ทัศนคติในการเลือกงานทำและการลาออกจากงานของบัณฑิตบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยนเรศวร
Main Article Content
บทคัดย่อ
บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในประเทศไทยแต่ละปีมีจำนวนมาก บัณฑิตเหล่านั้นใช้เกณฑ์สำคัญอะไรในการเลือกงานทำ บัณฑิตเหล่านั้นมีความพอใจกับงานที่ทำภายหลังสำเร็จการศึกษามากน้อยเพียงใด และเหตุผลสำคัญที่ทำให้บัณฑิตเหล่านั้นลาออกจากงานที่เคยทำภายหลังสำเร็จการศึกษาคืออะไร คำถามเหล่านี้มีความสำคัญเพื่อที่มหาวิทยาลัยและสถานประกอบการจะได้วางแผนในการผลิตบัณฑิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานและรักษาพนักงานให้เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าสำหรับองค์กรต่อไป
งานวิจัยนี้ทำการสำรวจทัศนคติในการเลือกงานทำและเหตุผลในการลาออกของบัณฑิตบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยใช้วิธีเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากบัณฑิตสาขาการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยนเรศวร ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าเหตุผลสำคัญในการเลือกทำงานของบัณฑิตสาขาการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยนเรศวร เรียงจากมากไปหาน้อยคือ มีโอกาสได้ดูแลบิดามารดา, งานที่ทำมีโอกาสก้าวหน้า, เป็นงานที่ชอบและถนัด, งานที่ทำมีความมั่นคง, งานที่ทำมีโอกาสได้แสดงความสามารถและศักยภาพเต็มที่, ใกล้ภูมิลำเนา ประหยัดค่าใช้จ่าย และผลตอบแทนที่น่าพอใจ และเหตุผลในการลาออกจากงานคือ งานนั้นไม่ท้าทาย, งานนั้นไม่มีโอกาสให้แสดงภาวะผู้นำ และงานนั้นไม่มีความก้าวหน้า
Article Details
References
ชาตรี ปรีดาอนันทสุข. (2556). เปลี่ยนมุมมองของการจัดการวิกฤตด้วยแนวคิดการ
จัดการวิกฤตเชิงบูรณาการ.วารสารบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ และการสื่อสาร, 8(1),
-38.
สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา. (2559). ข้อมูลสถิติการศึกษา. สืบค้นเมื่อ 15
เมษายน 2559, จาก http://www.info.mua.go.th/information/show_all_statdata_table.php?data_show=3
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2557). สำรวจความต้องการแรงงานของสถานประกอบการ
พ.ศ. 2556. สืบค้นเมื่อ 15 เมษายน 2559, จาก
http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/service/survey/labourDemRep56.pdf
Clarkson, M.B.E. (1995). A Stakeholder Framework for analyzing and
evaluating Corporate Social Performance. Academy of
Management Review, 20(1), 92-117.
Donaldson, T. and Preston, L.E. (1995). The Stakeholder Theory of
the Corporation: Concepts,Evidence and Implications. Academy of
Management Review, 20(1), 65-91.
Freeman, R.E., Harrison, J.S., Wicks, C.A., Parmar, B. and de Colle,
S. (2010). Stakeholder Theory: The State of the Art. New York:
Cambridge University Press.
Naresuan University. (2016). Retrieved April 20, 2016, from
Preedaananthasuk, C. (2014). Integrated Crisis Management: What
did We Learn from Flood Management in Thailand? Universal
Journal of Industrial and Business Management, 2(7), 151-155.
Saari, L.M. and Judge, T.A. (2004). Employee Attitudes and Job
Satisfaction. Human Resource Management, 43(4), 395-407.
Webometrics. (January 2016 Edition). Retrieved May 10, 2016, from
http://www.webometrics.info/en/Asia/thailand
Translated Thai References
Preedaananthasuk, C. (2013). Change Crisis Management viewpoints
with Integrated Crisis Management Approach. BEC Journal of
Naresuan University, 8(1), 27-38.
Office of the Higher Education Commission. (2016). Information of
Educational Statistics. Retrieved April 15, 2016, from
http://www.info.mua.go.th/information/show_all_statdata_table.php?data_show=3
National Statistical Office. (2014). The 2013 Labour Demand of
Establishment Survey. Retrieved April 15, 2016, from
http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/service/survey/labourDemRep56.pdf