กระบวนการจิตตปัญญาศึกษาวิถีพุทธ เพื่อพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืน

ผู้แต่ง

  • ธนสิทธิ์ คณฑา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
  • ณัฏฐ์ชรัชช์ สาระหงษ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

คำสำคัญ:

กระบวนการจิตตปัญญาศึกษา, วิถีพุทธ, ชุมชน, การพัฒนาที่ยั่งยืน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษากระบวนการเรียนรู้ด้วยจิตตปัญญาศึกษาวิถีพุทธ ในชุมชนตำบลวังหิน อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี เพื่อสร้างองค์ความรู้ ความดี ความงาม ความจริง เกิดปัญญาและชีวิตสันติสุขที่ยั่งยืน และเพื่อเป็นชุมชนต้นแบบแก่ชุมชนทั่วประเทศ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed Method Research) ใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Method) และวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Method) กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ชุมชนตำบลวังหิน อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี โดยการสุ่มด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) การวิจัยเชิงปริมาณ ในระยะที่ 1 ประชากรจำนวน 362 ราย ระยะที่ 2 ประชากรผู้เข้าร่วมกิจกรรมอบรมตามกระบวนการจิตตปัญญาศึกษา จำนวน 150 ราย การเก็บข้อมูลและนำมาวิเคราะห์ในระยะที่ 1 ได้จำนวน 300 ชุด คิดเป็นร้อยละ 82.87 และในระยะที่ 2 ได้จำนวน 150 ชุด สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพเก็บรวบรวมข้อมูล จากผู้ให้ข้อมูลหลักคือ กลุ่มผู้เข้าอบรมจิตภาวนา พระภิกษุ และผู้นำชุมชน จำนวน 10 ราย รวบรวมข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม และการสังเกต การศึกษากระบวนการจิตตปัญญาวิถีพุทธผ่านกิจกรรมสุนทรียสนทนา พบว่า ในระดับครอบครัวและชุมชนโดยภาพรวม 1. ด้านความรู้ เรื่องศีล สมาธิ ปัญญา ไตรลักษณ์ เบญจขันธ์(ขันธ์ 5) โลกธรรม 8 อริยสัจ 4 มีความรู้ความเข้าใจน้อย ถึงน้อยมาก 2. ด้านเชิงปฏิบัติการกิจกรรมอบรมจิตภาวนาสมาธิเพื่อผ่อนคลายรักษาสุขภาพกายและจิตโดยองค์รวม เกษตรวิถีพุทธ และจิตอาสาเพื่อสังคมโดยภาพรรวมเห็นด้วยกับการอบรมจิตภาวนาสมาธิเพื่อผ่อนคลายรักษาสุขภาพกายและจิตโดยองค์รวม การรักษาศีล 5 ให้บริสุทธิ์ การให้ทานตามศรัทธา (ความเหมาะสม) การไหว้พระ สวดมนต์เป็นประจำ การฝึกสมาธิเพื่อผ่อนคลายรักษาสุขภาพกายและจิตโดยองค์รวมเป็นประจำทุกวัน การงดเว้นอบายมุขทั้งปวงการดำเนินชีวิตตามหลักทางสายกลาง สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นถูกต้อง) สัมมาสังกัปปะ (ความคิดถูกต้อง) สัมมาวาจา (เจรจาถูกต้อง) สัมมากัมมันตะ (ประพฤติถูกต้อง) สัมมาอาชีวะ (ประกอบอาชีพที่ถูกต้อง) สัมมาวายามะ (เพียรถูกต้อง) สัมมาสติ (ระลึกถูกต้อง) สัมมาสมาธิ (ตั้งมั่นใน ความดี) 3. การสัมภาษณ์ พบว่าการฝึกอบรมจิตตศึกษาวิถีพุทธ เป็นการเข้าถึงจิตใจ หรือจิตวิญญาณของความเป็นมนุษย์หรือคนการพัฒนาจิตใจ มีการเสียสละ มีจิตเมตตาและจะต้องมีการปฏิบัติอย่างต่อเนื่องจะได้ผลดีที่สุด เป็นการสร้างองค์ความรู้ ความดี ความงาม ความจริงเกิดปัญญาและชีวิตสันติสุขที่ยั่งยืน

References

ธีรภาพ โฮมแพน. (ม.ป.ป.). วีถีพุทธ. ค้นเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2557, จาก
http: //www.gotoknow.org/posts/43013.

นันทา นันทนีย์. (2554). การมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีต่อการอนุรักษ์ป่าชุมชนใน เขตพื้นที่ป่าชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี. วารสารวิจัยราชภัฏธนบุรี
รับใช้สังคม. 18 (1): 16.

นิยตา สวัสดิพงษ์. (2552). การจัดการสิ่งแวดล้อมและศิลปวัฒนธรรม โดยเน้นการ
มีส่วนร่วมของชุมชน: ชุมชนคลองจวน เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยราชภัฏธนบุรี รับใช้สังคม. 16 (1): 154.

บัญชา ตั้งวงษ์ไชย. ( 2541). เกษตรเพื่อชีวิต. คันเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2557, จาก http: //foundations.plarnkhoi.com/life-center2/

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: สุริวิยาสาส์น.

ประเวศ วะสี. (2554). ระบบการศึกษาที่แก้ความทุกข์ยากของคนทั้งแผ่นดิน.
พิมพ์ครั้งที่ 2. นครปฐม: ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล.

พระใบฎีกา สุพจต์ ตปสีโล. (ม.ป.ป.). ชุมชนวิถีพุทธ. ค้นเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2557, จาก http: //www.gotoknow.org/blogs/posts/439633.

พระมหาสีไพร อาภาธโร. (ม.ป.ป.). สมาธิเพื่อการผ่อนคลายรักษาสุขภาพกายและจิต โดยองค์รวม. ค้นเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2557, จาก http: //sripai.com.

ยุวัฒน์ วุฒิเมธี. (2525). การพัฒนาชนบท: เอกสารประกอบการบรรยายวิชาการ พัฒนาชุมชน. กรุงเทพมหานคร: คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (อัดสำเนา).

วีรชัย คำธร. (2555). ปัจจัยเชิงบูรณาการตามประสบการณ์และลักษณะทางจิตที่มี อิทธิพลต่อ จิตสาธารณะของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. วารสารวิจัย ราชภัฏธนบุรี รับใช้สังคม. 18 (1): 59.

สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2540). ทฤษฎีและกลยุทธ์การพัฒนาสังคม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สิริริตน์ นาคิน. (2542). จิตตปัญญาศึกษา. ค้นเมื่อวันที่ 3 มกราคม 2557, จาก http: //www.hdmschool.ac.th/school/download.php?doc.

เสฐียรพงษ์ วรรณปก. (2531). พุทธวจนะในธรรมบท. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์
ปรินท์ติ้ง.

อคิน รพีพัฒน์ และคณะ. (2546). คู่มือการวิจัยเชิงคุณภาพเพื่องานพัฒนา. พิมพ์ครั้งที่ 4. ขอนแก่น: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-12-29