การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษา สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • ศักดิ์ศรี สืบสิงห์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

การคิดวิเคราะห์, การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด 2. เพื่อเปรียบเทียบผลการพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป ชั้นปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 40 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบทดสอบ คู่มือการจัดการเรียนรู้ และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t – test dependent test ผลการวิจัยพบว่า 1. การพัฒนานักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ด้านการคิดวิเคราะห์ พบว่า นักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป มีความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.98 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.54 2. ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไปคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด พบว่า นักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป ภายหลังการจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับการพัฒนาความสามารถการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยคะแนนเฉลี่ยหลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้

References

จิตราพร ลีละวัฒน์. (2556). การพัฒนาภารกิจปฏิบัติเพื่อเสริมสร้างความคิด วิเคราะห์ให้กับนักศึกษา ในรายวิชาจริยธรรมทางธุรกิจ (BUS 400). กรุงเทพมหานคร: คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

จุฑารัตน์ พันธุ. (2556). การพัฒนาการคิดวิเคราะห์โดยกระบวนการคิดวิเคราะห์ 5W1H สำหรับ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนดอนเมืองทหาร อากาศบำรุง ในรายวิชาโลจิสติกส์. สาขาธุรกิจและคอมพิวเตอร์ศึกษา: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ธิติยา พงศ์ศิริไพศาล และชัยวัฒน์ วารี. (2557). การเปรียบเทียบความสามารถ
ด้านการคิดวิเคราะห์กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่สอนด้วยเทคนิคการคิดแบบหมวก 6 ใบ กับการสอน แบบปกติ. ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2551). การพัฒนาการคิด. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

พัชรี ปิยภัณฑ์ และปรีชา ธนะวิบูลย์. (2558). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. วารสารวิจัยราชภัฏธนุบรี รับใช้สังคม. 3 (1):
44-61

พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และคณะ. (2547). การสอนคิดด้วยโครงงาน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-12-29