บทบาทหน้าที่การสื่อสารเพื่อสุขภาพในมุมมองของคนรุ่นใหม่ต่อการรําไทเก๊ก

ผู้แต่ง

  • วิภา รัตนวงศาโรจน์ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

บทบาทการรำไทเก๊ก, การรำไทเก๊ก, การสื่อสารสุขภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง บทบาทหน้าที่การสื่อสารเพื่อสุขภาพในมุมมองของคนรุ่นใหม่ต่อการรำไทเก๊ก มีวัตถุประสงค์การวิจัย (1) เพื่อศึกษากระบวนการสื่อสารการรำไทเก๊กระหว่างคนรุ่นใหม่และผู้สอน (2) เพื่อศึกษาบทบาทหน้าที่ของการรำไทเก๊กของคนรุ่นใหม่และผู้สอน และ (3) เพื่อศึกษาการให้ความหมายการรำไทเก๊กของคนรุ่นใหม่และผู้สอน ซึ่งแบ่งออกเป็น หน้าที่ชัดเจน หน้าที่แอบแฝง/ซ่อนเร้น หน้าที่หายไป การไม่ทำหน้าที่ การศึกษานี้จึงใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (in-Depth Interview) แบบทางการและไม่เป็นทางการ การศึกษาประชากรในงานวิจัยนี้ คือ กลุ่มคนที่สอนและคนรุ่นใหม่ที่รำไทเก๊กแบบ traditional ในกรุงเทพ โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ได้แก่ (1) ผู้สอนไทเก๊กแบบ traditional และมีประสบการณ์ในการสอน 5 ปีขึ้นไป จำนวน 2 คน (2) คนรุ่นใหม่ที่รำไทเก๊กแบบ traditional และมีประสบการณ์ในการรำ 1 ปีขึ้นไป และรำไทเก๊กในกรุงเทพมหานคร มีอายุระหว่าง 15-30 ปี

ผลการวิจัย พบว่า (1) ด้านการสื่อสาร ผู้ส่งสารมีบทบาทสำคัญในการถ่ายทอด และการรำแบบใหม่จะช่วยขยับขยายพื้นที่การรำเพื่อให้ไทเก๊กยังคงดำรงอยู่ต่อไปได้ ผู้ส่งสารต้องเป็นผู้ที่มีประสบการณ์มากกว่า 10 ปี จึงจะสามารถสื่อสารได้อย่างมีอุปสรรคน้อยที่สุด การเรียนโดยรับฟังจากผู้สอนโดยตรงจะช่วยให้ผู้เรียนไม่ได้รับบาดเจ็บเพื่อให้ผู้เรียนมีสุขภาพที่ดี (2) บทบาทการรำไทเก๊ก พบการทำหน้าที่เดิมคือ การรำไทเก๊กทำให้สุขภาพของผู้รำดีขึ้น ภายใต้เงื่อนไขเวลาว่าผู้ฝึกต้องฝึกการรำอย่างน้อย 3-5 เดือน และต้องรำอย่างถูกต้องจึงจะส่งผลดีต่อสุขภาพ เมื่อไทเก๊กขยายไปยังคนรุ่นใหม่จึงมีการดัดแปลงท่ารำ เพลง พื้นที่การรำ เพราะคนรุ่นใหม่ต้องการความสนุกและความสวยงามในการออกกำลังกาย ทำให้ไทเก๊กสามารถถ่ายทอดไปยังคนรุ่นใหม่ได้ (3) การให้ความหมายการรำไทเก๊ก พบว่า ก่อนรำเป็นการให้ความหมายตามสิ่งที่พบเห็นและรับรู้จากบุคคลใกล้ตัวและตามสื่อภาพยนตร์ แต่ความหมายหลังรำไทเก๊กเป็นด้านรับรู้จากประสบการณ์โดยตรงที่ผู้รำได้มาฝึกเองและเป็นความหมายในด้านสุขภาพ

References

กมลรัฐ อินทรทัศน์. (2547). การสำรวจงานวิจัยด้านการสื่อสารเพื่อสุขภาพในสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร: โครงการการพัฒนาองค์ความรู้เรื่องการสื่อสารเพื่อสุขภาพ

คณิต ครุฑหงษ์. (2527). มวยไทเก็ก. กรุงเทพมหานคร: สุขภาพใจ.

