การเพิ่มความจำระยะสั้นของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โดยการใช้โปรแกรมบริหารสมองแบบนิวโรบิคส์ เอ็กเซอร์ไซส์

ผู้แต่ง

  • ศุพาภรณ์ป วงคำชัย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองมะละกอ
  • กนก พานทอง วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

ความจำระยะสั้น, ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2, โปรแกรมบริหารสมองนิวโรบิคส์, เอ็กเซอร์ไซส์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการใช้โปรแกรมบริหารสมอง แบบนิวโรบิคส์ เอ็กเซอร์ไซส์ ในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างระดับน้ำตาล สะสมในเลือด (HbA1c) กับวิธีการเพิ่มความจำระยะสั้น กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 แบ่งกลุ่มตัวอย่างที่มีผล (HbA1c) แตกต่างกัน 3 ระดับ โดยแต่ละระดับ สุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละเท่า ๆ กัน โดยกลุ่มทดลอง เป็นกลุ่มที่ใช้โปรแกรมบริหารสมองแบบนิวโรบิคส์ เอ็กเซอร์ไซส์ เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบความสามารถทางเชาว์ปัญญาผู้ใหญ่ ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 3 (WAIS III) ด้านช่วงตัวเลขและด้านสัญลักษณ์ตัวเลข วิเคราะห์ข้อมูล โดยสถิติทดสอบที และสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทาง ผลการวิจัย พบว่า 1. กลุ่มทดลองหลังการใช้โปรแกรม มีคะแนนความจำระยะสั้นด้าน ช่วงตัวเลข และด้านสัญลักษณ์ตัวเลข สูงกว่าก่อนการใช้โปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 2. ก่อนการใช้โปรแกรม พบว่า ทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีคะแนนความจำระยะสั้นด้านช่วงตัวเลข และด้านสัญลักษณ์ตัวเลขไม่แตกต่างกัน แต่ปรากฏว่าผู้ป่วยโรคเบาหวานกลุ่มที่มี HbA1c 7.0-7.9% มีคะแนนความจำระยะสั้นด้านสัญลักษณ์ตัวเลขแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ขณะที่กลุ่ม ที่มี HbA1c≥8% มีคะแนนความจำระยะสั้นด้านช่วงตัวเลขและด้านสัญลักษณ์ตัวเลขแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. หลังการใช้โปรแกรม พบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนความจำระยะสั้นด้านช่วงตัวเลข และด้านสัญลักษณ์ตัวเลขสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 แต่ปรากฏว่าผู้ป่วยโรคเบาหวาน กลุ่มที่มี HbA1c≥8% มีคะแนนด้านสัญลักษณ์ตัวเลขไม่แตกต่างกัน 4. มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างระดับน้ำตาลสะสมในเลือดกับการเพิ่มคะแนนความจำระยะสั้นของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

จิราพร เดชมา, วนิดา ดุรงค์ฤทธิชัย และวิชุดา กิจธรธรรม. (2556). การศึกษาปัจจัย ทำนายภาวะแทรกซ้อนให้ผู้เป็นเบาหวานในชุมชนภายใต้ทฤษฎีการ พยาบาลของคิง. วารสารการพยาบาลสาธารณสุข. 27 (2): 65-80.

นุชรี อาบสุวรรณ และนิตยา พันธุเวทย์. (2557). ประเด็นสารรณรงค์วันเบาหวานโลก ปี 2557. (ปีงบประมาณ 2558). ค้นเมื่อ 9 พฤษภาคม 2559, จาก
www.thaincd.com/document/hot%20news/

ภรณี ตังสุรัตน์ และวิมลฤดี พงษ์หิรัญญ์. (2556). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของ ผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลบางเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการและงานวิจัยปีที่ 20. 20 (1): 57-69.

ลอเรนซ์ ซี แคทซ์ และแมนนิง รูบิน. (2550). สมองฟิตความคิดปิ๊ง. แปลจาก keep your brain alive โดย อารี ชัยเสถียร. กรุงเทพมหานคร: เอส. พี.มิลเลี่ยนแนร์.

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. (2557). แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรค
เบาหวาน. ค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2557, จาก http://www.diabassocthai .org /news_and_knowledge/59

สายพิณ ธรรมบำรุง และลัดดา เสนาวงษ์. (2549). การวิจัยและพัฒนารูปแบบการ จัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม และฉลาดรู้ในชุดวิชาการศึกษา: EDUC 105 การพัฒนาความเป็นครูอาชีพ. วารสารเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการและ งานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.15 (1): 28.

สุขพัชรา ซิ้มเจริญ. (2556). บริหารสมองชะลอความเสื่อม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ดี.

Antonio, H. L., Steven, W. K., & Jonathan, D. W. (2009). Encoding of gustatory working Memory by orbitofrontal neurons. Journal Neurosci. 29 (3): 744-765.

Dias, A., Dewey, M. E., Souza, D. J., Dhume, R., Motghare, D., & Shaji, D. (2008).The effectiveness of a home care program for supporting caregivers of persons with dementia in developing countries: A randomized controlled trial from Gao, India. The Public Library of Science ONE. 3 (6): 1-7.
Eamon et al. (2011). Effectiveness of a structured education reminiscence -based programme for staff on the quality of life of residents with dementia in long-stay units: A study protocol for a cluster randomized trial. BioMed. 12 (18): 86-94.

Lu, F. P., Lin, K. P., & Kuo, H. K. (2009). Diabetes and the risk of multi-systemaging phenotypes: A systematic review and meta-analysis. PLoS One. 4 (1): e4144.

Marseglia et al. (2014). Cognitive functioning among patients with Diabetic foot. Journal of Diabetes and its Complications. 28 (6): 863-868.

Ritchie, K., Carrie, I., Ritchie, C. W., Berr, C., Artero, S., & Ancelin, M. L. (2011). Designing prevention programmes to reduce incidence of dementia: Prospective cohort study of modifiable risk factors. BMJ 2010. 3 (4): 13-18.

Strachan, M. W., Reynolds, R. M., Marioni, R. E., & Price, J. F. (2011). Cognitive function, dementia and type 2 diabetes mellitus in the elderly. Nat. Rev. Endocrinol. 7 (2): 108-114.

Takeda, M., Martinez, R., Kudo, T., Tanaka, T., Okochi, M., Tagami,
S... Cacabelos, R. (2010). Apolipoprotein E and central nervous system disorders: reviews of clinical findings. Psychiatry Clin Neurosc. 64 (6): 592-607.

Van Den Berg, E., Reijmer, Y. D., De, B. J., Kessels, R. P., Kappelle, L. J., & Biessels, G. J. (2010). A 4 year follow-up study of cognitive functioning in patients with type 2 diabetes mellitus. Diabetologia. 53(1): 58-65.

Wong, R. H. X., Scholey, A., & Howe, P. R. C. (2014). Assessing Premorbid Cognitive Ability in Adults with Type 2 Diabetes Mellitus - a Review with Implications for Future Intervention Studies. Current Diabetes Reports. 14 (11): 1-12.

Yuxia, G. et al. (2015). The characteristic of cognitive function in Type 2 diabetes mellitus. Diabetes Research and Clinical Practice. 109 (2): 299-305.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-06-30