องค์ประกอบของการจัดการความรู้ในการบริหารโรงพยาบาลชุมชน สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

Main Article Content

สุธาสินี สุพิชญางกูร
สมอาจ วงษ์ขมทอง
บุญยง เกี่ยวการค้า

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบ และตรวจสอบความสอดคล้องของโครงสร้างองค์ประกอบเชิงสำรวจและองค์ประกอบเชิงยืนยันของการจัดการความรู้ในการบริหารโรงพยาบาลชุมชนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้อำนวยการโรงพยาบาล หัวหน้างานฝ่ายพัฒนาคุณภาพ และหัวหน้างานด้านการจัดการความรู้ โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มแรก 300 คนและกลุ่มที่สอง 327 คน ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ผลการวิจัย พบว่า 1.โครงสร้างองค์ประกอบของการจัดการความรู้ในการบริหารโรงพยาบาลชุมชน มี 7 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) กระบวนการจัดการความรู้ 2) เทคโนโลยีการจัดการความรู้ 3) ผู้นำตามโครงสร้าง 4) ผู้นำเชิงเป้าหมาย 5) วัฒนธรรมการทำงานเป็นทีม 6) วัฒนธรรมองค์กร 7) การวัดผลการจัดการความรู้ 2. จากการตรวจสอบความสอดคล้องของโครงสร้างองค์ประกอบการจัดการความรู้ของโรงพยาบาลชุมชนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พบว่ามีความสอดคล้องกลมกลืนกัน โดยมีค่าวัดระดับความกลมกลืน คือ GFI= .904 AGFI= .877 CFI= .944 CMIN/DF = 1.078 และ RMSEA = .015 โดยมีข้อเสนอแนะว่า ผู้บริหารโรงพยาบาลชุมชน ควรนำผลการวิจัยครั้งนี้ไปประกอบการวางแผนพัฒนาทางด้านกระบวนการจัดการความรู้ในการจัดการความรู้ของโรงพยาบาลชุมชน เพื่อสู่การเป็นองค์กรแห่งคุณภาพต่อไป

 

The Components of Knowledge Management in Community Hospital Administration under Office of Permanent Secretary of Ministry of Public Health

The objectives of this research were to determine the components and to test the validity of the structure equation model of knowledge management in community hospital administration with the empirical data. The sample consisted of 2 groups, the first one was 300 samples, and second one was 327 samples. The proportional sampling was applied. The instruments employed in this research were questionnaires with 5 point scales. The results of this research found that: first, the components of knowledge management in community hospitals administration were: 1) Knowledge management, 2) Technology, 3) Initiating structure leadership, 4) Visionary leadership, 5) Team, 6) Culture 7) Evaluation knowledge management. Second, the structural validity test of the structure equation model of knowledge management with the empirical data indicated that the model was significantly consistent with empirical data with GFI= .904 AGFI= .877 CFI= .944 CMIN/DF = 1.078 and RMSEA = .015. The results suggested that administrators in community hospital administration should apply the results of this research to develop the process of knowledge management in knowledge management for quality community hospitals.

 

DOI: http://dx.doi.org/10.14456/becj.2014.25

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research article)