คุณสมบัติบัญชีบัณฑิตที่นายจ้างต้องการ: ตามทรรศนะของผู้ประกอบการสำนักงานบัญชีระดับประเทศ
คำสำคัญ:
การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน, คุณสมบัติบัญชีบัณฑิตที่นายจ้างต้องการ, สำนักงานบัญชีระดับประเทศบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบคุณสมบัติบัญชีบัณฑิตที่นายจ้างต้องการ:ตามทรรศนะของผู้ประกอบการสำนักงานบัญชีระดับประเทศ และตรวจสอบความกลมกลืนของโมเดลคุณสมบัติบัญชีบัณฑิตที่นายจ้างต้องการกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ประชากรเป็นผู้ประกอบการสำนักงานบัญชีระดับประเทศที่จดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าจำนวน 1,552 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามคุณสมบัติบัญชีบัณฑิตที่นายจ้างต้องการ การวิเคราะห์ข้อมูลแบ่งออกเป็น 1) การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ โดยการสกัดองค์ประกอบด้วยวิธีวิเคราะห์ตัวประกอบหลัก หมุนแกนองค์ประกอบด้วยวิธีแวร์ริแมกซ์ และ 2) การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสอง เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลคุณสมบัติบัญชีบัณฑิตที่นายจ้างต้องการกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบคุณสมบัติบัญชีบัณฑิตที่นายจ้างต้องการ ประกอบด้วย 4 ด้าน เรียงลำดับตามค่าน้ำหนักองค์ประกอบ คือ 1) ด้านคุณค่า จริยธรรม และทัศนคติทางวิชาชีพ 2) ด้านความรู้และความสามารถ 3) ด้านทักษะและความถนัด และ 4) ด้านบุคลิกภาพและคุณสมบัติเฉพาะ ส่วนการตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลพบว่า 2= 568.77, df = 286, P = .000, GFI = 0.83, AGFI = 0.73, CFI = 0.98, SRMR = 0.07 และ RMSEA = 0.07 แสดงว่า โมเดลคุณสมบัติบัญชีบัณฑิตที่นายจ้างต้องการ: ตามทรรศนะของผู้ประกอบการสำนักงานบัญชีระดับประเทศสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดี
References
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2543). พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543. ค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2558, จาก http://www.dbd.go.th/ewt_news.php?nid=1078
ประชาชาติธุรกิจ. (2555). เคล็ดไม่ลับ เปลี่ยน "เด็กจบใหม่" ให้พร้อมลุยงาน. ค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2558, จาก http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1342180715
เพ็ญธิดา พงษ์ธานี. (2551). คุณลักษณะของบัณฑิตสาขาการบัญชีที่องค์กรและผู้รับผิดชอบงานด้านบัญชี พึงประสงค์. ค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2558, จาก http://www.dpu.ac.th/laic/page.php?id=6204
สภาวิชาชีพบัญชี. (2547). พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547. ค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2558, จาก http://www.fap.or.th/539609017.html
อมรา ติรศรีวัฒน์. (2552). คุณสมบัติบัญชีบัณฑิตที่นายจ้างต้องการ: ตามทรรศนะของผู้ประกอบการบัญชีระดับ นานาชาติ. วารสารวิชาการสมาคมอุดมศึกษาเอกชนแห่งปรเทศไทย. 16 (1): 27-44.
Astin, A.W. (1993). What Matters in College? Four Critical Years Revisited. San Francisso:
Jossey-Bass.
Frederiekson J.R., & Pratt, J. (1995). A model of the accounting education process. Issues in Accounting Education. 10 (2): 229-246.
Hardin, J.R., & Stocks, M.H. (1995). The effect of AACSB accreditation on the recruitment of entry-level accountants. Issues in Accounting Education. 10 (1): 83-95.
International Federation of Accountants. (2008). IES 2 Content of Professional Accounting Education Programs. Retrieved August 20, 2015, from http://www.ifac.org/
International Federation of Accountants. (2008). IES 3 Professional Skills. Retrieved August 20, 2015, from http://www.ifac.org/
International Federation of Accountants. (2008). IES 4 Professional Values, Ethics and Attitudes. Retrieved August 20, 2015, from http://www.ifac.org/
Moncada, S.M., Sanders, J.C., & Czyzewski, A.B. (1997). Prescreening and follow-up interview selection criteria: a comparison of the perceptions of CPA firm recruiters, faculty, and students.Dallar: The Amrican Accounting Assouation. (Working papers presented at the American Accounting Association meeting in Dallas, TX, July, 1997).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีและบุคลากรท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว