การประเมินความคุ้มค่าในการลงทุนขุดบิทคอยน์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์ต่อการลงทุน รวมทั้งประเมินความคุ้มค่า
ทางเศรษฐศาสตร์ของการลงทุนขุดบิทคอยน์ การศึกษาแบ่งเป็น 2 กรณี ได้แก่ การลงทุนขุดบิทคอยน์ในปี พ.ศ. 2559-2561 และการทดสอบความอ่อนไหวของการลงทุนขุดบิทคอยน์ในปี พ.ศ. 2561-2563 โดยการเก็บข้อมูลปฐมภูมิจากการสัมภาษณ์ผู้ลงทุน
ในปี พ.ศ. 2561และข้อมูลทุติยภูมิจากแหล่งข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต เพื่อใช้สร้างสมการพยากรณ์ปริมาณการขุดบิทคอยน์และรายได้
จากการศึกษาพบว่า การลงทุนในปี พ.ศ. 2559-2561 เป็นช่วงที่ราคาบิทคอยน์สูงที่สุดและได้รับความสนใจมากที่สุด ผลการวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ผ่านดัชนีชี้วัดทั้ง 3 ค่า ได้แก่ มูลค่าปัจจุบันสุทธิ อัตราส่วนของผลตอบแทนภายใน และระยะเวลาคืนทุนแบบคิดลด พบว่า ในการลงทุนปี พ.ศ. 2559-2561 หากทำการขายแบบวันต่อวันนั้น ไม่มีความคุ้มค่า
ทางเศรษฐศาสตร์ในการลงทุน แต่เมื่อวิเคราะห์ด้วยการขายแบบกลยุทธ์ คือ ทำการขายในกรณีที่ราคาบิทคอยน์สูงกว่าต้นทุนสะสมเฉลี่ยต่อหน่วย 20% นั้นมีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ในการลงทุน โดยจะคืนทุนภายในระยะเวลา 3 ปีตามที่ได้กำหนดสมมติฐาน และจากการทดสอบความอ่อนไหวในการลงทุนปี พ.ศ. 2561-2563 โดยกำหนดให้มีการเปลี่ยนแปลงราคา และ
ค่าความยาก ในปี พ.ศ. 2562-2563 พบว่า จะมีเพียง 3 กรณีเท่านั้นที่คุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ในการลงทุน ประกอบด้วย กรณีเปลี่ยนแปลงราคาบิทคอยน์เพิ่มขึ้นและค่าความยากเพิ่มขึ้น, กรณีเปลี่ยนแปลงราคาบิทคอยน์เพิ่มขึ้นและค่าความยากคงที่ และกรณีเปลี่ยนแปลงราคาบิทคอยน์เพิ่มขึ้นและค่าความยากลดลง หากทำการขายแบบกลยุทธ์ที่ราคาบิทคอยน์สูงกว่าต้นทุนสะสมเฉลี่ยต่อหน่วย 20%
คำสำคัญ: 1) สกุลเงินดิจิทัล 2) บิทคอยน์ 3) การขุดบิทคอยน์ 4) การลงทุน
Article Details
References
Chuadnuch, J. (2013). Legal problem concerning the use of bitcoins in online transactions in Thailand. Independent Study, LL.M., Bangkok University.
Glaser, F., Zimmermann, K., Haferkorn, M., Weber, M. C. and Siering, M. (2014). Bitcoin-asset or currency? Revealing users' hidden intentions. Retrieved July, 12, 2018. fromhttps://papers.ssrn.com/sol3/papers.cfm?abstract_id=2425247
Khongsano, P. (2018). Bitcoin virtual currency in the future. Retrieved July 13, 2018, from http://library2.parliament.go.th/ejournal/content_af/2561/mar2561-4.pdf
Nakamoto, S. (2008). Bitcoin: A peer-to-peer electronic cash system. Retrieved July 13, 2018. from https://www.coindesk.com/bitcoin-peer-to-peer-electronic-cash-system
Teerasakdapong, A. (2016). An analysis of factors affecting the intention to use bitcoin. Independent Study, M.S., Thammasat University, Bangkok.
DeeLee, A. (2017). Comparison of bitcoin forecasting algorithms: Regression analysis, neural networks and genetic programming. Master thesis, M.Sc., Burapha University, Chonburi.
Chantachin, C. (lecturer) (August 16, 2018). Factors that influence the bitcoin price. In Rangsit Graduate Research Conference: RGRC (pp.1621-1628). Pathum Thani: Rangsit University.
Prachachart Online. (2018) Royal Thai Government Gazette, Royal Decree amending the Revenue Code (No. 19) B.E. 2561. Retrieved July, 13, 2018. from http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/A/033/71.PDF
Dimitri, N. (2017). Bitcoin mining as a contest. Ledger, 2(2017), 31-37.