ดวงพงศ์ พงศ์สยาม.(2552). มานุษยวิทยาสุขภาพ. กรุงเทพมหานคร: เดียนสโตร์.

ต้าหลิว. (2539). ฝึกสมาธิแบบจีน (ไทเก็ก). กรุงเทพมหานคร : เรจีนา

ประสิทธิ์ รัตนวงศาโรจน์. (2551). ไท้เก๊ก 24 ท่า เพื่อสุขภาพ. กรุงเทพมหานคร: เอ็มไอเอส.

มงคล ศริวัฒน์. (2553). รำสี่ทิศ เคลื่อนกาย หยุดจิต พิชิตโลก. กรุงเทพมหานคร: บีเวลล์ สปีเชียล.

วันเพ็ญ ปรีติยาธร. (2543). การเปิดรับทัศนคติ และความต้องการข้อมูลข่าวสารของผู้ใช้บริการ แผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลของรัฐในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

วาสนา จันทร์สว่าง. (2547). กระบวนการสื่อสารรณรงค์ด้านสุขภาพ. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

สุพล โล่ห์ชิตกุล. (2544). ไท้เก็กโยคะสมาธิ : อุบายวิธีสู่ความสงบเย็น. กรุงเทพมหานคร: สุขภาพใจ.

สุธรรม รัตนโชติ. (2552). พฤติกรรมองค์การและการจัดการ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ท้อป

สมาคมรำมวยไทเก๊กเพื่อสุขภาพ. (2553). สมาคมรำมวยไทเก๊กเพื่อสุขภาพ. กรุงเทพมหานคร: สมาคมรำมวยไทเก๊กเพื่อสุขภาพ.

อรสา ปานขาว. (2530). เทคนิคการประชาสัมพันธ์. กรุงเทพมหานคร: น่ำถังการพิมพ์

กษมา ซื่อสกุลไพศาล. (2551). ผลของการฝึกเสริมด้วยการรำมวยไทซิที่มีต่อความสามารถทาง กลไกทั่วไป สมาธิและความแม่นยำในการยิงปืนของนักกีฬายิงปืนเยาวชนทีมชาติไทย. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เกียรติขจร ก่อเกียรติพิทักษ์. (2557). ผลของการฝึกสมาธิแบบไท้เก็กที่ส่งผลต่อความแม่นยําในการ แทงเป้า ดาบฟอย์และดาบเอเป้. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

จินตหรา บุญน้อย. (2553). ผลของ Tai Chi ต่อความยืดหยุ่นของร่างกายและแรงเหยียดขา. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขากายภาพบําบัด คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

จ่าสิบโทเฉลิม อุ่นทอง. (2547). มวยไทยยุคโลกาภิวัตน์. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต วิชาไทยคดีศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

ชูเกียรติ ถีสุวรรณ์. (2535). ระเบียบการเรียนรู้ที่มีอยู่ในท้องถิ่นชนบทภาคเหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ณัฏฐณิชา นาคงเมือง. (2547). กระบวนการสร้างกระแสการออกกำลังกายผ่านสื่อมวลชนของ กระทรวงสาธารณสุข. วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัฐชล อารยวิทยากุล. (2547). การรับรู้ภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุที่ออกกำลังกายไทเก็กลมปราณ 18 ท่า. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร์มหาบัณิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ธิดารัตน์ คณึงเพียร. (2553). ผลของการออกกําลังกายแบบผสมผสานระหว่าง รํากระบอง จี้กง ไท้ เก้กต่อสมรรถภาพทางกายผู้สูงอายุ. วิทยานิพนธ์สังกัดสถาบันสังกัดพระบรมราชสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสุรินทร์.

