พฤติกรรมความเสี่ยงของสหกรณ์ออมทรัพย์ในช่วงอัตราดอกเบี้ยต่ำต่อเนื่อง: กรณีประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาว่าสหกรณ์ออมทรัพย์ของประเทศไทยมีพฤติกรรมรับความเสี่ยงมากขึ้นหรือไม่ เมื่อมีการใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำต่อเนื่องเป็นเวลานาน โดยให้พฤติกรรมความเสี่ยงของสหกรณ์ถูกอธิบายด้วยตัวแปรต่าง ๆ จากงบการเงินของสหกรณ์ที่เป็นลักษณะเฉพาะของสหกรณ์ เช่น เงินฝาก เงินปล่อยกู้ เงินลงทุน ทุน สภาพคล่อง ที่เป็นสัดส่วนต่อสินทรัพย์ ต้นทุนต่อรายได้ ตัวแปรเศรษฐกิจมหภาค ตัวแปรหุ่นสำหรับลักษณะของสหกรณ์ เช่น ขนาดของสหกรณ์และอัตราดอกเบี้ยต่ำ (low rate) ตลอดจนตัวแปรอิทธิพลร่วม (interaction variables) ระหว่างตัวแปรหุ่นและตัวแปรลักษณะเฉพาะ เช่น ขนาดกับตัวแปรลักษณะเฉพาะ เป็นต้น งานศึกษานี้ใช้ข้อมูลรายสหกรณ์จากกรมตรวจสอบบัญชีในช่วง ค.ศ. 2008-2017 ข้อมูลตัวแปรเศรษฐศาสตร์มหภาคอื่น ๆ นำมาจากฐานข้อมูล CEIC และธนาคารแห่งประเทศไทย วิธีการศึกษาที่ใช้ในงานวิจัยนี้มี 2 วิธี คือ fixed effects model และ quantile regression ผลการศึกษาพบว่าสหกรณ์ออมทรัพย์อาจมีพฤติกรรมรับความเสี่ยงเพิ่มเมื่ออัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่องเป็นเวลานาน ซึ่งตัวแปรวัดความเสี่ยงในงานศึกษานี้คือ Z-Score และ Leverage ในช่วงที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์จะออมเงินในรูปของหุ้นแทนเงินฝาก เพราะผลตอบแทนจากหุ้นสูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝาก ผลคือสหกรณ์ได้รับเงินทุนที่ดูราวกับว่าไม่มีต้นทุนไว้ปล่อยกู้และลงทุนเพิ่ม ต้นทุนที่ต่ำและรายได้ดอกเบี้ยที่ลดลง ในช่วงที่ดอกเบี้ยต่ำเป็นเวลานานต่อเนื่องนี้ส่งผลให้ความเสี่ยงในการดำเนินกิจการสูงขึ้น สหกรณ์ขนาดใหญ่กว่ามีผลกระทบด้านทุน (equity) ที่ลดความเสี่ยงได้มากกว่าเมื่อเทียบกับสหกรณ์ขนาดเล็ก สหกรณ์ขนาดใหญ่กว่าจึงอาจมีความได้เปรียบทางด้านต้นทุน ภาครัฐจึงสามารถใช้การควบรวมกิจการระหว่างสหกรณ์ขนาดใหญ่กับสหกรณ์ขนาดเล็กที่มีประสิทธิภาพต่ำเป็นตัวเพิ่มเสถียรภาพให้ระบบสหกรณ์ แต่เนื่องจากขนาดของสหกรณ์อาจกระตุ้นให้เกิดการยักยอกทรัพย์ของสหกรณ์ออมทรัพย์ได้ ภาครัฐจึงควรลดโอกาสการยักยอกทรัพย์ในสหกรณ์ด้วยการเพิ่มโทษทางอาญาให้เป็นเช่นเดียวกันกับกรณีธนาคารพาณิชย์
Article Details
References
Cecchetti, S., Mancini-Griffoli, T. & Narita, M. (2017). Does Prolonged Monetary Policy Easing Increase Financial Vulnerability? IMF Working Paper No. 17/65.
Hesse, H. & Cihák, M. (2007). Cooperative Banks and Financial Stability. IMF Working Paper No. 07/2.
Deelchand, T. & Padgett, C. (2009). Size and Scale Economies in Japanese Cooperative Banking. Retrieved on January15, 2020 from https://ssrn.com/abstract=1393263
_____ (2010). The Relationship between Risk, Capital and Efficiency: Evidence from Japanese Cooperative Banks. Retrieved on January15, 2020 from https://ssrn.com/abstract=1525423
Delis, M. D. & Kouretas, G.P. (2010). Interest rates and bank risk-taking. Journal of Banking & Finance, Elsevier, 35(4), 840-855.
Koenker, R. & Bassett, G. (1978), Regression Quantiles. Econometrica, 46, 33-50.
Weistroffer, C. (2013). Ultra-low interest rates: How Japanese Banks have coped. Deutsche Bank Research. June 10.