การใช้ประโยชน์น้ำเสียจากโรงงานแป้งมันสำปะหลังสำหรับปลูกหญ้าเนเปียร์ในพื้นที่ดินเค็ม
คำสำคัญ:
การใช้ประโยชน์น้ำเสียจากโรงงานแป้งมันสำปะหลัง, หญ้าเนเปียร์, พื้นที่ดินเค็มบทคัดย่อ
การศึกษาผลของการใช้ประโยชน์น้ำเสียจากโรงงานแป้งมันสำปะหลังสำหรับปลูกหญ้าเนเปียร์ในพื้นที่ดินเค็มและผลต่อคุณสมบัติทางเคมีของดิน ในการทดลองได้แบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ได้วางแผนการทดลองแบบ RCBD จำนวน 7 วิธีการทดลอง วิธีการละ 3 ซ้ำ ได้แก่ ใช้น้ำเสียก่อนผ่านการบำบัดจากบ่อปรับเสถียร ใช้น้ำเสียก่อนผ่านการบำบัดจากบ่อปรับเสถียรร่วมกับน้ำชลประทานในอัตราส่วน 1:1 และ 1:2 ใช้น้ำเสียหลังผ่านการบำบัดจากบ่อปรับเสถียร ใช้น้ำเสียหลังผ่านการบำบัดจากบ่อปรับเสถียรร่วมกับน้ำชลประทานในอัตราส่วน 1:1 และ 1:2 และไม่ใช้น้ำเสีย โดยใช้น้ำชลประทาน (ตัวควบคุม) พบว่าทุกๆ วิธีการส่งผลต่อการเจริญเติบโตของหญ้าในระยะเวลา 4 สัปดาห์ ทั้งในด้านจำนวนกอ จำนวนต้นต่อกอ จำนวนใบต่อต้น และความสูงของต้น ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p > 0.05) ในระยะที่ 2 ได้วางแผนการทดลองแบบ Paired T-test จำนวน 2 วิธีการทดลอง วิธีการละ 3 ซ้ำ ได้แก่ ใช้น้ำเสียก่อนผ่านการบำบัดจากบ่อปรับเสถียร และไม่ใช้น้ำเสีย โดยใช้น้ำชลประทาน (แปลงควบคุม) พบว่าทั้งสองวิธีการส่งผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของหญ้าในระยะเวลา 12 สัปดาห์ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p > 0.05) โดยผลผลิตของหญ้าเมื่ออายุ 3 เดือน จากแปลงที่ใช้น้ำเสียมีค่าเฉลี่ยน้ำหนักสดและน้ำหนักแห้ง ซึ่งเป็นน้ำหนักใบเท่ากับ 183.33 และ 54.04 กรัมต่อต้น และน้ำหนักลำต้นเท่ากับ 423.33 และ 81.54 กรัมต่อต้น ตามลำดับ ส่วนแปลงควบคุมมีค่าเฉลี่ยน้ำหนักสดและน้ำหนักแห้ง ซึ่งเป็นน้ำหนักใบเท่ากับ 150.00 และ 46.33 กรัมต่อต้น และน้ำหนักลำต้นเท่ากับ 336.67 และ 64.57 กรัมต่อต้น ตามลำดับ ในส่วนคุณสมบัติทางเคมีของดินก่อนและหลังการทดลอง ทั้งค่าความเป็นกรดด่าง (pH) ค่าการนำไฟฟ้า (EC) ค่าอินทรียวัตถุ (OM) ค่าไนโตรเจนทั้งหมด (TKN) และค่าฟอสฟอรัส (P) มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ยกเว้นค่าโพแทสเซียม (K) ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p > 0.05) ซึ่งหลังการปลูกพบว่าธาตุอาหารในดิน คือ TKN, P มีค่าลดลง และค่า EC ลดลง ส่งผลให้ระดับความเค็มของดินลดลง ยกเว้น ค่า pH มีค่าเพิ่มขึ้น แม้ว่าการใช้น้ำเสียจะส่งผลต่อการเจริญเติบโตของหญ้าเนเปียร์ทั้งในด้านจำนวนกอ จำนวนต้นต่อกอ จำนวนใบต่อต้น และความสูงของต้น รวมถึงผลผลิตของหญ้าทั้งในด้านน้ำหนักสดและน้ำหนักแห้ง ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p > 0.05) เมื่อเทียบกับการใช้น้ำชลประทาน แต่อย่างไรก็ตามก็สามารถให้การเจริญเติบโตและผลผลิตของหญ้าได้ ซึ่งเป็นการนำของเสียกลับมาใช้ประโยชน์ได้โดยตรงและยังเป็นการลดต้นทุนในการบำบัดน้ำเสีย รวมถึงเป็นการลดการใช้น้ำชลประทาน ซึ่งเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำอีกวิธีหนึ่ง
References
กรมควบคุมมลพิษ. สำนักจัดการคุณภาพน้ำ. (2554). หญ้าเนเปียร์ทางเลือกสำหรับน้ำเสียและพลังงาน.กรุงเทพฯ: สำนักจัดการคุณภาพน้ำ กรมควบคุมมลพิษ.
กรมพัฒนาที่ดิน. กองวิเคราะห์ดิน. (ม.ป.ป.). เอกสารคำแนะนำวิธีการเก็บตัวอย่างดินเพื่อการวิเคราะห์. กรุงเทพฯ: กองวิเคราะห์ดิน กรมพัฒนาที่ดิน.
กระทรวงอุตสาหกรรม. (2539). ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 2 ออกตามความในพระราชบัญญัติ โรงงาน พ.ศ. 2535 เรื่อง กำหนดคุณลักษณะของน้ำทิ้งที่ระบายออกจากโรงงาน พ.ศ.2539. ราชกิจจานุเบกษา. ฉบับ ประกาศ ทั่วไป. เล่ม 113 ตอนที่ 52 ง (27 มิถุนายน 2539) 1-3.
ไกรลาศ เขียวทอง. (ม.ป.ป.). คู่มือการปลูกหญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1. นครราชสีมา: ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหาร สัตว์ นครราชสีมา.
ปิยวรรณ คลังชำนาญ. (2552). การใช้วัสดุในท้องถิ่นเพื่อการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในพื้นที่ ตำบลบ้านวัง อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตรศึกษา มหาวิทยาลัย ราชภัฏนครราชสีมา.
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร. (ม.ป.ป.). ไนโตรเจนทั้งหมด. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2558, จาก http://agri.wu.ac.th/msomsak/Soil/Lab/Lab04.html
รังสรรค์ อิ่มเอิบ. (2547). การศึกษาวิเคราะห์แนวทางการจัดการดินเค็มในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
ลักขณา ศรีเจริญ. (2552). การเจริญเติบโตของคะน้าที่ปลูกโดยใช้ปุ๋ยหมักผักตบชวาผสมมูลสัตว์ในดินเค็ม. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุนทร บุญบำเรอ. (2552). การใช้ประโยชน์น้ำทิ้งที่ผ่านการบำบัดจากโรงงานอุตสาหกรรมผลิตแป้งมัน สำปะหลังเพื่อการปลูกข้าว. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
อรุณี ยูวะนิยม. (ม.ป.ป.). เอกสารวิชาการ การจัดการดินเค็มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. กรุงเทพฯ: กลุ่มวิจัย และ พัฒนาดินเค็ม กรมพัฒนาที่ดิน.
Ghulam, H., & Adnan, J.A. (1999). Wastewater quality and its reuse in agriculture in Saudi Arabia. Desalination. 123(2-3): 241-251.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีและบุคลากรท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว