การศึกษาการรู้เท่าทันสื่อของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตภาคเหนือ

Main Article Content

ธนาพันธ์ ชัยเทพ
กิตติมา ชาญวิชัย

บทคัดย่อ

การศึกษาการรู้เท่าทันสื่อของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตภาคเหนือ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับการรู้เท่าทันสื่อของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา 1) เพื่อศึกษาลักษณะภูมิหลังของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตภาคเหนือที่เปิดรับสื่อสังคมออนไลน์ 2) ศึกษาการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตภาคเหนือ และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะภูมิหลังและการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตภาคเหนือ ในงานวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ใช้กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 400 คน โดยใช้วิธีใช้วิธีการสุ่มในอินเทอร์เน็ต เก็บข้อมูลโดยการฝากแบบสอบถามบนเครือข่ายสังคมออนไลน์


ผลการทดสอบสมมิฐานพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีปัจจัยด้านเพศ ด้านระดับการศึกษาที่แตกต่างกัน ด้านผลการเรียนที่แตกต่างกัน ตัวแปรแพลตฟอร์ม/รูปแบบที่เปิดรับที่แตกต่างกัน ผู้มีอิทธิพลต่อการเปิดรับสื่อสังคมออนไลน์ที่แตกต่างกันและลักษณะเนื้อหาต่าง ๆ ที่เปิดรับที่แตกต่างกัน  มีความสัมพันธ์กับระดับการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์และระดับการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ในภาพรวม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


ผลการวิจับพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการรู้เท่าทันสื่อออนไลน์ระดับมาก มีทักษะการวิเคราะห์สื่อ ที่ค่าเฉลี่ย 4.06 S.D=0.30 และทักษะการรับสื่อที่ค่าเฉลี่ย 3.98 S.D=0.47 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมากนับว่าสถานการณ์การรู้เท่าทันสื่อของ นักศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตภาคเหนือ ยังไม่น่าเป็นห่วงทั้งนี้ อาจเกิดจากนักศึกษาระดับอุดมศึกษาเกิดมาในยุคที่มาพร้อมกับเทคโนโลยี

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research article)

