การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และทักษะการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์

ผู้แต่ง

  • ศักดิ์ศรี สืบสิงห์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • เฉลิมพร สืบสิงห์ โรงเรียนบ้านท่าม่วง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

กิจกรรมการเรียนรู้, ปัญหาเป็นฐาน, ทักษะการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานให้มีประสิทธิภาพ (E1/E2) ตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 80 และ 3) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 80 กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านท่าม่วง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 17 คน จากวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน จำนวน 6 แผนการจัดการเรียนรู้ ซึ่งใช้เกณฑ์วัดความเหมาะสมแบบมาตราส่วน 5 ระดับ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.74 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.60-1.00 ค่าความยากง่ายเท่ากับ 0.36-0.62 ค่าอำนาจจำแนกเท่ากับ 0.28-0.62 และค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์เท่ากับ 0.81 และ3) แบบทดสอบวัดทักษะการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ จำนวน 20 ข้อ โดยใช้เกณฑ์วัดความเหมาะสมแบบมาตราส่วน 5 ระดับ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.82 วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติ t-test for one-sample ผลการวิจัยพบว่า

  1. ค่าประสิทธิภาพของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.48/84.44 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80
  2. ค่าคะแนนเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 และมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
  3. ค่าคะแนนเฉลี่ยของทักษะการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 และมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

เกรียงศักดิ์ พลอยแสง. (2553). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาภาษากับการสื่อสารที่จัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน. ร้อยเอ็ด : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
ฉันทรุจี พรมเกตุ. (2556). รายงานผลการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง ชีวิตและสิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 27 ร้อยเอ็ด. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ทิวาวรรณ จิตตะภาค. (2548). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการสื่อสารด้วยการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ทิศนา แขมมณี. (2555). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธิดารัตน์ กันยะมี และคณะ. (2558). การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง อาหารกับการดำรงชีวิตที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์
ครุศาสตร์มหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : ตถาตาพับลิเคชัน.
วรรณภา เหล่าไพศาลพงษ์. (2554). การศึกษาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและความสนใจในการเรียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่จัดการเรียนรู้แบบกระบวนการแก้ปัญหากับการจัดการเรียนรู้ตามคู่มือครู. ปริญญานิพนธ์ ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง. (2554). ทักษะแห่งอนาคตใหม่. การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2561
จาก : แหล่งที่มา http://openworlds.in.th/books/21st-century-skills.
ศิขรินทร์ธาร โคตรสิงห์ และคณะ. (2555). การพัฒนารูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานสำหรับพัฒนาทักษะกระบวนการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). กรอบทิศทางการพัฒนาการศึกษาในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554) ที่สอดคล้องกับแผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ.2545-2549). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
George Manthey. (2008). “Attaining 21st century skills in a complex world.” Leadership 38,2 (November 2008): 15. http:// Inventors about.com/od/lessonplans/a/crativity.htm [2008, June 16]. Information Systems, Bled, Slovenia, 27-29 June. 2001. Journal of Service Research 24. 2001.
Weir, John Joseph. (1974). “Problem Solving is Everybody’s Problem”, The Science Teacher. 4 (April 1974), 16-18.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-25