การประเมินปริมาณฝุ่นละอองรวมที่ผู้โดยสารรถไฟได้รับจากการเดินทาง กรณีศึกษา เส้นทางมหาชัย-วงเวียนใหญ่

ผู้แต่ง

  • กิติยา โต๊ะทอง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
  • เบญจมาภรณ์ สิงห์ปาน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

คำสำคัญ:

ฝุ่นละอองรวม, รถไฟ, ผู้โดยสาร, เส้นทางมหาชัย-วงเวียนใหญ่

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินปริมาณของฝุ่นละอองรวมที่ผู้โดยสารได้รับจากการเดินทางโดยรถไฟ เส้นทางมหาชัย-วงเวียนใหญ่ มีวิธีดำเนินการวิจัยคือ เก็บตัวอย่างฝุ่นละอองรวมด้วยเครื่องเก็บตัวอย่างอากาศเฉพาะบุคคลที่ติดไว้ประจำตัวผู้โดยสารรถไฟ ในวันจันทร์ถึงวันศุกร์ ช่วงเดือนตุลาคม 2561 วันละ 2 เที่ยวคือ เที่ยวไป (ช่วงเช้า) และเที่ยวกลับ (ช่วงเย็น) เป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์

ผลการวิจัยพบว่า ปริมาณฝุ่นละอองรวมที่ผู้โดยสารรถไฟเส้นทางมหาชัย-วงเวียนใหญ่ ได้รับในช่วง 2 สัปดาห์ของการตรวจวัด มีค่าอยู่ในช่วง 3.73 – 12.69 mg/m3 ซึ่งถือว่าไม่เกินค่ามาตรฐาน (15.00 mg/m3) ทั้งนี้ข้อมูลปริมาณฝุ่นละอองรวมที่ตรวจพบในงานวิจัยนี้เป็นข้อมูลเบื้องต้นที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการประเมินความเสี่ยงสุขภาพของผู้โดยสารรถไฟที่ใช้บริการในเส้นทางดังกล่าวเป็นประจำ เพื่อหลีกเลี่ยงและหาแนวทางในการป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น

References

กระทรวงมหาดไทย. (2562). ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับสภาวะแวดล้อม (สารเคมี) พ.ศ. 2562. ค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2562, จาก http://203.157.80.2/replyImages/20131218133746181.pdf.

กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2560). การประเมินและเก็บตัวอย่างมลพิษทางอากาศ. ค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2560, จาก http://envocc.ddc.moph.go.th/uploads/Menu/rayong/air.pdf

กุลธิดา ตระสินธุ์. (2547). มลพิษอากาศที่บุคคลได้รับจากการเดินทางและการจราจรในเขตเทศบาลนครราชสีมา. กรุงเทพมหานคร: ฐานข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

นิตยา ชาคำรุณ และลักษณีย์ บุญขาว. (2562). การประเมินปริมาณฝุ่นละอองของคนงานทำอิฐมอญแดงในตำบลหนองกินเพล อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 21(1), หน้า 68-75.

ปิยนุช ชัยพฤติตานนท์. (2556). การประเมินการได้รับสัมผัสฝุ่นละอองของบุคคลและนักศึกษาในวิทยาลัยการอาชีพพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ปิยะรัตน์ ปรีย์มาโนช. (2553). การศึกษามลพิษทางเสียงและฝุ่นละอองรวมในมหาวิทยาลัยรามคำแหง. วารสารวิจัยรามคำแหง (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี). 13(1), หน้า 27-37.

พลรัชต์ บุญมี, ศุภชัย หลักคำ และภูษิต โชติสวัสดิ์. (2559). การสำรวจอัตราความสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงจำเพาะเบรกและสารมลพิษของเครื่องยนต์หัวรถจักร. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก. 9(1), หน้า 48-60.

สุรพล นิ่มนวล และสมพล ทุ่งหว้า. (2555). พฤติกรรมและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการรถไฟสายมหาชัย-วงเวียนใหญ่. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง. ค้นเมื่อ 17 มิถุนายน 2562, จาก http://www.smsmba.ru.ac.th/index_files/aec/group12.

Rank, J., Folke, J., and Jespersen P.H. (2001). Cyclists and car driver’s exposure to air pollution from traffic in the city in Copenhagen. Science of total environment. 279(1-3), pp 131-136.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-29