แนวทางการพัฒนานักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี ให้มีคุณลักษณะตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ผู้แต่ง

  • สุนันทา แก้วสุข คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

คำสำคัญ:

แนวทางการพัฒนา, นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)วิเคราะห์โครงการ/กิจกรรมนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี ที่ดำเนินการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2)วิเคราะห์การเรียนรู้ของนักศึกษาที่เกิดจากการทำกิจกรรม และ3)นำเสนอแนวทางการพัฒนานักศึกษาให้มีคุณลักษณะตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ผู้ให้ข้อมูลหลักเป็นนักศึกษาและอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี จำนวน 40 คน ได้แก่ นักศึกษาจำนวน 28 คน และอาจารย์จำนวน 12 คน การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 5 ฉบับ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์นักศึกษา แบบสัมภาษณ์อาจารย์ แนวคำถามที่ใช้ในการสนทนากลุ่ม แบบบันทึกข้อมูล และแบบบันทึกการสังเกต การวิเคราะห์ข้อมูลทำโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1)โครงการ/กิจกรรมนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีที่ดำเนินการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 9 โครงการ ได้แก่ (1)โครงการวันไหว้ครู (2)โครงการเฟรชชี่บอยแอนด์เกิร์ล มารยาทงามสืบสานวัฒนธรรมไทย (3)โครงการเปิดโลกกิจกรรม (4)โครงการกีฬามหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี“พิกุลเกมส์”ครั้งที่ 9 (5)โครงการปฐมนิเทศการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพสำหรับนักศึกษาใหม่ (6)โครงการราชภัฏธนบุรีวิชาการ (7)โครงการแห่เทียนพรรษา (8)โครงการจัดทำซุ้มแสดงความยินดีบัณฑิต และ(9)โครงการสานสัมพันธ์พี่น้อง 2)การเรียนรู้ของนักศึกษาที่เกิดจากการทำกิจกรรมเกิดขึ้นโดยการถ่ายทอดความรู้ การลงมือกระทำกิจกรรมในสถานการณ์จริง การค้นคว้าหาความรู้ การแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ และการลองผิดลองถูก มีลักษณะการเรียนรู้ทั้งเป็นรายบุคคลและเป็นรายกลุ่ม 3)แนวทางการพัฒนานักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีให้มีคุณลักษณะตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กำหนดเป็นนโยบายที่มุ่งเน้นการพัฒนานักศึกษาแบบองค์รวม และมีระบบการบริหารจัดการที่เชื่อมโยงระหว่างวิชาการและกิจกรรมนักศึกษา และให้นำระบบประกันคุณภาพมาเชื่อมโยงกับการพัฒนาคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ โดยการพัฒนาความรู้และคุณธรรมให้เกิดขึ้นในตัวนักศึกษาผ่านโครงการ/กิจกรรมต่างๆ ซึ่งในกระบวนการทำโครงการ/กิจกรรมจะทำเกิดคุณลักษณะ 3 ประการ คือ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันที่ดี ซึ่งต้องอาศัยความรู้และต้องอยู่บนพื้นฐานของคุณธรรม

References

มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. (2556). แผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี พ.ศ. 2556-2560). ค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2556, จาก http://dit.dru.ac.th/home/003/map.php

จิรวัฒน์ วีรังกร. (2555). สร้างกิจกรรมพัฒนานักศึกษาอย่างไร ภายใต้กรอบ TQF. ค้นเมื่อ 24 เมษายน 2557, จาก https://www.studentaffairs.kmutnb.ac.th/data/TQF.ppt

ธิดารัตน์ บุญนุช. (2547). การพัฒนากิจกรรมนิสิตนักศึกษา. กรุงเทพมหานคร : สำนักมาตรฐานอุดมศึกษา ทบวงมหาวิทยาลัย.

พรธิดา วิเชียรปัญญา. (2547). การจัดการความรู้: พื้นฐานและการประยุกต์ใช้. กรุงเทพมหานคร : เอ็กซเปอร์เน็ท.

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. (2556). โครงการ/กิจกรรมตามหลักสูตร. ค้นเมื่อ 24 เมษายน 2557, จาก https://dorm.psu.ac.th/TS234/index.php?cou_display_all=1

สมศรี จินะวงษ์. (2544). การวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้กิจกรรมทางเศรษฐกิจและการกระจายรายได้ใน ชุมชนที่ใช้แนวทางการพัฒนาแบบเศรษฐกิจพอเพียง. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาพัฒนศึกษา ภาควิชาสารัตถศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักนายกรัฐมนตรี. (2555). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559). ค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2555, จาก https://www.nesdc.go.th/download/article/article_20160323112431.pdf

องอาจ นัยพัฒน์. (2551). วิธีวิทยาการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: สามลดา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-29