การต่อรองอำนาจของวัฒนธรรมท้องถิ่นในยุคโลกาภิวัตน์สื่อ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาเรื่อง “การต่อรองอำนาจของวัฒนธรรมท้องถิ่นในยุคโลกาภิวัตน์สื่อ” มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจสถานภาพการปรับตัวของ “เพลงซอ” ซึ่งเป็นวัฒนธรรมท้องถิ่นหนึ่งที่สำคัญของภาคเหนือ รวมทั้งการหาแนวทางการปรับตัวเพื่อสืบทอดเพลงซอในยุคโลกาภิวัตน์สื่อให้ดำรงอยู่อย่างเข้มแข็งและมีอัตลักษณ์ เก็บข้อมูล โดยการวิเคราะห์เอกสาร การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่มและการสังเกต ผลการศึกษาพบว่า เพลงซอต้องมีการปรับตัวเพื่อต่อรองทั้งคุณลักษณะภายนอกและภายใน ส่วนใหญ่เป็นการปรับประสาน เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างการอนุรักษ์และการเปลี่ยนแปลง ส่วนแนวทางการสืบทอดควรใช้หลักการไต่ “บันไดปลาโจนทางศิลปะ” สู่ผู้สืบทอดระดับคุณภาพทั้งผู้ชมและศิลปินช่างซอ และการมีบทบาทหน้าที่ต่อวิถีชุมชนอย่างต่อเนื่องในบทบาทหน้าที่เดิมและการเพิ่มบทบาทใหม่ อีกทั้งการให้ความสำคัญต่อบทบาทหน้าที่ที่สื่อประเภทอื่นไม่สามารถทำหน้าที่ทดแทนได้ การเป็นสื่อที่ผสานสองรูปแบบการแสดงทั้งมิติทางโลกและทางธรรมได้อย่างลงตัว การนำเสนอเนื้อหาที่สามารถพลิกแพลงเชื่อมโยงวิถีชีวิตได้อย่างเข้าถึงผู้ชม ศักยภาพการปรับตัวของช่างซอที่มีความสามารถเฉพาะตัวผ่านการเรียนรู้ตามวิถีซอ การมีความยืดหยุ่นสูงทั้งเนื้อร้อง ทำนอง และความเหมาะสมตามกาลเทศะ ความเป็นสื่อขนาดกลางที่มีความเป็นอัตลักษณ์ท้องถิ่นเฉพาะ และการบริหารจัดการแบบฉันมิตร
Power Negotiation of Local Culture in Media Globalization Era
The research entitled “Power Negotiation of Local Culture in Media Globalization Era” had the main objectives including to survey and compare the adaptation of Local Culture; “Sor” and to find the way to protect its identity in media globalization . The data were analyzed using focus group interview and observation. The findings indicated that “Sor” should adapt its characteristics to balance Lanna identity and apply itself based on the “Fishway of Arts”, the principle which is used to transmit the core value of “Sor” to both the performers and the audiences. The importance of the irreplaceable roles and functions of “Sor” should be acknowledged as they are important to the society. Moreover, “Sor” as a performing medium has highly distinct characteristics as a medium which combines the worldly dimension with the Dhamma dimension. The “Sor” content is highly connected to the audience’s lifestyle due to the flexibility of the lyrics, rhythm, and appropriateness. It was found that “Sor” is a type of medium sized media with a local identity and friendly Lanna style management.
Article Details
References
จิราพร ขุนศรี. (2559). การต่อรองอำนาจของวัฒนธรรมท้องถิ่นในยุคโลกาภิวัตน์สื่อ. วารสารบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร, 11(พิเศษ), 29-43.