แนวทางการพัฒนาการตลาดบริการของสถานพยาบาลผู้สูงอายุในกรุงเทพฯ

ผู้แต่ง

  • ภัทรา สุขะสุคนธ์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

คำสำคัญ:

สถานพยาบาลผู้สูงอายุ, ตลาดบริการ, แนวทางการพัฒนา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาความต้องการรับบริการและเปรียบเทียบความต้องการรับบริการสถานพยาบาลผู้สูงอายุของผู้รับบริการเมื่อจำแนกตามข้อมูล ส่วนบุคคล 2. ศึกษาความสามารถในการให้บริการและเปรียบเทียบความสามารถใน การให้บริการของผู้ประกอบการสถานพยาบาลผู้สูงอายุ เมื่อจำแนกตามข้อมูลผู้ประกอบการ 3. ศึกษาแนวทางการพัฒนาการตลาดบริการของสถานพยาบาลผู้สูงอายุในกรุงเทพฯ ประชากรที่ศึกษาคือผู้ประกอบการสถานพยาบาลผู้สูงอายุที่เป็นสมาชิกสมาคมส่งเสริมธุรกิจบริการผู้สูงอายุไทยในกรุงเทพฯ เลือกเป็นกลุ่มตัวอย่างจำนวน 40 แห่ง ผู้รับบริการสถานพยาบาลผู้สูงอายุ เลือกเป็นกลุ่มตัวอย่างจำนวน 200 ราย ผู้ประกอบการสถานพยาบาลผู้สูงอายุที่ดำเนินธุรกิจมากกว่า 5 ปีจำนวน 2 ราย และนายกสมาคมส่งเสริมธุรกิจบริการผู้สูงอายุไทย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และOne Way ANOVA ผลการศึกษาพบว่า 1. ผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นผู้รับบริการมีความต้องการรับบริการในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อแยกตามรายด้านพบว่า มีความต้องการอยู่ในระดับมากในด้านพนักงาน ด้านสถานที่และช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านภูมิทัศน์ ด้านกระบวนการ ด้านการกำหนดราคา ด้านการสื่อสารการตลาด ตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ส่วนด้านบริการมีความต้องการในระดับปานกลาง 2. ผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นผู้รับบริการมีความต้องการรับบริการในภาพรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่.05 เมื่อจำแนกตามระดับการศึกษา อาชีพ และอายุของผู้สูงอายุที่แตกต่างกัน 3. ผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นผู้ให้บริการมีความสามารถในการให้บริการ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อแยกตามรายด้านพบว่า มีความสามารถระดับมาก ในด้านภูมิทัศน์ด้านสถานที่และช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านพนักงาน ด้านกระบวนการ ด้านการกำหนดราคา ส่วนด้านการสื่อสารการตลาดและด้านการบริการมีความสามารถในระดับปานกลาง ตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย 4. ผู้ตอบแบบที่เป็นผู้ให้บริการ มีความสามารถในการให้บริการในภาพรวมไม่แตกต่างกันเมื่อจำแนกตามข้อมูลของ ผู้ประกอบ 5. แนวทางการพัฒนาการตลาดบริการของสถานพยาบาลผู้สูงอายุในกรุงเทพฯนั้น ผู้ประกอบการต้องพัฒนาพนักงานให้มีความซื่อสัตย์ สุจริต ขยัน อดทน และมีความสุภาพอ่อนโยน สถานพยาบาลมีความปลอดภัย ไม่มีแสง สี เสียงรบกวน และมีช่องทางขอรับบริการที่สะดวก มีกระบวนการบริการที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ สามารถแก้ปัญหากรณีฉุกเฉินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ให้บริการสะดวกและรวดเร็ว จัดภูมิทัศน์ให้กว้าง โล่ง โปร่ง สบาย สะอาด เป็นระเบียบเรียบร้อย

References

ฉลาดซื้อ. (2558). ธุรกิจสถานบริการดูแลผู้สูงอายุ. ค้นเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2558, จาก: http: //www.chaladsue.com/new/ index.php

ชัยสมพล ชาวประเสริฐ. (2547). การตลาดบริการ. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน).

ฐิตารีย์ นะวาระและนิตยา ฐานิตธนกร. (2554). การศึกษาปัจจัยส่วนประสมทาง การตลาดที่มีผล ต่อการตัดสินใจเลือกใช้สถานบริการดูแลผู้สูงอายุในเขต กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต บริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ประยุทธ์ จันทร์โอชา. (2559). แถลงต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติเมื่อวันศุกร์ที่ 12 กันยายน 2557. ค้นเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2559, จาก:
http: //www.dop.go.th/main/ law_list.php?id=29

สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม. (2556). สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) ใน ประเทศไทย. ค้น เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2559, จาก:
http: //www.nfi.or.th/aging/index.php/problem

สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม. (2553). คู่มือธุรกิจสถานดูแลผู้สูงอายุ. ค้นเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2558, จาก: http:/thaifranchisedownload.com/dl/11_13_Manual_Eldercare.pdf

Krejcie, Robert V. & Morgan, Daryle W. (1970). Determinining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement. 30: 607-610

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-12-29