การศึกษารูปแบบในการใช้เดินทางไปทำงานของแรงงาน อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ผู้แต่ง

  • มโนลี ศรีเปารยะ เพ็ญพงษ์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

คำสำคัญ:

การเดินทาง, แรงงาน, ยานพาหนะ, อรรถประโยชน์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อการเลือกยานพาหนะ เพื่อศึกษาอรรถประโยชน์จากการเลือกใช้ยานพาหนะในการเดินทาง และเพื่อศึกษารูปแบบการเดินทางไปทำงานของแรงงานอำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี วิธีการศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ แรงงานที่ทำงานพื้นที่อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยการวิเคราะห์ข้อมูลใช้แบบจำลองโลจิตหลายทางเลือก ผลการศึกษา พบว่า ตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อการเลือกยานพาหนะของรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ คือ การศึกษาและระยะทาง ส่วนรถโดยสารสาธารณะ คือ ตัวแปรรายได้และระยะทาง สำหรับอรรถประโยชน์ในการใช้ยานพาหนะในการเดินทางมากที่สุด คือ รถยนต์ โดยมีอรรถประโยชน์ในการเดินทางเท่ากับ 14.17 รองลงมา คือ รถจักรยานยนต์ เท่ากับ 13.11 และรถโดยสารสาธารณะเท่ากับ 1.54 และรูปแบบในการเดินทางของแรงงานในอำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานีนั้น รถยนต์มีค่าความน่าจะเป็น มากที่สุด คือ 0.7439172 รองลงมาคือ รถจักรยานยนต์ความน่าจะเป็นเท่ากับ 0.2560804 และรถโดยสารสาธารณะความน่าจะเป็นเท่ากับ 0.0000024 ดังนั้น เพื่อลดปัญหาจากการใช้ยานพาหนะและรองรับการเดินทางจากการใช้ยานพาหนะ ที่มีค่าความน่าจะเป็นมากที่สุดคือ เป็นรูปแบบยานพาหนะส่วนบุคคล (รถยนต์และรถจักรยานยนต์) รัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการปรับโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อรองรับกับสภาพการจราจร และความปลอดภัยในการเดินทาง

References

กนกพร สีดอกไม้. (2557). นโยบายการจัดการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนของการท่องเที่ยว
แห่งประเทศไทย กรณีศึกษาเกาะสมุย. วารสารเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการ และการวิจัย. 21 (1): 1-13.

กระทรวงมหาดไทย กรมการปกครอง. (2555). สถิติประชากรจังหวัดสุราษฎร์ธานี. ค้นเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2559. จาก URL: http: //service.nso.go.th/

ชลิตา ผดุงมิตร และคณะ (2552). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการเลือกรูปแบบการ เดินทาง ระหว่างกรุงเทพมหานคร-เชียงใหม่. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ณภัทร เลขะวัฒนะ และศิรดล ศิริธร. (2557). การพัฒนาแบบจำลองการเลือกรูปแบบ การเดินทางสำหรับนักเรียนระหว่างรถยนต์ส่วนบุคคลและรถรับส่ง นักเรียน. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 9 (1): 61-67.

ปิติ จันทรุไทย. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในการเลือกระบบการขนส่ง สาธารณะในเขตเมือง. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. 8 (2): 79-92.

ไพบูลย์ แย้มเผื่อน. (2548). เศรษฐศาสตร์วิศวกรรม. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชัน.

ภาวัต ไชยชาณวาทิก และถิรยุทธ ลิมานนท์. (2556). พฤติกรรมการเดินทาง ระยะไกลของผู้พักอาศัยในกรุงเทพมหานคร: การศึกษาการเลือกรูปแบบ
การเดินทาง. วิศวกรรมสารเกษมบัณฑิต. 3 (2): 57-72.

วีรพงษ์ ชมภูนุช. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจเปลี่ยนรูปแบบการเดินทางจาก รถยนต์ส่วนบุคคลเป็นรถขนส่งสาธารณะในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา วิศวกรรมโยธาจุฬาลงกรณ มหาวิทยาลัย.

สำนักงานขนส่งจังหวัดสุราษฎร์ธานี. (2558). สถิติการขนส่งและโลจิสติกส์. ค้นเมื่อ วันที่ 9 มกราคม 2560. จาก URL: http: //surat.nso.go.th/.

สุรเมศวร์ พิริยะวัฒน์. (2551). วิศวกรรมขนส่ง. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

เสริมศักดิ์ พงษ์เมษา และสิทธา เจนศิริศักดิ์. (2556). พฤติกรรมความเคยชินและ ทัศนคติยึดติดการใช้รถยนต์และรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลในจังหวัด เชียงใหม่. ค้นเมื่อ 9 มกราคม 2560 https: //www.researchgate.net.

เอกวัฒน์ พันธาสุ และมนสิชา เพชรานนท์. (2554). พฤติกรรมการเดินทางในเมือง หลักของภูมิภาค: กรณีศึกษา เมืองเชียงใหม่. สภาพแวดล้อมสรรค์สร้าง วินิจฉัย. 10 (1): 74-91.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-12-29