พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส

ผู้แต่ง

  • ปริฉัตร ปักษี วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุขกาญจนาภิเษก กระทรวงสาธารณสุข
  • อาซูวา อุมา วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุขกาญจนาภิเษก กระทรวงสาธารณสุข
  • วรัญญา อรุโณทยานันท์ วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุขกาญจนาภิเษก กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

พฤติกรรม, สุขภาพ, ผู้สูงอายุ, ตำราสุขภาพ

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพตามหลัก 8 อ.ของผู้สูงอายุ อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาสและเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพตามหลัก 8 อ.ของผู้สูงอายุอำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาสกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ผู้สูงอายุในอำเภอ สุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส จำนวน 366 คน ผู้วิจัยเลือกกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับจำนวน 41 ข้อมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .90 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าร้อยละค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนและค่าสถิติทดสอบไคสแควร์ (Chi-square test) ผลการศึกษาพบว่าผู้สูงอายุ อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส มีพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพตามหลัก 8 อ. โดยด้าน อ.ที่ 2 อาหารด้าน อ.ที่ 3 อากาศ ด้านอ.ที่ 4 อาโรคยา ด้าน อ.ที่ 5 อาจิณ ด้าน อ.ที่ 6 อุเบกขาด้าน อ.ที่ 7 อุดมปัญญาและด้าน อ.ที่ 8 อาชีพ อยู่ในระดับมาก แต่ด้าน อ.ที่ 1 อิริยาบถอยู่ในระดับปานกลางผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และโรคประจำตัว มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพตามหลัก 8 อ.ของผู้สูงอายุ อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส โดยรวม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05โดยเพศชายผู้สูอายุที่มีอายุ 60-69 ปี มีสถานภาพสมรสจบการศึกษาชั้นประถมศึกษาและประกอบอาชีพค้าขาย มีพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพมากกว่ากลุ่มอื่น ๆส่วนตัวแปรศาสนา พบว่าไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพตามหลัก 8 อ.ของผู้สูงอายุ อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส

References

กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. (2554). คู่มือการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคด้วยการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. กรุงเทพมหานคร: สำนักกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์.

กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. (2553).หลัก 8 อ. เพื่อการเสริมสร้างสุขภาพที่ดี. ค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2558, จาก http: //www.manager.co.th/QOL[24/02/2559].

กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. (2558). การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ปวดเข่า ไหล่ติด นิ้วล็อก ด้วยการนวดไทยสำหรับประชาชน. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กฤษณา คำลอยฟ้า.(2554).พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน
ในคลินิกโรคเบาหวาน โรงพยาบาลแก้งสนามนาง อำเภอแก้งสนามนาง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา. 17(1): 5.

จารุวรรณ สุกใส และวิมลฤดี พงษ์หิรัญญ์. (2556). ปัญหาและความต้องการสวัสดิการของผู้สูงอายุที่รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุสํานักงานเขตดินแดง กรุงเทพมหานคร. วารสารเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการและงานวิจัย. 20(1): 46-56.

ชุรีพร แสงเพิ่ม. (2554). พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของเจ้าหน้าที่แพทย์แผนไทย ตาหลัก 8 อ. โรงพยาบาลพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี. ปริญญานิพนธ์ การแพทย์แผนไทยบัณฑิต การแพทย์แผนไทย โครงการร่วมมือระหว่างคณะ ทรัพยากรธรรมชาติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานและวิทยาลัย เทคโนโลยีทางการแพทย์ และสาธารณสุขกาญจนาภิเษก.

ธนาธร ดวงแก้ว และหิรัญ เดชอุดม. (2550). พฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ ตำบลโพรงมะเดื่อ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ปริญญานิพนธ์. มหาวิทยาลัย
ราชภัฎนครปฐม.

เนาวรัตน์ ช่างไม้. (2556). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุตำบลบางรักน้อย อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี. วารสารสุขภาพภาคประชาชน. 8(6): 8-10.

พัชรี เขียวสะอาด. (2550).ปัญหาและความต้องการด้านส่งเสริมสุขภาพและสังคม ของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองศรีราชา จังหวัดชลบุรี.ปัญหาพิเศษ
รัฐประศาสนศาตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารงานท้องถิ่น มหาวิทยาลัย บูรพา.

ภรณี ตังสุรัตน์ และวิมลฤดี พงษ์หิรัญญ์. (2556). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลตำบลบางเมือง อำเภอเมืองจังหวัดสมุทรปราการ.วารสารเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการและงานวิจัย. 20(1): 57-69.

ราชบัณฑิตยสถาน และกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก.(2550). พจนานุกรมศัพท์แพทย์และเภสัชกรรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถานกรุงเทพมหานคร: สำนักกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์.

วัชพลประสิทธิ์ ก้อนแก้ว. (2557).พฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุที่อยู่อาศัยในเขตเทศบาลตำบลคลองตำหรุ อำเภอเมืองชลบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.

วิไล ตั้งจิตสมคิด. (2556). รูปแบบการบริการสาธารณสุขและการประกันสุขภาพของ ผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร. วารสารเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการและ งานวิจัย.20(1): 63-72.

สถาบันการแพทย์แผนไทย. (2554). การแพทย์แผนไทยแบบองค์รวม. กรุงเทพมหานคร: สถาบันการแพทย์แผนไทย.

สมยศ ศรีจารนัย. (2544). โรคเบาหวานในเชิงทฤษฎีการแพทย์แผนไทย. (งานวิจัย).กาฬสินธุ์: โรงพยาบาลเขาวง.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนราธิวาส. (2558). รายงานประจำปี. นราธิวาส: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนราธิวาส.

สำนักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ. (2556). ชุดความรู้การดูแลตนเองและพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ. กรุงเทพมหานคร: สำนักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ.

สุชาติ โสมประยูร. (2543). สุขศึกษาภาคปฏิบัติ.กรุงเทพมหานคร: สุขภาพใจ.

อทิตยา ใจเตี้ย.(2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิตของผู้สูงอายุในเขตเมือง. วารสารสวนปรุง. 31(1): 8.

อรชร โวทวี. (2551). ปัจจัยที่ส่งผลพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุในอำเภอบ้านแพ จังหวัดราชบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี. 20(1):
25-26.

อิดเรสอาบู. (2549). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุชาวไทยมุสลิมในตำบลกะมิยอ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี.ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

Yamane, Taro. (1973). Statistics: AnIntroductory Analysis. 3rded.
New York: Harper&Row, Publishers.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-06-30