีกรอบแนวคิดพื้นฐาน มาจากรูปแบบทฤษฎีปฏิสัมพันธ์นิยม และทฤษฎีต้นไม้จริยธรรม ตลอดจนทฤษฎีทางจิตวิทยาที่สำคัญทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อค้นหาว่าปัจจัยใดที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออก โดยกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นชาวบ้านที่อาศัยในชุมชนพื้นที่ตำบลนครสวรรค์ตก อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป รวม 381 คน จากการสุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวก เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม และวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน จำนวน ร้อยละ และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง ผลการวิจัย ปรากฏว่า 1. สถานการณ์เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกมีอิทธิพลทางบวกต่อจิตลักษณะตามสถานการณ์ 2. การรับรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกมีอิทธิพลทางบวกต่อจิตลักษณะตามสถานการณ์ 3. สถานการณ์เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก มีอิทธิพลทางบวกต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกและ 4. การรับรู้เกี่ยวกับ โรคไข้เลือดออกมีอิทธิพลทางบวกต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออก หรือกล่าวได้ว่าชาวบ้านที่อยู่อาศัยในเขตพื้นที่ตำบลนครสวรรค์ตก อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ยิ่งมีสถานการณ์เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกมาก (ยิ่งได้รับการสนับสนุนทางสังคมจากหน่วยงานภาครัฐมาก ยิ่งได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกมาก และยิ่งมี การเห็นแบบอย่างจากคนรอบข้างมาก ตามลำดับ) ยิ่งมีการรับรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก (ยิ่งมีการรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันโรคไข้เลือดออกมาก ยิ่งมีการรับรู้ความรุนแรงของโรคไข้เลือดออกมาก ยิ่งมีการรับรู้อุปสรรคของการป้องกันโรคไข้เลือดออกมากและยิ่งมีการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคไข้เลือดออกมาก ตามลำดับ) ชาวบ้านที่อยู่อาศัยในเขตพื้นที่ตำบลนครสวรรค์ตก อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ก็ยิ่งมีจิตลักษณะ ตามสถานการณ์ (ทัศนคติที่ดีต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือด และความรู้เกี่ยวกับ โรคไข้เลือดออก) และพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออก มากตามไปด้วย

References

กระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรค. (2559). สถานการณ์ไข้เลือดออกใน

ประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: องค์การทหารผ่านศึก.

ณรงค์ศักดิ์ อินต๊ะ. (2557). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการมีส่วนร่วมของประชาชน

ในการ ป้องกันและควบคุมโรคเลือดออกตำบลข่วงเปา อำเภอจอมทอง

จังหวัดเชียงใหม่. พิเนศวร์สาร มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. 10 (1):

-48.

ดลนภา หงส์ทอง, อรัญญา นามวงศ์, ประดิษฐ์ ชาลีเครือ, สิริสุดา เตชะวิเศษ,

สุรางคณา ไชยรินคำ, และพรพิมล อรุณรุ่งโรจน์. (2559). ความรู้ และ พฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชนในเขตรับผิดชอบของ รพ. สต.บ้านท่าไทร (หมู่ 5-9) ตำบลเกาะยอ จังหวัดสงขลา. การประชุม หาดใหญ่วิชาการระดับชาติ และนานาชาติ ครั้งที่ 7 วันที่ 23 มิถุนายน 2559. ค้นเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2559, จาก ww.hu.ac.th/conference/ conference2016/proceedings/preface.html.

นันทนัช โสมนรินทร์ และณัฏฐ์ชุดา วิจิตรจามรี. (2555). การเปิดรับข่าวสาร ความรู้ ทัศนคติ และการ ปฏิบัติตนในการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชนใน จังหวัดนนทบุรี. การประชุมวิชาการแห่งชาติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 9 วันที่ 6-7 ธันวาคม 2555. ค้นเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2559, จาก http: //researchconference.kps.ku.ac.th/conf9 /article_9/pdf/o_human43.pdf.

นิคม แก้ววันดี, วราภรณ์ ศิริสว่าง, และศิริขวัญ บริหาร. (2557). ปัจจัยที่มีความ สัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ตำบลนครเจดีย์ อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน. สาธารณสุขศาสตร

มหาบัณฑิต สาขาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

ภรณี ดังสุรัตน์ และวิมลฤดี พงษ์หิรัญญ์. (2556). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลตำบลบางเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิจัยราชภัฏธนุบรี รับใช้สังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. 20 (1): 57-69.

ภาคย์ คะมาลี. (2552). การรับรู้และพฤติกรรมในการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชนเทศบาลเมือง เมืองแกนพัฒนา อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระ สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ภิรมย์รัตน์ เกียรติธนบดี, วิโรจน์ ไววานิชกิจ และจเด็ด ดียิ่ง. (2558). พฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของภาคีเครือข่ายสุขภาพในอำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. 10 (2): 84-91.

ระเด่น หัสดี และสรงค์กฏณ์ ดวงคำสวัสดิ์. (2536). การศึกษาและประชาสัมพันธ์

กับการพัฒนาสาธารณสุข เพื่อบรรลุสุขภาพดีถ้วนหน้า. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

วรวรรณ อัศวกุล. (2555). อิทธิพลของการฝึกจิตและทักษะแก่มารดาที่มีต่อพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพของบุตรก่อนวัยเรียน. วิทยาสารทันตสาธารณสุข. 17: 35-48.

ไข้เด็งกี. (2559). ค้นเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2559, จาก https: //th.wikipedia.org/ wikipedia.org/wiki/ไข้เด็งกี.

วิจิตรา ดวงขยาย และเทียนทอง ต๊ะแก้ว. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกกับพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลสบบง อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา.

การประชุมวิชาการและการนำเสนอผลงานวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ครั้งที่ 1 วันที่ 3 กรกฎาคม 2558. ค้นเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2559, จากhttp: //www.chefile. cmru.ac.th/faculty/2558/msc/SAR2/ KPI2.3/2.3-1-3.pdf.

สุทธิดา ทองศฤงคลี. (2547). ปัจจัยเชิงเหตุแบบบูรณาการระหว่างบ้าน โรงเรียน

และจิตลักษณะที่เกี่ยวข้องกับความตั้งใจที่จะดูแลญาติผู้สูงอายุของนักเรียน มัธยมศึกษาปีที่2. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สุทธิพงษ์ ปรางศร. (2547). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติตนในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชน อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารสุขภาพภาคประชาชน ภาคเหนือ. 18 (1): 41-46.

Golob,T.F. (2003). Structural equation modeling for travel behavior research: Transportation Research Part B. Methodological, 37 (1): 1-25.

Gravetter, F. J., & Forzano, L. B. (2012). Research Methods for the Behavioral Sciences 4th ed. Belmont, CA: Wadsworth.

Hair, J. F., Jr., Black, W. C., Babin, B. J., Anderson, R. E., & Tatham, R. L. (2006). Multivariate Data Analysis. 6th ed. Upper Saddle River, New Jersey: Prentice Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-12-29