References

กฤชณัช แสนทวี.(2554). พฤติกรรมการเปิดรับและระดับการรู้เท่าทันสื่อของเยาวชน ในเขตกรุงเทพ
มหานคร. วิทยานิพนธ์ กศ.ด., มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, กรุงเทพฯ.
กระปุกดอทคอม.(12 มีนาคม 2559). สาวโร่แจ้งความ เจอเฟซบุ๊กปลอม ตัน ภาสกรนที หลอกถูกรางวัล
สุดท้ายโดนตุ๋น.สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2560 , จากhttps://hilight.kapook.com/view/134015
ขนิษฐา จิตแสง.(มกราคม-มิถุนายน 2557). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านบุคคลและกลุ่มบุคคลกับทักษะ
การรู้เท่าทันสื่ออินเทอร์เน็ตจองเยาวชนในเขตเทศบาลขอนแก่น. วารสารอินฟอร์เมชั่น, 21(1),
46-60.
แคมปัสสตาร์(24 สิงหาคม 2555). รวมรายชื่อ มหาวิทยาลัยในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม
2560 , จากhttps://campus.campus-star.com/education/6592.html
จินตนา ตันสุวรรณนนท์.(30 มิถุนายน 2553). ผลการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาการรู้เท่าทันสื่อของนักศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. วารสารพฤติกรรมศาสตร์, 14(1), 21-32.
จุฑารัตน์ สมจริง.(06 มิถุนายน 2559). การรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศกับเยาวชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงในจังหวัด
ตรัง. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม., มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
จุไรรัตน์ ทองคำชื่นวิวัฒน์.(25 ธันวาคม 2552). เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Online Social Network).สืบค้น
เมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2560 , จากhttp://km-socialnetwork.blogspot.com/2009/12/ online-
social-network.html
เชียงใหม่นิวส์. (23 มีนาคม 2560). หนุ่มน้อยวัยกระทงขอขมาหลังโพสด่า ตร.แม่ริมแจกใบสั่ง. สืบค้นเมื่อ
13 มิถุนายน 2560 , จากhttp://www.chiangmainews.co.th/page/archives/582610
ณัฐนันท์ ศิริเจริญ.(06 ตุลาคม 2559). การสื่อสารเพื่อการรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศจากสื่ออินเทอร์เน็ต
ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วิทยานิพนธ์ กศ.ด., มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.
ณวรา พิไชยแพทย์.(05 ตุลาคม 2553). การปรับกระบวนทัศน์ของอุตสาหกรรมเพลงในประเทศไทย.
วิทยานิพนธ์ ศศ.ม., มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.
โตมร อภิวันทนาการ. (มกราคม 2554). คู่มือพัฒนาภาวะรู้เท่าทันสื่อในวัยรุ่นมัธยมปลาย. (1). กรุงเทพฯ:
บริษัท ออฟเซ็ท ครีเอชั่น จำกัด
ไทยรัฐออนไลน์.(2 สิงหาคม 2558). 4 ทรชน ลวงเด็กสาว14 ผ่านเฟซบุ๊ก รุมข่มขืน.สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม
2560 , จากhttp://www.thairath.co.th/content/515709
ธาม เชื้อสถาปนศิริ. (13 สิงหาคม 2557). “USER-GENERATED CONTENT” : ยุคสื่อของผู้ใช้. สืบค้นเมื่อ
15 มิถุนายน 2560 , จากhttp://positioningmag.com/58244
บ้านจอมยุทธ.(2543). การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมของสังคมเมืองและสังคมชนบท.สืบค้นเมื่อ
22 กุมภาพันธ์ 2560 , จากhttp://www.baanjomyut.com/library_2/development t_of_society/18.html
พิชญาพร ประครองใจ. (กันยายน 2558). หลักนิเทศศาสตร์. (1). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
เพ็ญพักตร์ เตียวสมบูรณ์ และณรงค์ ขำวิจิตร์. (2559). ความรู้เท่าทันสื่อของผู้ใช้สื่อโทรทัศน์ไทย
ภายใต้ภูมิทัศน์สื่อโทรทัศน์ที่เปลี่ยนไป. วารสารประชาสัมพันธ์และการโฆษณา, 91(1), 93-105.
โพสต์ทูเดย์. (17 กุมภาพันธ์ 2560). ไทยที่1คอมเมนต์โลก. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2559 ,
จาก http://www.posttoday.com/digital/481316
ภัทร์ศินิี แสนสำแดง.(กรกฎาคม-ธันวาคม 2557). ทักษะการรู้เท่าทันสื่อมวลชนและสื่อสมัยใหม่ของวัยรุ่น
ในจังหวัดสกลนคร. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 6(12), 47-58.
รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2559. (2559). หมวด ๓ สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย. สืบค้นเมื่อ 15
มิถุนายน 2560 , จากhttp://www.livinginthailand.com/cdc-2559-03.html
วิทยา ดำรงเกียรติศักดิ์.(18 มีนาคม 2559). ทฤษฎีเทคโนโลยีเป็นตัวกำหนด.สืบค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2560
, จาก http://www.infocommmju.com/icarticle/images/stories/icarticles/
ajwittaya/Technological_Determinism_Theory.pdf
วงศ์ชิต ชมชื่น.(2560). สถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดพิษณุโลก.สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2560 , จาก
https://sites.google.com/site/summuy555/naeana-canghwad-phisnulok/07-sthaban- xudmsuksa-ni-canghwad-phisnulok
วิสาลักษณ์ สิทธิ์ขุนทด.(28 กุมภาพันธ์ 2554). การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของการรู้เท่าทันสื่อของนักเรียน
มัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม., จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
สนุกดอทคอม.(17 กุมภาพันธ์ 2557). สั่งไอโฟนได้ข้าวซอย! รวบสาวแสบลวงขายของผ่านเฟซบุ๊ก.สืบค้น
เมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2560 , จากhttp://news.sanook.com/1471670/
สนุกดอทคอม.(12 พฤศจิกายน 2556). หนุ่มเหี้ยมลวงสาวเฟซบุ๊กข่มขืน โพสต์ประจานทางเน็ต.สืบค้นเมื่อ
1 มีนาคม 2560 , จากhttp://news.sanook.com/1308185/
สุนทร พรหมวงศา.(11 กุมภาพันธ์ 2557). พฤติกรรมการใช้ และการรู้เท่าทันสื่ออินเตอร์เน็ตตามการรับรู้
ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จังหวัดหนองบัวลำภู. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม.,
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, อุดรธานี.
สุภารัตน์ แก้วสุทธิ.(03 มกราคม 2556). พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ต การรู้เท่าทันสื่อ และพฤติกรรมการ
ป้องกันตัวเอง จากการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลทางอินเทอร์เน็ต. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม.,
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์.(29 มีนาคม 2559). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้
อินเทอร์เน็ตของประเทศไทย ปี 2558. สืบค้นเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2559 , จาก
https://www.etda.or.th/publishing-detail/thailand-internet-user-profile-2015-th.html
หทัยชนก พรรคเจริญ และคณะฯ. (17 กุมภาพันธ์ 2560). เทคนิคการสุ่มตัวอย่างและการประมาณค่า(หน้า
9). กลุ่มระเบียบวิชาสถิติ สำนักนโยบายและวิชาการสถิติ สำนักงานสถิติแห่งชาติ
อุราเพ็ญ ยิ้มประเสริฐ, นพมาศ ปลัดกอง และอังคณา ศิริอำพันธ์กุล.(พฤษภาคม-สิงหาคม 2559). การรู้เท่า
ทันสื่อ: ประโยชน์และการนำไปใช้ กรณีศึกษา สถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งหนึ่ง. วารสารปัญญา
ภิวัฒน์, 8(2), 183-195.
อุริษา งามวุฒิวร.(2533). การเปิดรับสื่อละครโทรทัศน์ การรู้เท่าทันสื่อ และความคิดเห็นต่อความนิยมทาง
เพศและการเลียนแบบพฤติกรรมชายรักชายของเยาวชนในกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ,
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
newmedia. (2557). What is New Media?. สืบค้นเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2560 , จาก http://www.newmedia.org/what-is-new-media.html
we are social. (2559). Digital in 2016. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2560 , จาก
http://wearesocial.com/uk/special-reports/digital-in-2016
4international colleges & universities. (2559). TOP UNIVERSITIES IN THAILAND. สืบค้นเมื่อ 15
ธันวาคม 2559 , จากhttp://www.4icu.org/th/