กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อถ่ายทอดภูมิปัญญาของเล่นพื้นบ้านของกลุ่มคนเฒ่าคนแก่ ตำบลป่าแดด อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

ณัฐวุฒิ สมยาโรน
อัจฉรา ศรีพันธ์

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อถ่ายทอดภูมิปัญญาของเล่นพื้นบ้านของกลุ่มคนเฒ่าคนแก่ ตำบลป่าแดด อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลยุทธ์การสื่อสารเพื่อถ่ายทอดภูมิปัญญาของเล่นพื้นบ้านของกลุ่มคนเฒ่าคนแก่ ตำบลป่าแดด อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพที่เก็บรวบรวมข้อมูลจากจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การสังเกต การสนทนากลุ่ม การประชาคม จากผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ สมาชิกกลุ่มคนเฒ่าคนแก่ที่มีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมของกลุ่มอย่างสม่ำเสมอ ประกอบไปด้วย นักพัฒนา ครูภูมิปัญญา เยาวชนในหมูบ้านและยุวมัคคุเทศก์ ภัณฑรักษ์ประจำพิพิธภัณฑ์เล่นได้ เครือข่ายกลุ่ม 9 ชุมชนคนรักษ์ป่า และบุคคลที่เกี่ยวข้องอื่นๆ โดยใช้วิธีการเลือกผู้ให้ข้อมูลตามวัตถุประสงค์ (Purposive Sampling) ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มคนเฒ่าคนแก่ใช้กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อถ่ายทอดภูมิปัญญาของเล่นพื้นบ้านแบบมีส่วนร่วม หรือเรียกว่า PLAY Model ได้แก่ 1) P (Participatory Communication) หมายถึง การสื่อสารแบบมีส่วนร่วมของสมาชิกกลุ่มคนเฒ่าคนแก่ในกระบวนการวางแผนการสื่อสารทุกขั้นตอน 2) L (Learning) หมายถึง การเรียนรู้วิธีการสื่อสารเพื่อถ่ายทอดภูมิปัญญาของเล่นพื้นบ้าน เพื่อให้ได้วิธีการถ่ายทอดภูมิปัญญาของเล่นพื้นบ้านที่มีประสิทธิภาพและมีความเหมาะสมกับกลุ่มผู้รับสารเป้าหมายที่สุด 3) A (Activity) หมายถึง กิจกรรมที่ใช้ในการถ่ายทอดภูมิปัญญาของเล่นพื้นบ้าน ที่มีความเหมาะสมและตรงกับความต้องการของกลุ่มผู้รับสารเป้าหมายที่สุด 4) Y (Youngers) หมายถึง กลุ่มผู้รับสารเป้าหมายหลักที่เป็นผู้รับการถ่ายทอดภูมิปัญญาของเล่นพื้นบ้านที่เป็นคนรุ่นหลัง และกลุ่มผู้รับสารเป้าหมายในชุมชนที่จะเป็นผู้อนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาของเล่นพื้นบ้าน

 

Communication Strategies for Folk Toy Wisdom Tranmission of “The Khon Thao Khon Kae Group” Padad Sub-District, Mae Suai District, Chiang Rai Province.

The research entitled Communication Strategies for Folk Toy Wisdom Transmission of “The Khon Thao Khon Kae Group” Padad Sub-District, Mae Suai District, Chiang Rai Province which has proposed to study communication strategies for Folk Toy Wisdom Transmission of “The Khon Thao Khon Kae Group” Padad Sub-District, Mae Suai District, Chiang Rai Province, that is a qualitative research which collected by related documents and research papers, in-depth interviews, observation, focus group discussion, civil society from key informants is the member of The Khon Thao Khon Kae Group to participate in the activities of the group regularly comprising developers, folk toy wisdom teacher, the young guides, collectors, the network group “9 Chum Chon Kon Rak Pha” and other related parties by purposive sampling. Result of the research found the PLAY Model is the Model of the communication strategy for participatory was used by The Khon Thao Khon Kae Group which includes 1) P (Participatory Communication) means The Khon Thao Khon Kae Group in the planning process of communication strategy 2) L (Learning) means the learning of how to folk toy wisdom transmission for effective and appropriate for the target receiver as possible 3) A (Activity) means activities used to transmission folk toy wisdom with selected are appropriate and meet the needs of the target receiver 4) Y (Youngers) means the group of youngers whom the target receiver is folk toy wisdom transmission by The Khon Thao Khon Kae Group and the group of target receiver is the community to preserve and carry on folk toy wisdom.

DOI: http://dx.doi.org/10.14456/becj.2014.22

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research article)