ผลของการชมภาพยนตร์สั้นไทยที่มีต่อความใส่ใจของวัยรุ่นตอนปลาย: การศึกษาคลื่นไฟฟ้าสมอง

ผู้แต่ง

  • ณัฐพร พวงเกตุ วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา
  • สุชาดา กรเพชรปาณี วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

ความใส่ใจ, ภาพยนตร์สั้นไทยแนวสนุกสนาน, ภาพยนตร์สั้นไทยแนวรุนแรง, คลื่นไฟฟ้าสมอง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการชมภาพยนตร์สั้นไทยแนวสนุกสนาน และภาพยนตร์สั้นไทยแนวรุนแรงที่มีต่อความใส่ใจในวัยรุ่น โดยการเปรียบเทียบความกว้างและความสูงของคลื่นไฟฟ้าสมอง P100 ระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม ขณะทำแบบทดสอบความใส่ใจด้วยคอมพิวเตอร์ กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานบริษัท มีอายุระหว่าง 17-19 ปี จำนวน 60 คน สุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละเท่า ๆ กัน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ ภาพยนตร์สั้นไทยแนวสนุกสนาน ภาพยนตร์สั้นไทยแนวรุนแรง แบบทดสอบความใส่ใจด้วยคอมพิวเตอร์ และเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าสมอง Neuroscan วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที ผลการวิจัย ปรากฏว่า ความใส่ใจกลุ่มชมภาพยนตร์สั้นไทยแนวสนุกสนานและแนวรุนแรงมีความกว้างของคลื่นไฟฟ้าสมอง P100 น้อยกว่าก่อนชมภาพยนตร์ ที่ตำแหน่ง FP1 FP2 AF3 AF4 F7 F5 F2 T7 T8 CP1 P1 O1 และมีความสูงของคลื่นไฟฟ้าสมอง P100 มากกว่าก่อนชมภาพยนตร์ ที่ตำแหน่ง F3 F4 T7 CP3 P3 POz อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และระหว่างกลุ่มหลังการชมภาพยนตร์สั้นไทยแนวสนุกสนาน มีความกว้างของคลื่นไฟฟ้าสมอง P100 น้อยกว่าหลังการชมภาพยนตร์สั้นไทยแนวรุนแรง ที่ตำแหน่ง FP1 FP2 AF3 F7 F5 C3 C1 CP5 CP1 P1 O1 และมีความสูง ของคลื่นไฟฟ้าสมอง P100 มากกว่าหลังการชมภาพยนตร์สั้นไทยแนวรุนแรง ที่ตำแหน่ง F3 F4 CP5 CP3 POz อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปได้ว่า ความใส่ใจของพนักงานบริษัทหลังจากการชมภาพยนตร์สั้นไทยแนวสนุกสนาน สามารถเพิ่มขึ้นได้มากกว่าหลังการชมภาพยนตร์สั้นไทยแนวรุนแรง

References

ธงไชย จินาพันธ์, ดุสิต โพธิ์พันธุ์, ธวัชชัย ศรีพรงาม และณัฐพร พวงเกตุ. (2558). เทคนิคการวิเคราะห์และการสกัดลักษณะเด่นสัญญาณคลื่นไฟฟ้าสมองใน ย่านความถี่ Mu และ Beta Rhythm ด้วยโปรแกรม BCI 2000. วารสาร วิจัยราชภัฎธนบุรี รับใช้สังคม. 2(2): 63-71.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2554). การสำรวจการมีและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ในครัวเรือน, ค้นเมื่อ 6 มีนาคม 2557, จาก http: //service.nso.go.th/nso/ nsopublish/citizen/news/news_internet_teen.jsp

หยาดอรุณ ชาติสมบูรณ์, เอมอร สิทธิรักษ์ และจิต นวนแก้ว. (2556). การเปรียบเทียบ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ทาง คณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการการ เรียนรู้ แบบวัฎจักรการเรียนรู้ (4 MAT) กับการจัดการเรียนรู้ตามปกติ. วารสาร เผยแพร่ ความรู้ทางวิชาการและงานวิจัย. 20(1): 15-27.

อัศวพร แสงอรุณเลิศ (2551). สมอง เรียน รู้. กรุงเทพมหานคร: สถาบันส่งเสริม อัจฉริยภาพและนวัตกรรมการเรียนรู้.

Bahrick, L.E. (2010). Intermodal perception and selective attention to intersensory Redundancy: Implications for typical social development and autism. Blackwell handbook of infant development. 100: 120-166.

Cavanagh, P., & Alvarez, G. A. (2005). Tracking multiple targets with multifocal attention. Trends Cogn Sci. 9(7): 349-354.

Fernandez-Duque, D., & Posner, M. I. (2001). Brain imaging of attentional networks in normal and pathological states. J Clin Exp Neuropsychol. 23(1): 74-93.

Frith, C. (2001). A framework for studying the neural basis of attention. Neuropsychologia. 39(12): 1367-1371.

Handy, C. T., (2005). Event-Related Potentials: A Methods Handbook. Hillyard. Psychophysiology. 46(4): 678-699.

Holmes, E. A., & Mathews, A. (2005). Mental imagery and emotion: A special relationship? Emotion. 5(4): 489-497.

Jerath, R., Edry, J. W., Barnes, V. A., & Jerath, V. (2006). Physiology of long pranayamic breathing: neural respiratory elements may provide a mechanism that explains how slow deep breathing shifts the autonomic nervous system. Med Hypotheses. 67(3): 566-571.

Luck, S. J., & Gold, J. M. (2008). The construct of attention in schizophrenia. Biol Psychiatry. 64(1): 34-39.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-06-30