รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของผลการปฏิบัติงานของบุคลากรวิชาชีพด้านสุขภาพ สังกัดโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย ในประเทศไทย

Main Article Content

หทัยกร กิตติมานนท์
สมอาจ วงษ์ขมทอง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดและทดสอบรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของผลการปฏิบัติงานของบุคลากรวิชาชีพด้านสุขภาพ สังกัดโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยในประเทศไทย โดยพัฒนากรอบแนวคิดจากทฤษฎีการตั้งเป้าหมาย ของ ล๊อคและลาธาม (Lock and Latham) ซึ่งแสดงความสัมพันธ์และอิทธิพลของตัวแปร 4 ตัว ได้แก่ 1) บรรยากาศด้านจิตใจ 2) ความผูกพันของพนักงาน 3) ความพึงพอใจในงานและ 4) ผลการปฏิบัติงาน กลุ่มตัวอย่างของการวิจัย คือ พยาบาลวิชาชีพกลุ่มวัยเจนเนอเรชั่น วาย (Generation Y) จำนวน 630 คน วิธีการสุ่มอย่างแบบเป็นระบบ ผลการวิจัยนี้ พบว่า บรรยากาศด้านจิตใจมีอิทธิพลต่อผลการปฏิบัติงาน ความผูกพันของพนักงานและความพึงพอใจในงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของผลการปฏิบัติงานของบุคลากรวิชาชีพด้านสุขภาพมีความสอดคล้องกับบริบทของการศึกษา (RMSEA = 0.016) โดยมีข้อเสนอแนะว่า ผู้บริหารโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยควรสร้างบรรยากาศด้านจิตใจของพยาบาลวิชาชีพกลุ่มวัยเจนเนอเรชั่น วาย เพื่อให้เกิดผลการปฏิบัติงานที่ดีขึ้น จึงเป็นประโยชน์ในการบริหารและรักษาบุคลากรวิชาชีพด้านสุขภาพให้คงอยู่และการวางแผนอัตรากำลังในปัจจุบันและในอนาคตให้เพียงพอ

 

A Causal Model of Health Professional Personnel Performances in the University Hospitals in Thailand

The purposes of this cross-sectional descriptive study are to identify and to test a causal model of the health professional personnel performances in the university hospitals in Thailand by developing the conceptual framework from Goal Setting Theory (Locke and Latham). This study demonstrates the relationship and influence of four variables i.e. psychological climate, employee engagement, job satisfaction, and job performance of health professional personnel. Sample of this study is 630 generation Y professional nurse by systematic random sampling. The finding of this study shows that the psychological climate influences on job performance, employee engagement, and job satisfaction with statistical significance .01. This causal model has aligned with the empirical data (RMSEA = 0.016). This study proposes that the University Hospitals Administrators should encourage the psychological climate for better job performance. These findings can be applied to human resource management to retain personnel and to plan for manpower for both present and in the future.

 

DOI: http://dx.doi.org/10.14456/becj.2014.23

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research article)