ตัวบ่งชี้ทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารอย่างชาญฉลาด ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ผู้แต่ง

  • ธนกฤต ลอยโพยม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
  • วีรพจน์ เพ็ชรจรูญ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
  • เอกวัตร รัตนพันธ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
  • เอกวัตร รัตนพันธ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
  • ณัฐพงศ์ ตุกังหัน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
  • สรายุทธ ลักษณวิทูล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
  • สุวิทย์ สวัสดิ์รักษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
  • ธวัชชัย ศรีพรงาม วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
  • สุปราณี สุปราณี ชอบแต่ง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

คำสำคัญ:

ตัวบ่งชี้ทางจิตสังคม, พฤติกรรมการบริโภคอาหาร, ชาญฉลาด

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)วิเคราะห์โครงการ/กิจกรรมนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี ที่ดำเนินการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2)วิเคราะห์การเรียนรู้ของนักศึกษาที่เกิดจากการทำกิจกรรม และ3)นำเสนอแนวทางการพัฒนานักศึกษาให้มีคุณลักษณะตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ผู้ให้ข้อมูลหลักเป็นนักศึกษาและอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี จำนวน 40 คน ได้แก่ นักศึกษาจำนวน 28 คน และอาจารย์จำนวน 12 คน การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 5 ฉบับ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์นักศึกษา แบบสัมภาษณ์อาจารย์ แนวคำถามที่ใช้ในการสนทนากลุ่ม แบบบันทึกข้อมูล และแบบบันทึกการสังเกต การวิเคราะห์ข้อมูลทำโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1)โครงการ/กิจกรรมนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีที่ดำเนินการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 9 โครงการ ได้แก่ (1)โครงการวันไหว้ครู (2)โครงการเฟรชชี่บอยแอนด์เกิร์ล มารยาทงามสืบสานวัฒนธรรมไทย (3)โครงการเปิดโลกกิจกรรม (4)โครงการกีฬามหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี“พิกุลเกมส์”ครั้งที่ 9 (5)โครงการปฐมนิเทศการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพสำหรับนักศึกษาใหม่ (6)โครงการราชภัฏธนบุรีวิชาการ (7)โครงการแห่เทียนพรรษา (8)โครงการจัดทำซุ้มแสดงความยินดีบัณฑิต และ(9)โครงการสานสัมพันธ์พี่น้อง 2)การเรียนรู้ของนักศึกษาที่เกิดจากการทำกิจกรรมเกิดขึ้นโดยการถ่ายทอดความรู้ การลงมือกระทำกิจกรรมในสถานการณ์จริง การค้นคว้าหาความรู้ การแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ และการลองผิดลองถูก มีลักษณะการเรียนรู้ทั้งเป็นรายบุคคลและเป็นรายกลุ่ม 3)แนวทางการพัฒนานักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีให้มีคุณลักษณะตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กำหนดเป็นนโยบายที่มุ่งเน้นการพัฒนานักศึกษาแบบองค์รวม และมีระบบการบริหารจัดการที่เชื่อมโยงระหว่างวิชาการและกิจกรรมนักศึกษา และให้นำระบบประกันคุณภาพมาเชื่อมโยงกับการพัฒนาคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ โดยการพัฒนาความรู้และคุณธรรมให้เกิดขึ้นในตัวนักศึกษาผ่านโครงการ/กิจกรรมต่างๆ ซึ่งในกระบวนการทำโครงการ/กิจกรรมจะทำเกิดคุณลักษณะ 3 ประการ คือ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันที่ดี ซึ่งต้องอาศัยความรู้และต้องอยู่บนพื้นฐานของคุณธรรม

References

ดวงเดือน พันธุมนาวิน. (2543). ทฤษฎีต้นไม้จริยธรรม: การวิจัยและการพัฒนาบุคคล. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธวัชชัย ศรีพรงาม. (2547). ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการทำงานอย่างปลอดภัยของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอและปั่นด้าย. ภาคนิพนธ์คณะพัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒน บริหารศาสตร์.

นิติพล ไล่สาม, ปดมพร จันทร์เทพ, พรหมมาศ พรหมพฤกษ์, ภัชราภรณ์ ขุนราม, วรวีร์ แหละปานแก้ว และ ธวัชชัย ศรีพรงาม. (2563). ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการใช้ชีวิตอย่างพอเพียงของชาวสวนยางพาราพารา ตำบลทุ่งขมิ้น อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา. วารสารวิจัยราชภัฏธนบุรีรับใช้สังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. 6 (1), หน้า 90-102.

พุทธชาด สวนจันทร์. (2550). ความรู้ทางโภชนาการการบริโภคอาหารและภาวะโภชนาการของครูโรงเรียนเอกชน. วิทยานิพนธมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ไพจิตร์ วราชิต. (2553, 19 มิถุนายน). ผลการสำรวจสุขภาพเผยคนอ้วนมากขึ้น. โพสต์ทูเดย์, หน้า 6.

ไพรินทร์ ขัดธิพงษ์. (2553). ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวกับความฉลาดทางการเมืองของนิสิตนักศึกษาปริญญาตรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

วงศ์สวาท โกศัลวัฒน์. (2545). การวิเคราะห์โอกาสและศักยภาพของการพัฒนาอาหารไทยสู่ตลาดโลก. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

วีรชัย คำธร. (2554). ปัจจัยเชิงบูรณาการตามประสบการณ์และลักษณะทางจิตที่มีอิทธิพลต่อ จิตสาธารณะของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. วารสารวิจัยราชภัฏธนบุรี รับใช้สังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. 18 (1), หน้า 57-66.

สร้อยทิพย์ ทองมา, ปิยะพร พรมสาย, ลักษ์สุดา ยี่สุ้นแสง, วรารัตน์ นวลประสงค์, ประภาค ม่วงอุ้ม, และ เกรียงศักดิ์ รัฐกุล. (2563). ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ของชาวบ้านตำบลคูหาใต้ จังหวัดสงขลา. วารสารวิจัยราชภัฏธนบุรีรับใช้สังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. 6 (1), หน้า 78-89.

สิริไพศาล ยิ้มประเสริฐ. (2560). พฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักศึกษา ระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา. วารสารราชพฤกษ์. 15 (1), หน้า 33-41.

สุมิตตรา เจิมพันธ์. (2545). จิตลักษณะและประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิตสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สุวรรณา เชียงขุนทด, ชนิดา มัททวางกูร, กุลธิดา จันทร์เจริญ, เนตร หงส์ไกรเลิศ, นารี รมย์นุกูล, ฐิติมา อุดมศรี และสมหญิง เหง้ามูล. (2555). ความรู้และพฤติกรรมการบริโภคอาหารของคนภาษีเจริญ. นนทบุรี: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

Kerlinger, F.N., & Lee, H.B. (2000). Foundations of Behavioral Research. (4th ed.). NY: Harcourt College Publishers.

Magnusson, D., & Endler, N.S. (1977). Personallity at the Crossroads: Current Issues in Interactionism Psychology. New jersey: LEA Publishers.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-29