การทดสอบปรากฏการณ์เดือนมกราคม ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยใช้กลยุทธ์การลงทุนแบบสวนตลาดและกลยุทธ์การลงทุนตามแรงเหวี่ยง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบปรากฏการณ์ในเดือนมกราคม ในตลาดหลักทรัพย์แห่ง
ประเทศไทย โดยใช้กลยุทธ์การลงทุนแบบสวนตลาดและกลยุทธ์การลงทุนตามแรงเหวี่ยง เก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างจากข้อมูลราคาปิดของหุ้นสามัญในดัชนี SET 50 ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ.2551 ถึง 31 มกราคม พ.ศ.2561 สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติพรรณนาได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุดและสูงสุดของผลตอบแทนจากการลงทุนตามแต่ละกลยุทธ์และใช้สถิติเชิงอนุมานได้แก่ สถิติทดสอบ t ผลการศึกษาพบว่า การใช้กลยุทธ์การลงทุนแบบสวนตลาด และกลยุทธ์การลงทุนตามแรงเหวี่ยง สำหรับการลงทุนเพื่อทำกำไรในเดือนมกราคม และการลงทุนเพื่อทำกำไรในเดือนอื่นๆที่ไม่ใช่เดือนมกราคม ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แสดงว่าไม่พบปรากฏการณ์ในเดือนมกราคมในตลาดหลักทรัพย์แห่ง
ประเทศไทย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Jegadeesh, N., Titman, S., (1993). Returns to buying winners and selling losers: implications for stock market efficiency. Journal of Finance 48, 65–91.
ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา.(2559). กลยุทธ์เลือกหุ้นจากการขึ้นลงของราคา และผลจากปรับระยะเวลาลงทุนในตลาดหุ้นไทย. NIDA Business Journal (in Thai) 19(2016), pp.80-93
Sareewiwatthana, P. (2016). Price trend strategies and the effect of rebalancing period: Evidence from Thailand . NIDA Business Journal (in Thai), 19(2016), 80-93
วิชญาดา ถนอมชาติ. (2551). การศึกษาความผิดปกติของผลตอบแทนในเดือนมกราคมของตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
Tanomchat,W. (2008). A study of January effect in Stock Exchange of Thailand. Master thesis, M.Econ., Kasetsart University, Bangkok
Wachtel, S. B. (1942). Certain observations on seasonal movements in stock prices. The journal of business of the University of Chicago , 15(2), 184-193. Retrieved from http://www.jstor.org/stable/2350013
Yao, Y. (2011). Momentum, contrarian, and the January seasonality. Journal of Banking & Finance 36 (2012) 2757–2769.