แนวทางการพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นด้านอุตสาหกรรมสิ่งทอ และแฟชั่น

ผู้แต่ง

  • วิโรจน์ ยิ้มขลิบ คณะอุตสาหกรรมสิ่งทอและออกแบบแฟชั่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
  • จรัสพิมพ์ วังเย็น คณะอุตสาหกรรมสิ่งทอและออกแบบแฟชั่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
  • ไพรัตน์ ปุญญาเจริญนนท์ คณะอุตสาหกรรมสิ่งทอและออกแบบแฟชั่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
  • ทวีศักดิ์ สาสงเคราะห์ คณะอุตสาหกรรมสิ่งทอและออกแบบแฟชั่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
  • ฉันทนา ธนาพิธานนท์ คณะอุตสาหกรรมสิ่งทอและออกแบบแฟชั่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

คำสำคัญ:

การพัฒนาหลักสูตร, หลักสูตรระยะสั้น, อุตสาหกรรมสิ่งทอและแฟชั่น

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวโน้มความต้องการในการพัฒนาศักยภาพและการพัฒนาอาชีพด้านสิ่งทอและแฟชั่น 2) เพื่อการพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นด้านสิ่งทอและแฟชั่นให้มีความเหมาะสมกับความต้องการของผู้ประกอบการและบุคลากรด้านสิ่งทอ และ 3) เพื่อเป็นแนวทางในการจัดหลักสูตรระยะสั้นด้านสิ่งทอและแฟชั่นให้มีประสิทธิภาพและสามารถสร้างรายได้ และเป็นการวิเคราะห์พัฒนาหลักสูตรระยะสั้นด้านอุตสาหกรรมสิ่งทอและแฟชั่นจากผู้ประกอบการและบุคลากร โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือศึกษาความต้องการในการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านอุตสาหกรรมสิ่งทอและแฟชั่น ความต้องการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านสิ่งทอและแฟชั่น รวมถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกใช้บริการหลักสูตรระยะสั้นด้านสิ่งทอ ผลการวิจัย ด้านบทบาทหน้าที่ผู้ประกอบการต้องการพัฒนาความสามารถการใช้ภาษา ความรู้ตามสายงาน ความรู้ด้านอุตสาหกรรมต้นน้ำ คือ กลุ่มเส้นใยธรรมชาติ และเส้นใยประดิษฐ์ โดยแตกต่างกับบุคลากรที่มีความต้องการพัฒนาความรู้ความสามารถทางด้านอุตสาหกรรมปลายน้ำ คือ เครื่องนุ่งห่ม เครื่องประกอบการต่างกายและเคหะสิ่งทอ ด้านหลักสูตรวิชาชีพของอุตสาหกรรมต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ผู้ประกอบการต้องการพัฒนาสมบัติพิเศษของเส้นใยสอดคล้องกับบุคลากรอีกทั้งยังมีความต้องการฝึกอบรมด้านนวัตกรรมการย้อมสีธรรมชาติ สำหรับการฝึกอบรมพัฒนาศักยภาพด้านสิ่งทอและแฟชั่นมีความแตกต่างกัน ผู้ประกอบการต้องการฝึกอบรมด้านการจัดการสินค้าแฟชั่น โดยที่กลุ่มบุคลากรต้องการด้านการฝึกอบรมมัดย้อมและเทคนิคการย้อมสี ด้านปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกใช้

References

จรัสพิมพ์ วังเย็น. (2559). การวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ผ้าผืนพาซาญ่า. ปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาศิลปวัฒนธรรมวิจัย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ทองฟู ศิริวงศ์. (2536). การฝึกอบรมและการพัฒนาบุคลากร. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2555). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลด้วย SPSS และ AMOS. พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพมหานคร: เอส อาร์ พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.

พิศวรรณ ณ ลำปาง, ทิพวัลย์ คาคง, และเพชรสุดา เพชรใส. (2562) การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเรื่อง การประดิษฐ์งานเดคูพาจสำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนพิบูลวิทยาลัย จังหวัดลพบุรี. วารสารลวะศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี, 3 (2), หน้า 85-93

ยุทธ ไกยวรรณ์. (2559). การวิจัยและพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิทยา อินทร์สอน, สุขอังคณา แถลงกัณฑ์, และปัทมาพร ท่อชู. (2552). นวัตกรรมอุตสาหกรรมสิ่งทอสีเขียว. ค้นเมื่อ 17 มกราคม 2561, จาก http://www.thailandindustry.com/onlinemag/view2.php?id=322&section=37&issues=23

วัชรากร ร่วมรักษ์. (2560). อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องแต่งกาย. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจ ธุรกิจ และ เศรษฐกิจฐานราก.

สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ. (2554). แผนแม่บทการพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย พ.ศ. 2555–2559. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ.

สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ. (2555). สถิติสิ่งทอไทย 2554/2555. กรุงเทพมหานคร: อาร์ตแอนด์พาร์ท อัพเดท

สุรพล นิติไกรพจน์. (2551). การจัดองค์กรเพื่อหารายได้ของมหาวิทยาลัยไทยกรณีศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2561, จาก http://www.openbase.in.th/http:/%252Fwww.panyathai.or.th/wiki/index.php/การจัดองค์กรเพื่อหารายไ%25

อภิรัฐ โสฬัศ, นิอร ดาวเจริญพร, รุ่งฤทัย รำพึงจิต, มานิตย์ แก้ววงษ์ศิริ, และสมทรง สีตลายัน (2560). ความต้องการการฝึกอบรมงานศิลปะประดิษฐ์เพื่อสร้างอาชีพของกลุ่มอาชีพสหกรณ์ศิลปะประดิษฐ์ จังหวัดนนทบุรี. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-29