ศักยภาพในการสื่อสารด้วยความตลก ของ “จำอวดหน้าม่าน”

Main Article Content

กิตติมา ชาญวิชัย

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง จำอวดหน้าม่าน ความตลก กับการสื่อสารเพื่อทำหน้าที่สืบทอดวัฒนธรรมไทย เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร (documents) การสังเกต (participant observation) และการสัมภาษณ์เจาะลึก (In – depth interview) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้บริหาร ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการผลิต และผู้แสดงในช่วงจำอวดหน้าม่าน จากผลการศึกษาที่ได้ ผู้วิจัยมีความสนใจในประเด็น ศักยภาพในการสื่อสารด้วยความตลก ของ “จำอวดหน้าม่าน” โดยพบว่า สื่อมวลชนกับบทบาทหน้าที่ด้านการสืบทอดวัฒนธรรมผ่านความตลกของการแสดงจำอวดหน้าม่าน เริ่มต้นจากสื่อมวลชนต้องการทำให้ผู้ชมรู้สึกว่ามีสิ่งใหม่เกิดขึ้นกับรายการประเภทวัฒนธรรม  และต้องการบันทึกสิ่งดีงามเหล่านั้นให้กับเยาวชนรุ่นหลัง

ศักยภาพในการสื่อสารด้วยความตลกผ่านช่วงจำอวดหน้าม่านดังกล่าว เบื้องต้นต้องอาศัยศักยภาพของศิลปินผู้แสดงเอง และสามารถสรุปได้ว่าในภาพรวม ศักยภาพในการสื่อสารด้วยความตลก มีผลทั้งกับความนิยมหรือเรตติ้งของรายการ  มีผลทำให้เพลงฉ่อย ซึ่งเป็นเพลงพื้นบ้านของไทยเป็นที่รู้จัก จดจำ  ทำให้เพลงพื้นบ้านเข้มแข็งขึ้น และสุดท้ายก่อให้เกิดประโยชน์แก่เยาวชน นักเรียน นักศึกษา ทั้งในแง่ของการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และการสืบทอดเพลงพื้นบ้านของไทย

Communication Proficiency of Comedy Show “Jam Aud Na Marn”

The study of the Communication Proficiency of Comedy Show “Jam Aud Na Marn” in prevailing Thai culture is a qualitative research collecting data from documents, participant observation and in-depth interviews with 3 groups of key informants concerning of the show such as the executives, producer team, and comedians. The research revealed that the role of the show as a mass media in prevailing culture began with arousing the audience’s awareness that a comedy show could be classified as one of the cultural programs and this kind of cultural performance could be handed to the next generation.

However, the communication proficiency of the comedy show “Jam Aud Na Narm” primarily stemmed from the comedians’ innate talents. By all means, this could affect an increase in the show popularity as well as the awareness of the traditionally improvised singing called “Plang Choi” among Thai youths.

 

DOI: http://dx.doi.org/10.14456/becj.2016.18

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research article)

References

กิตติมา ชาญวิชัย. (2559). ศักยภาพในการสื่อสารด้วยความตลก ของ “จำอวดหน้าม่าน”. วารสารบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร, 11(พิเศษ), 21-29.