การศึกษาและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติและผลกระทบที่เกิดจากสภาวะโลกร้อนโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน

ผู้แต่ง

  • วัฒนชัย ชูมาก มหาวิทยาัลยราชภัฏธนบุรี

คำสำคัญ:

แหล่งเรียนรู้, สภาวะโลกร้อน, การมีส่วนร่วมของชุมชน

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง การศึกษาและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติและผลกระทบที่เกิดจากสภาวะโลกร้อนโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน กรณีศึกษา หมู่ 9 บ้านขุนสมุทรจีน ตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและพัฒนาให้ชุมชนบ้านขุนสมุทรจีนเป็นแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียนสำหรับผู้ที่ให้ความสนใจเกี่ยวกับปัญหาน้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่งอันเนื่องมาจากสถานการณ์สภาวะโลกร้อน โดยมีกระบวนการในการพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ ได้แก่ การสำรวจพื้นที่ การอบรมเชิงปฏิบัติการ การศึกษานอกสถานที่ การถ่ายทอดองค์ความรู้ การทดลองปฏิบัติและการประเมินผล ผลการศึกษาพบว่า บ้านขุนสมุทรจีนมีความเหมาะสมต่อการพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ทางด้านทรัพยากรธรรมชาติและแหล่งเรียนรู้ทางด้านผลกระทบจากสถานการณ์สภาวะโลกร้อน โดยได้กำหนดบริเวณที่สามารถใช้เป็นสื่อในการเรียนรู้ได้แก่ วัดขุนสมุทราวาส โรงเรียนบ้านขุนสมุทร สถานีอนามัย แนวเขื่อนหิน แนวเขื่อนไม้ไผ่ เขื่อนสลายกำลังคลื่น และทรัพยากรป่าชายเลนในพื้นที่ โดยสื่อที่ใช้ในการเรียนรู้คือ สภาพพื้นที่จริง เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ และการบูรณาการเข้ากับรายวิชาสังคมศึกษาของหลักสูตรชั้นประถมโรงเรียนบ้านขุนสมุทรจีน ทั้งนี้เพื่อให้บ้านขุนสมุทรจีนเป็นแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียนที่แท้จริงของประชาชนและนักเรียนในชุมชน นอกจากนี้ยังสามารถสร้างความรู้และความเข้าใจให้กับนักท่องเที่ยวที่ได้เดินทางมาเยี่ยมชมในพื้นที่เป็นการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและตระหนักถึงความรุนแรงของสภาวะโลกร้อนที่มีผลกระทบต่อประเทศไทย

References

กรมอุตุนิยมวิทยา. (2553). ภาวะโลกร้อนคืออะไร อะไรคือสาเหตุของภาวะโลกร้อน. ค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2554, จาก http://greenworld.igetweb.com/index.php?mo=3&art=90

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2549). การสำรวจเบื้องต้นของระบบนิเวศชายฝั่งทะเลและระบบนิเวศป่าชายเลนบริเวณบ้านขุนสมุทรจีน ตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอพระสมุทรเจดีย์. เอกสารสรุปงานวิจัย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล. (2553). ข่าวสาระน่ารู้. ค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2554,จาก http://www.trf.or.th/News /Content.asp?Art_ID=811.

ปาริฉัตร วงษ์พานิช. (2546). การจัดทำเส้นทางศึกษาธรรมชาติเพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยการมีส่วน ร่วมของชุมชน : กรณีศึกษา ป่าชุมชนเขาหัวช้าง ตำบลตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

พรรณี แพ่งกุล และคณะ. (2550). วิจัยและพัฒนาการจัดพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนของชุมชนบ้านขุนสมุทรจีน ตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ. กรุงเทพฯ สถาบันวิจัยและพัฒนา. มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

ศูนย์ประสานงานและพัฒนางานวิจัยด้านโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ. (2554). รายงาน IPCC & TARC องค์ความรู้การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลกและไทย. กรุงเทพฯ: ศูนย์ประสานงานและพัฒนา งานวิจัยด้านโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศองค์การบริหารส่วนตำบลแหลมฟ้าผ่า. (2553). เอกสารภาพถ่ายทางอากาศ. (เอกสารอัดสำเนา) จังหวัด สมุทรปราการ: องค์การบริหารส่วนตำบลแหลมฟ้าผ่า

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-06-30