การยอมรับคุณค่าแบรนด์เมืองพัทยาของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ

Main Article Content

พิชัย นิรมานสกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการยอมรับคุณค่าแบรนด์เมืองพัทยาของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ซึ่งเป็นการสำรวจโดยใช้แบบสอบถาม โดยเก็บข้อมูลจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ จำนวน 382 คน  สามารถสรุปผลการวิจัยได้ดังนี้

1. นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติส่วนใหญ่ เป็นเพศชาย โสด อายุ 21-30 ปี ศึกษาระดับปริญญาตรี รายได้ต่อเดือน มากกว่า 2,500 เหรียญสหรัฐ และส่วนใหญ่เป็นชาวมาเลเซีย

2. นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมีการยอมรับคุณค่าแบรนด์เมืองพัทยา ในระดับ “เห็นด้วย” (ยอมรับมาก) ขึ้นไป คือ จดจำเมืองได้ดี มักกล่าวถึงเมืองนี้ จะกลับมาเที่ยวอีก แนะนำเพื่อนให้มา และคิดถึงมากกว่าเมืองอื่นๆ

3. ผลการเปรียบเทียบการยอมรับคุณค่า

แบรนด์เมืองพัทยา ของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มีลักษณะทางประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกัน พบว่า นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มีอายุ การศึกษา รายได้ และสถานภาพสมรสที่แตกต่างกัน มีการยอมรับคุณค่าแบรนด์เมืองพัทยาที่แตกต่างกัน ส่วนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเพศชายและเพศหญิง มีการยอมรับคุณค่าแบรนด์เมืองพัทยาไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Acceptance of Pattaya City’s Brand Equity of Foreign Tourists

The objective of this research is to study Pattaya city’s brand equity acceptance of foreign tourists. The survey method employed questionnaires of 382 foreign tourists. The results are summarized as follows

1. Foreign tourists are mostly 21-30 year old single males, are educated to bachelor degree level, earn more than 2,500 US dollars/month, and reside in Malaysia.

2. The brand equity of Pattaya city which Foreign tourists report “agree” are remembering the name of this city, tending to mention this city, traveling to this city again, recommending this city to friends, and thinking of this city even though others are more interesting.

3. Foreign tourists who have different demographic status i.e. age, education level, income level, and marital status have significantly different brand equity acceptance of Pattaya city. But male and female tourists do not have significantly different brand equity acceptance of Pattaya city.

 

DOI: http://dx.doi.org/10.14456/becj.2014.14

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research article)