“การบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กร (Enterprise Risk Management : ERM)” เครื่องมือบริหารเชิงรุกปัจจัยความสำเร็จขององค์กร

ผู้แต่ง

  • นุกูล แดงภูมี คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

การบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กร, ความเสี่ยง, การควบคุมภายใน

บทคัดย่อ

ในโลกยุคปัจจุบันที่ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้องค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนต่างต้องมีการปรับตัว พัฒนากลยุทธ์องค์กรให้สอดรับกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ภายใต้สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วสิ่งหนึ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ คือ “ความเสี่ยง” จึงเป็นที่มาของบทความนี้ ที่มีความมุ่งหมายที่จะนำเสนอเทคนิควิธีการบริหารจัดการความเสี่ยงในชื่อ “การบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กร (Enterprise Risk Management : ERM)” โดยนำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับความเป็นมาและความหมาย กรอบแนวคิด พร้อมทั้งประโยชน์ของการบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กร บทวิเคราะห์พัฒนาการความแตกต่างเชิงทฤษฎีระหว่างการควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กร บทบาทหน้าที่ของบุคลากรทุกระดับในองค์กรและขั้นตอนการพัฒนาระบบพร้อมทั้งปัจจัยแห่งความสำเร็จในการพัฒนาระบบบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กร รวมทั้งบทวิเคราะห์ประเด็นที่มักมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กร ให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อเป็นหนึ่งในปัจจัยสร้างความสำเร็จให้แก่องค์กรต่อไป

References

ขนิษฐา ชัยรัตนาวรรณ. (2557). ความเสี่ยง: ปัจจัยสำคัญ ผู้ที่เกี่ยวข้อง และกระบวนการบริหารความเสี่ยง ในสถาบันอุดมศึกษาไทย. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal. 7 (2): หน้า 108-109.

ฐิตารี ฉ่องสวนอ้อย. (2559). การประเมินความเสี่ยงของผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์. การค้นคว้าอิสระ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2549). คู่มือปฏิบัติสำหรับผู้ตรวจสอบภายในและกรรมการตรวจสอบ เพื่อการกำกับดูแลกิจการที่ดี. ครั้งที่ 1. บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนพับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน)

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2549). กรอบการบริหารความเสี่ยงองค์กร. ค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2563, จาก https://www.set.or.th/about/overview/files/Risk_2015

อังศนา ศรีประเสริฐ. (2559). การบริหารความเสี่ยงกับงานตรวจสอบภายใน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัย หอการค้าไทย. 30 (1): หน้า 151-161

อัญชลี พิพัฒนเสริญ. (2559). การนำกรอบการบริหารความเสี่ยงไปใช้ในองค์กร. วารสารวิชาชีพบัญชี. 12 (33) : หน้า 123-133.

อุษณา ภัทรมนตรี. (2550). การตรวจสอบภายในสมัยใหม่ แนวคิดและกรณีศึกษา. ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: ทิกซ์แอนด์เจอร์นัลพับลิเคชั่น.

Kseniya (Kate) Strachnyi. (2012). Risk Management Quotes. ค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2563 จาก http://riskarticles.com/wp-content/uploads/2013/12/Risk-Management-Quotes-eBook.pdf

PricewaterhouseCoopers. (2004). แนวทางการบริหารความเสี่ยง ฉบับปรับปรุง-ตุลาคม 2547. ค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2563 จาก https://www.setsustainability.com/download/zx1t6qbafkg7h28

The Institute of Internal Auditors. (2017). มาตรฐานสากลสำหรับการปฏิบัติงานวิชาชีพการตรวจสอบภายใน (มาตรฐาน). ค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2563 จาก https://na.theiia.org/standards-guidance/mandatory-guidance/Pages/Standards.aspxanslations/PublicDocuments/IPPF-Standards-2017-Thai.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-29