พอใจ เงินศิริ. (2542). ภาพลักษณ์ของธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ในสายตาของลูกค้า ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิเทศศาสตรธุรกิจ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ไพฑูรย์ พันตะพรหม. (2547). ผลการฝึกไท้จี๋ที่มีต่อการทรงตัวของผู้สูงอายุ. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (วิทยาศาสตรศึกษา) พลศึกษา สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา คณะวิทยาศาสตร์และการกีฬา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เพ็ญพักตร์ ศิริไตรรัตน์ (2552). การวิเคราะห์กระบวนการสื่อสารในนิตยสารแฟชั่นสตรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต วิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ยุทธนา ยานะ. (2557). บทบาทหน้าของแพทย์ประจำสถานประกอบการในมุมมองของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานประจำสถานประกอบการในเขตนิคมอุตสาหกรรมแถบชายฝั่งทะเลตะวันออกประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รัสรินทร์ ประสิทธิธนกิตติ์. (2550). ผลการฝึกไท้จี๋และไท้จี๋ในน้ำที่มีต่อความแข็งแรง การทรงตัว และความอ่อนตัว. ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต คณะวิทยาศาสตร์และการกีฬา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

รุ่งกานต์ แซ่แต้.(2559). ผลการออกกำลังกายด้วยไท้จี๋ตามมุมมองของผู้รับการฝึก. วิทยานิพนธ์ปริญญา วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย คณะวิทยาศาสตร์และการกีฬา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

รังสิมา นิโลบล. (2547). กระบวนทัศน์ใหม่ในการสื่อสารเพื่อเสริมสร้างสุขภาพของประชาสังคม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วันดี สมรัตน์. (2544). การผลิตซ้ำทางวัฒนธรรมของชุมชนไทลื้อ. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษานอกระบบ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วิชุดา หรรษาจารุพันธ์. (2540). การศึกษาความพร้อมในการปฏิบัติบทบาทพยาบาลวิชาชีพของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 สถาบันการศึกษาพยาบาลเอกชน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต วิชาพยาบาลศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุรีรัตน์ งามเกียรติไพศาล. (2541). บทบาทหน้าที่และความคาดหวังของแพทย์ประจำสถานประกอบการขนาดใหญ่ต่องานอาชีวอนามัยในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรณิช จิตรแสวง. (2549). รูปแบบและปัจจัยการสื่อสารในการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุที่เป็นสมาชิก ศูนย์สุขภาพผู้สูงอายุ กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์พัฒนาการ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Huang Meiyan. (2557). บทบาทของไทเก็กในฐานะวัฒนธรรมส่งเสริมสุขภาวะของคนไทยเชื้อสายจีนในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิตวิทยาลัย คณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชาการสื่อสารภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.

ชมรมไทเก็กจังหวัดนครสวรรค์. (2563). บัญญัต 10 ประการ มวยไทเก็กตระกูลหยาง. ค้นเมื่อ 11 เมษายน 2563. จาก http://nswtaichiclub.blogspot.com/2020/03/10.html

คนเหนือ. (2555). ไท้เก๊ก ยอดยุทธ์แดนมังกร. ค้นเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2563. จาก https://www.thairath.co.th/content/311850

กองสุขศึกษา. (2562). สร้างเสริมสุขภาวะของผู้สูงอายุด้วยการออกกำลังกาย. ค้นเมื่อ 22 มกราคม 2564. จาก http://healthydee.moph.go.th/view_article.php?id=503

ศักดิ์ณรงค์ จันทร์หอม. (2556). ออกกำลังกายอย่างไร ดีต่อผู้สูงอายุ. ค้นเมื่อ 22 มกราคม 2564. จาก https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=1052

Liang. (2560). ประวัติมวยไท่เก๊ก (ไท่จี๋เฉวียน). ค้นเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2563. จาก http://www.internalartsthailand.com/taijiquan-history/

Salfa. (2562). ประวัติไทเก๊ก. ค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2563. จาก https://sites.google.com/site/salfa5820810019/pra-wat-ra-thi-kek

admin.niaspace. (2560). การรำไท้เก๊กเป็นการออกกำลังกายสุดฮิตของผู้สูงอายุจริงหรือ. ค้นเมื่อ 29 พฤษภาคม 2563. https://www.niaspace.com/chigong.html.

preaw_prown. (2554). ความหมายของสุขภาวะสุขศึกษา. ค้นเมื่อ 30 เมษายน 2563. จาก http://preaw03.blogspot.com/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-29